สุจิตต์ วงษ์เทศ : สำเนียง “เหน่อ” ลาว สร้างความเป็นไทย

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช. ) พร้อมคณะ เดินทางมายังวัดศรีชุม ต.เมืองเก่า อ.เมือง เพื่อกราบสักการะพระอจนะ เมื่อวันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม 2560 (ภาพและคำบรรยายจาก มติชนออนไลน์ วันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม 2560)

พิษณุโลก-สุโขทัย-อุตรดิตถ์ อยู่บนเส้นทางการกระจายของตระกูลภาษาไต-ไท สำเนียงลาวแบบหลวงพระบาง เมื่อหลายร้อยหรือนับพันปีมาแล้ว

แม่น้ำโขงไหลหักข้อศอกกั้นไทย-ลาวบริเวณ อ. เชียงคาน จ. เลย ก่อนหน้านั้นไหลในดินแดนลาวทำแนวเหนือ-ใต้จากเมืองหลวงพระบางลงไปเมืองเชียงคาน จากนั้นไหลไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าเขตเมืองเวียงจันกับเมืองหนองคาย

แม่น้ำโขงเป็นเส้นทางคมนาคมเชื่อมระหว่างเมืองหลวงพระบางกับเมืองเวียงจัน

มีความทรงจำบอกว่าพ่อค้าจากเมืองเวียงจัน ถ่อเรือขึ้นไปตามลำน้ำโขงถึงเมืองหลวงพระบาง มีทองคำจำนวนมากติดปลายไม้ถ่อเรือ ทำให้พ่อค้ามั่งคั่งเมื่อค้ากับหลวงพระบาง

Advertisement

สำเนียงลาวเข้าไทย

ช่วงหักข้อศอกที่เมืองเชียงคาน แม่น้ำโขงเป็นเส้นทางคมนาคมระหว่างเมืองหลวงพระบางกับเมืองเชียงคาน และเมืองเลย มีการเคลื่อนย้ายไปมาของคน ส่งผลให้คนเมืองเลยพูดลาวสำเนียงหลวงพระบางจนทุกวันนี้

มีประจักษ์พยานเหตุการณ์สงครามระหว่างพระเจ้าติโลกราชจากล้านนา กับพระบรมไตรโลกนาถจากอยุธยา ให้ความสำคัญเส้นทางเชียงคาน-เลย ดังนี้

Advertisement
  1. ติโลกราช เคลื่อนกำลังลงทางแม่น้ำโขงเข้าเชียงคาน ผ่านเมืองด่านซ้ายไปทางเมืองนครไทย (อ. นครไทย จ. พิษณุโลก) เพื่อลงแม่น้ำน่านเข้ายึดพิษณุโลก
  2. บรมไตรโลกนาถ ยกกำลังจากอยุธยา-พิษณุโลก ยึดอุดช่องทางเมืองนครไทยเพื่อสกัดการลงมาของลาว

“เหน่อ” สร้างความเป็นไทย

สำเนียงหลวงพระบางแผ่กระจายจากลุ่มน้ำโขงลงลุ่มน้ำเจ้าพระยานานมาก อาจเป็นพันปีมาแล้ว ก่อนมีกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 1893

มีพยานเป็นทอดๆ ได้แก่ สำเนียงสุโขทัย, สำเนียง “เหน่อ” สุพรรณ (รวมราชบุรีและเพชรบุรี) ฯลฯ ซึ่งอยู่บริเวณฟากตะวันตกแม่น้ำเจ้าพระยา

แล้วกลายเป็นสำเนียงหลวงของกรุงศรีอยุธยา เมื่อกษัตริย์สุพรรณภูมิยึดได้อยุธยา (จากกษัตริย์วงศ์ละโว้ พูดภาษาเขมร) พวกที่เคยพูดมอญ พูดเขมร ก็กลายตัวเองพูด “เหน่อ” ลาว แล้วเรียกตัวเองว่าไทย ฟังได้จากสำเนียงเจรจาโขนจนทุกวันนี้

ความทรงจำมีในเอกสารหลายชุด เช่น ตำนานท้าวอู่ทอง ในพงศาวดารเหนือ (ซึ่งจดไว้สมัยพระนารายณ์) และมีในเอกสารชาวยุโรป ได้แก่ บาทหลวงตาชาร์ด, ลาลูแบร์ ฯลฯ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image