กระสวน การเมือง กระสวน ไพบูลย์ นิติตะวัน พิมพ์นิยม รัฐบาล

คอลัมน์หน้า 3 : กระสวน การเมือง กระสวน ไพบูลย์ นิติตะวัน พิมพ์นิยม รัฐบาล

คอลัมน์หน้า 3 : กระสวน การเมือง กระสวน ไพบูลย์ นิติตะวัน พิมพ์นิยม รัฐบาล

เหตุปัจจัยอะไรทำให้บทสรุปในเรื่อง “สภาล่ม” จาก นายไพบูลย์ นิติตะวัน จึงก่อให้เกิดอุณหภูมิที่รุนแรงยิ่งในทางการเมือง

คำตอบ 1 เพราะเป็น นายไพบูลย์ นิติตะวัน

ขณะเดียวกัน คำตอบ 1 ซึ่งอธิบายได้อย่างแจ่มชัดและตรงเป้า เพราะนี่คือตัวแทนสะท้อนวิธีคิด วิธีพูดในแบบของ “รัฐบาล”

ไม่ว่าจะมาจาก “ทำเนียบ” ไม่ว่าจะมาจาก “พลังประชารัฐ”

Advertisement

รูปธรรมอันเด่นชัด เสมอต้นเสมอปลายจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา คือ การโทษรัฐบาลอื่น นายกรัฐมนตรีคนอื่น

ทั้งที่ชื่อ “อภิสิทธิ์” ทั้งที่ชื่อ “ยิ่งลักษณ์”

ท่วงทำนองเอาดีเข้าตัว เอาชั่วให้คนอื่นเช่นนี้เด่นชัดมากจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และกลายเป็นโรคระบาดมาถึงคนอื่นๆ ด้วย

Advertisement

กรณีของ “สภาล่ม” จึงกลายเป็นปม “ร้อน”

ถามว่ามีความจริงรองรับมากน้อยเพียงใด มีเหตุผลหนักแน่นเพียงใดที่พรรคฝ่ายค้านจักต้องรับผิดชอบในกรณีของ “สภาล่ม” ด้วย

อาจจะมีในฐานะของ “ผู้แทนปวงชน”

กระนั้น สถานะของฝ่ายค้านที่เป็น “เสียงข้างน้อย” อาจเป็นปัจจัยเสริม แต่มิได้ดำรงอยู่ในลักษณะของปัจจัยชี้ขาดอย่างแท้จริง

ฝ่ายของรัฐบาลต่างหากที่จะต้องรับไปเต็ม เต็ม

ยิ่งหากการเสนอร่างกฎหมายนั้นๆ เป็นของรัฐบาล ยิ่งเรียกร้องสำนึกแห่งความรับผิดชอบจากฝ่ายรัฐบาลสูงอย่างเป็นพิเศษ

เพราะเท่ากับเป็นการสนองต่อ “นโยบาย” ในการบริหารบ้านเมือง

จึงมีความจำเป็นเป็นอย่างสูงที่รัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาลจักต้องเป็นหลักประกันในการเข้าร่วมประชุมเพื่อผ่านความเห็นชอบ

ตรงนี้ต่างหากเป็นความจริงที่ต้องสำเหนียก สำนึก

ต้องยอมรับว่า ความพยายามของ นายไพบูลย์ นิติตะวัน ที่จะโยนความรับผิดชอบให้กับฝ่ายค้านจึงสะท้อน “วิธีคิด” ออกมาอย่างล่อนจ้อน

เป็นเช่นนี้ตั้งแต่ “หางแถว” ไปยัง “หัวแถว”

ไม่ว่าจะเป็นท่วงทำนองของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ว่าจะเป็นท่วงทำนองในแบบของ นายเสกสกล อัตถาวงศ์

ล้วนเหมือนกันราวกับถอดออกจาก “แม่พิมพ์”

ไม่ว่าจะเป็นท่วงทำนองของ นายไพบูลย์ นิติตะวัน ไม่ว่าจะเป็นท่วงทำนองในแบบของ นายสิระ เจนจาคะ

ล้วนไม่แตกต่างกัน

ท่วงทำนองแบบนี้สามารถรับรู้และสัมผัสได้ตั้งแต่หลังรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 กระทั่งในเดือนพฤศจิกายน 2564

ถือได้ว่าเป็น “พิมพ์นิยม” แห่ง “ระบอบประยุทธ์”

สถานการณ์อันปะทุขึ้นในวันที่ 24 พฤศจิกายน ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรจึงเท่ากับเป็นสัญญาณหนึ่งในทางการเมือง

เป็นสัญญาณถึงการขาด “สำนึก” ของ “รัฐบาล”

ขณะเดียวกัน ก็เป็นเงาสะท้อนแห่งความขัดแย้ง แตกแยก “ภายใน” ของรัฐบาลอันบ่งชี้ให้เห็นตั้งแต่ก่อนสถานการณ์วันที่ 8 กันยายน มาแล้ว

เป็นไปในกระสวน “สนิม” เกิดแต่ “เนื้อใน” แจ่มชัด

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image