ทางเดิน เพลินดี ของ สกลธี ภัททิยกุล ต่อ ‘ผู้ว่าฯกทม.’

คอลัมน์หน้า 3 : ทางเดิน เพลินดี ของ สกลธี ภัททิยกุล ต่อ ‘ผู้ว่าฯกทม.’

คอลัมน์หน้า 3 : ทางเดิน เพลินดี ของ สกลธี ภัททิยกุล ต่อ ‘ผู้ว่าฯกทม.’

การขยับของ นายสกลธี ภัททิยกุล ส่งผลสะเทือนเป็นอย่างสูง ไม่ว่าจะเป็นพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ว่าจะเป็นพรรคกล้า ไม่ว่าจะเป็นพรรคไทยภักดี

ก่ออาการ “จังงัง” ตามมาด้วย “หงุดหงิด

ยิ่งเมื่อ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ออกมาเน้นอย่างหนักแน่นถึงบทบาทของ นายสกลธี ภัททิยกุล ในการ “ชัตดาวน์”

ยิ่งทำให้มิอาจ “เดินหน้า” อย่าง “ร่าเริง”

Advertisement

พรรคประชาธิปัตย์ทำอะไรไม่ได้เพราะประกาศส่ง นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ออกมาแล้ว คำถามจึงอยู่ที่พรรคกล้า พรรคไทยภักดี

ยังคิดจะส่งคน “ทดสอบ” ด้วยหรือไม่

เนื่องจากสถานะทางการเมืองของ นายสกลธี ภัททิยกุล ไม่เพียงแต่มี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ การันตี

Advertisement

หากยังต่อสายไปได้ถึง “3 ลุง”

กรณีของ นายสกลธี ภัททิยกุล นั้นเอง ทำให้จังหวะก้าวของพรรคไทยสร้างสรรค์จำเป็นต้องยุติบทบาทลงชั่วคราว

แม้ว่าจะ “ขับเคลื่อน” ไปแล้วก็ตาม

เพราะจังหวะก้าวของ นายสกลธี ภัททิยกุล เริ่มจากการเข้าพบกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ทำเนียบรัฐบาล

จากนั้น ก็ลาออกจาก “พลังประชารัฐ”

และเมื่อ ครม.ผ่านความเห็นชอบตามมติของกระทรวงมหาดไทยให้ กกต.กำหนดวันเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.

นายสกลธี ภัททิยกุล ก็ลาออกจากตำแหน่ง “รองผู้ว่าฯกทม.”

ขณะเดียวกัน พรรคพลังประชารัฐ โดย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ก็ประชุมพรรคและมีมติไม่ส่งคนลงสมัครเพียงแต่ส่ง ส.ก.ครบ 50 เขต

สำทับจาก นายสุเทพ เทือกสุบรรณ จึงตามมา

กระบวนการทางการเมืองที่แวดล้อมอยู่โดยรอบการเคลื่อนไหวของ นายสกลธี ภัททิยกุล จึงก่อให้เกิดการระลึกชาติ

เริ่มจากบทบาทใน “ประชาธิปัตย์”

ตามมาด้วยบทบาทในการเคลื่อนไหว “ชัตดาวน์” พร้อมกันกับ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์

จากนั้น เห็นชอบในการจัดตั้ง “พลังประชารัฐ”

ขณะที่ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ เป็นรัฐมนตรีศึกษา นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ เป็นรัฐมนตรีดีอี นายสกลธี ภัททิยกุล นั่งรออยู่ที่รองผู้ว่าฯกทม.

เมื่อแจ่มชัดจากกระทรวงมหาดไทย

นายสกลธี ภัททิยกุล ก็อำลาตำแหน่ง “รองผู้ว่าฯกทม.” มาแสดงความพร้อมที่จะลงสมัครโดยมีเป้าหมายอยู่ที่ “ผู้ว่าฯกทม.”

ภายใต้เสียงเชียร์จาก นายสุเทพ เทือกสุบรรณ

เมื่อเป็นเช่นนี้ นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ และพรรคประชาธิปัตย์ ยุค นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ก็จำเป็นต้องร้องเพลง “ผู้เสียสละ”

เช่นเดียวกับพรรคกล้า เช่นเดียวกับพรรคไทยภักดี

ในเมื่อทัพหนุนของ นายสกลธี ภัททิยกุล หนักแน่นอย่างยิ่งตั้งแต่ก่อนรัฐประหารเดือนกันยายน 2549 ต่อเนื่องมายังรัฐประหารเดือนพฤษภาคม 2557

คำถามอยู่ที่ว่าจะชนะ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ได้หรือไม่ เท่านั้น

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image