จุดร่วม การเมือง เพื่อไทย กับ ก้าวไกล ระบอบ ประยุทธ์

คอลัมน์หน้า 3 : จุดร่วม การเมือง เพื่อไทย กับ ก้าวไกล ระบอบ ประยุทธ์ 

ผลสะเทือนจากการลงมติ 473 ต่อ 206 ในที่ประชุมรัฐสภา เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน กว้างไกลและลึกซึ้งเกินความคาดหมาย

ก่อให้เกิดการต่อสู้ 2 แนวทางอย่างเด่นชัด

ที่เคยคลุมเครือ ไม่แน่ใจ ก็เริ่มเชื่อมั่น แน่วแน่ ไม่ว่าจะมองจากด้านของ นายวันชัย สอนศิริ ไม่ว่าจะมองจาก
ด้านของ นายกิตติศักดิ์ รัตนะวราหะ

อย่างน้อยก็ได้ “ประชาธิปัตย์” ไปยืนเรียง เคียงข้าง

Advertisement

ขณะเดียวกัน การตัดสินใจอันเฉียบพลันของพรรคประชาธิปัตย์ก็ยิ่งทำให้ระยะที่เคยห่างอยู่แล้วกับ นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ยิ่งห่างออกไป

รวมถึง นายกษิต ภิรมย์ นายฟูอาดี้

ความน่ายินดีประการหนึ่ง คือ ความน่ายินดีที่พรรคเพื่อไทยกับพรรคก้าวไกลประสานพลัง กันอย่างชิดใกล้เด็ดเดี่ยว

Advertisement

ท่าทีของพรรคเพื่อไทยควรให้ความสนใจอย่างยิ่ง 

ต้องยอมรับว่าสถานการณ์การเลือกตั้งเมื่อเดือนมีนาคม 2562 อาจทำให้พรรคเพื่อไทยกับพรรค
ก้าวไกลมายืนอยู่แถวเดียวกัน

นามของพรรคร่วม “ฝ่ายค้าน” 

เห็นได้จากการถอยออกของแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคเพื่อไทย แล้วเสนอชื่อ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ขึ้นสูงเด่น

รุนหลังไปชนกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

กระนั้น สถานการณ์ระยะหลังเมื่อการต่อสู้มากด้วยความคมแหลมระยะ “ห่าง” ระยะห่างระหว่างพรรคเพื่อไทยกับ ก้าวไกล ก็บังเกิด

โดยเฉพาะ “รายละเอียด” อันต่างกันในเรื่องแก้

แต่แล้วในท่ามกลางการต่อสู้อันเข้มข้น การตัดสินใจของรัฐบาลทำให้ ระยะห่างระหว่างพรรคเพื่อไทยกับ พรรคก้าวไกลลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ

กระทั่งยืนเรียงเคียงไหล่กันอย่างเปี่ยมด้วยพลัง 

พลันที่ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญพ.ศ.2560 ฉบับ “รี-โชลูชั่น” บรรจุเข้าสู่วะเบียบวาระในการพิจารณา
วาระ 1 ในวันที่ 16 พฤศจิกายน

บทสรุปของพรรคร่วม “ฝ่ายค้าน” ก็เป็น “เอกภาพ”

คำอภิปรายแสดงการยอมรับร่างของ “รี-โชลูชั่น” จาก นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว เป็นทั้งจากพรรคเพื่อไทย และในฐานะ “ผู้นำฝ่ายค้าน”

และเมื่อการลงมติ 473 ต่อ 206 ออกมา

แถลงจาก นายประเสริฐ จันทรรวงทอง ในฐานะเลขาธิการพรรคเพื่อไทยที่ว่าพร้อมจะแก้ไขรัฐธรรมนูญทุกมาตราสะท้อนการเปลี่ยนแปลง

ไปยืนอยู่ใน “จุด” เดียวกันกับ “ก้าวไกล”  

ไม่ว่าจะมองผ่าน นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรค ไม่ว่าจะม่องผ่าน นายประเสริฐ จันทรรวงทอง
เลขาธิการ

นี่คือก้าวที่สำคัญของเพื่อไทยกับก้าวไกล

การต่อสู้ในสมรภูมิ “เลือกตั้ง” ในอนาคตอันใกล้มีความเด่นชัดว่า ปมแห่ง “รัฐธรรมนูญ” จะเป็น ประเด็นในการชับเคี่ยวอย่างร้อนแรง

รวมศูนย์ไปยัง “ระบอบประยุทธ์”

ไล่เรียงพื้นฐานตั้งแต่รัฐประหาร เมื่อเดือนกันยายน 2549 ต่อเนื่อง มายังรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557

ใครต้องการ “พิทักษ์” ใครต้องการ “ล้มล้าง” ยกเลิก 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image