เร่งฉีดวัคซีนป้องพิษสุนัขบ้า 5 จว.ภาคอีสานระบาดหนัก ขู่ฟันเจ้าของขัดขวางเจอปรับ400บ.

.เมื่อเวลา 11.00น. วันที่ 6 มีนาคม  นายสัตวแพทย์อิสระ ปัญญาวรรณ หัวหน้าส่วนสุขภาพสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์ เขต 4 จ.ขอนแก่น ที่รับผิดชอบดูแลแกัปัญหาการแพร่ระบาดของพิษสุนัขบ้า อีสานตอนบน 12 จังหวัด เดินทางเข้าพบ นายธนบดี ขวาโยธา ปศุสัตว์จังหวัดร้อยเอ็ดเพื่อติดตามความเคลื่อนไหวด้านการเฝ้าระวังพระพรมฉีดวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้าทั้ง 20 อำเภอของจังหวัดร้อยเอ็ดที่มีการแพร่ระบาดอันดับ 1ของทั้ง 12 จังหวัดในเขตรับผิดชอบ

นายธนบดี ขวาโยธา ปศุสัตว์จังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวว่าการดำเนินการตั้งแต่16 มกราคม2561 ได้ดำเนินการฉีดวัคซีนด้วยงบประมาณ 2 ส่วน ในส่วนงบประมาณของปศุสัตว์ดำเนินการไปแล้ว 33,672 ตัว และส่วนที่ 2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 202 แห่ง     จัดซื้อวัคซีนไปแล้ว 196,408 ตัว  คิดเป็นร้อยละ 98.51  เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ดแล้วเหลือเพียง 2 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นใน 3 เขตพื้นที่การปกครองส่วนท้องถิ่นก็จะครบร้อยเปอร์เซ็นต์ ซึ่งอยู่ในระหว่างเร่งดำเนินการจัดสรรงบประมาณในการแก้ปัญหาควบคุมให้เต็มพื้นที่ที่กำหนดให้ประกาศภัยโรคระบาดสัตว์เข้ามาร่วมกันดำเนินการแก้ปัญหาให้เสร็จสิ้นในเวลา 3 เดือนหรือสิ้นเดือนมีนาคมนี้ เหลือเพียงสุนัขประมาณ 3,000 ตัว

ด้านนายอิสระ ปัญญาวัน สวนสุขภาพสัตว์สำนักงานปศุสัตว์เขต 4 ขอนแก่น ดูแล 12 จังหวัด กล่าวว่า การลงพื้นที่ครั้งนี้เพื่อติดตามความคืบหน้าการแพร่ระบาดโรคพิษสุนัขบ้าในจ.ร้อยเอ็ด ที่แพร่ระบาดเป็นอันดับ 1 ใน 12 จังหวัดที่ดูแล รวมทั้งจ.มหามหาสารคาม  กาฬสิน  หนองคายและขอนแก่น ที่มีการระบาดเป็นอันดับที่ 2 -5 ตามลำดับ โดยพบว่าการเร่งฉีดวัคซีนนับว่าได้รับความร่วมมือด้วยดีจากทุกภาคส่วน แต่ยังเหลือพื้นที่บางส่วน ที่ยังไม่มีการดำเนินการจัดงบประมาณซื้อวัคซีนซึ่งก็มีการเร่งรัดให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนด ภายในเดือนมีนาคมนี้  โดยมีพื้นที่ประมาณร้อยละ 20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่กำลังทำเรื่องดำเนินการ จัดซื้อโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งมั่นใจว่าทุกจังหวัดจะดำเนินการให้แล้วเสร็จได้พบกันที่ภายในเดือนมีนาคม

Advertisement

“สาเหตุหนึ่งของความล่าช้าในการป้องกันการระบาดเกิดจากประชาชนบางส่วนไม่ยอมให้ความร่วมมือ จึงต้องเร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์ใช้เกิดความเข้าใจ ว่าการควบคุมโรคและควบคุมสุนัขเพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกันการสูญเสียการเกิดโรคในสุนัขและป้องกันการแพร่ระบาดจากสัตว์สู่สัตว์จากสัตว์สู่คน ซึ่งเป็นประโยชน์กับทุกภาคส่วนและเตือนว่าหากไม่ปฏิบัติตามหรือขัดขวางก็จะมีความผิดตามกฎหมายแล้วต้องดำเนินการโดยใช้มาตรการทางกฎหมายเข้าไปบังคับใช้กับเจ้าของสัตว์ที่ขัดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ก็จะมีความผิดเช่นไม่นำสัตว์มาฉีดวัคซีนที่ให้วัคซีนฟรีแต่กลับไม่ให้ความร่วมมือซึ่งในเบื้องต้นมีโทษปรับขั้นต่ำ400 บาท “นายอิสระกล่าว

 

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image