‘วปก.20’จาก ‘พาราณสี สู่ วัดพระพุทธแสงธรรม’ (2) : โดย นพ.วิชัย เทียนถาวร

ฉบับที่แล้วบอกเล่าจุดเริ่มต้นของเส้นทางธรรมแห่งการแสวงบุญ ฉบับนี้จึงขอเล่าต่อเนื่องเพื่อร่วมทางแห่งธรรมไปด้วยกัน

วันที่ 9 (16 ธ.ค.61) กุสินารา-ลุมพินี-กุสินารา : 06.00 น. บิณฑบาต ณ โรงแรม Lotus nikko 07.00 น. ฉันภัตตาหารเช้า 08.00 น. ทำวัตรเช้า ณ สาลวโนทยา ปรินิพพานสถูปและมหาปรินิพพานวิหาร 10.30 น. ฉันภัตตาหารเพล 13.00 น. ออกเดินทางสู่เมืองลุมพินี ประเทศเนปาล ระยะทางประมาณ 170 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางราว 4 ชั่วโมง เมืองเดินทางถึงพรมแดนประเทศเนปาล นำคณะผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมือง 16.00 น. ทำวัตรเย็นบนรถบัสแต่ละคัน 19.00 น. เข้าที่พัก ณ ประเทศเนปาล

วันที่ 10 (17 ธ.ค.61) ลุมพินี-เชตะวัน-สาวัตถี : 06.00 น. บิณฑบาต ณ โรงแรม Pawan Palace 07.00 น. ฉันภัตตาหารเช้า 08.30 น. เดินทางสู่สวนลุมพินีวัน พระนวกะร่วมทำวัตรเช้า เจริญพระพุทธมนต์ และเจริญจิตภาวนา ณ สวนลุมพินีวัน “พุทธสังเวชนียสถานหนึ่งในสี่ตำบลที่สำคัญอย่างยิ่ง” อยู่ที่อำเภอไภรวา ประเทศเนปาล “ลุมพินี” ได้เกิดมีความสำคัญในทางภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ของโลก เพราะเกิดเป็นพุทธสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ คือ “พระสัมมาสัมพุทธเจ้า” เป็นธรรมเนียมของยุคสมัยโบราณก่อนพุทธกาลนั้น หญิงเวลามีครรภ์ใกล้คลอด นิยมกลับบ้านเมืองเดิมเพื่อทำการคลอดลูกแต่เนื่องจาก “พระนางสิริมหามายาพุทธมารดา” บ้านเมืองเดิมอยู่ที่กรุงเทวทหะ เมื่อใกล้ประสูติกาล จึงพร้อมด้วยข้าราชบริพาร เดินทางกลับมาตุภูมิที่กรุงเทวทหะ แต่เดินทางยังไม่ทันถึงมาตุภูมิ เดินได้เพียงแค่ครึ่งทางที่ป่าใหญ่ “ลุมพินี” ก็พอดีเกิดประสูติกาล ประสูติพระราชกุมาร คือ “เจ้าชายสิทธัตถะ” ที่กลางป่าใหญ่ที่ “ลุมพินี” นั่นเอง 11.00 น. ฉันภัตตาหารเพล และออกเดินทางสู่ประเทศอินเดียมุ่งหน้าเมืองสาวัตถี 21.00 น. เข้าที่พัก

วันที่ 11 (18 ธ.ค.61) สาวัตถี-พาราณสี : 06.30 น. บิณฑบาต ณ โรงแรม Saravasti Residency 07.00 น. ฉันภัตตาหารเช้า 08.30 น. ทำวัตรเช้า ณ เชตะวันมหาวิหาร วัดเชตะวันมหาวิหาร หรือ วัดพระเชตะวัน อารามของบิณฑิกเศรษฐี เป็นพระอาราม ที่สร้างโดยท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี มหาเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถี เป็นวัดที่พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษามากที่สุดถึง 19 พรรษา วัดเชตะวันมหาวิหารเป็นสถานที่เกิดเรื่องราวต่างๆ ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนามากมาย วัดแห่งนี้เป็นสถานที่เกิดเรื่องราวและพระสูตรสำคัญๆ ในพระพุทธศาสนามากมาย เช่น เรื่องของพระองคุลิมาล การถวายอสทิสทาน เรื่องพระพุทธองค์ทรงดูแลภิกษุไข้ ฯลฯ 11.00 น. ฉันภัตตาหารเพล 12.00 น. ออกเดินทางสู่เมืองพาราณสี ระยะทาง 330 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางราว 8 ชั่วโมง 20.00 น.เข้าที่พัก

Advertisement

วันที่ 12 (19 ธ.ค.61) พาราณสี : 06.00 น. บิณฑบาต ณ โรงแรม Saravasti Residency 07.00 น. ฉันภัตตาหารเช้า 08.30 น. ทำวัตรเช้า ณ ธัมเมกขสถูป ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองสารนาถ สักการะพุทธสังเวชนียสถาน 1 ใน 4 เหตุที่ได้ชื่อว่า “สารนาถ” เนื่องมาจากสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงเริ่มต้นประกาศ “พระพุทธศาสนา” เพื่อเป็นที่พึ่งแก่มหาชนทั้งหลาย ภายในอาณาบริเวณสารนาถมีธรรมเมกขสถูปเป็นพุทธสถานขนาดใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุด อันเป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง “ปฐมเทศนา” ประกาศ “พระสัจธรรม” เป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นที่มาของ “วันอาสาฬหบูชา” ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช กลุ่มสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมธรรมเทศนาและพระธรรมเทศนาอื่นๆ แก่เบญจวัคคีย์ และหมู่คันธกุฎีของพระพุทธเจ้า ในบริเวณป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ได้รับการบูรณะและและก่อสร้างศาสนสถานเพิ่มครั้งใหญ่เพื่อถวายเป็นอนุสรณียสถานแก่พระพุทธเจ้า และกลุ่มพุทธสถานเหล่านี้ได้เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยราชวงศ์คุปตะ (บันทึกของพระถังซำจั๋ง (Chinese traveler HiuenTsang) ซึ่งได้จาริกมาราว พ.ศ.1300 ได้บันทึกไว้ว่า “มีพระอยู่ประจำ 1,500 รูป มีพระสถูปสูงประมาณ 100 เมตร มีเสาศิลาจารึกรูปหัวสิงห์ และ
สิ่งอัศจรรย์มากมาย ฯลฯ) และได้ถูกทิ้งร้างไปเมื่อกษัตริย์โมกุลเข้าปกครองอินเดีย จนท่านอนาคาริก ธรรมปาละ ชาวศรีลังกา ได้มาบูรณะขึ้นใหม่อีกครั้ง และได้รับการบูรณะจากรัฐบาลอินเดียเรื่อยมา ทำให้ “สารนาถ” กลายเป็น “จุดหมายปลายทางในการแสวงบุญที่สำคัญแห่งหนึ่งของชาวพุทธทั่วโลก” มาจนถึงปัจจุบัน 11.00 น. ฉันภัตตาหารเพล 13.00 น. นำคณะเข้าชมพิพิธภัณฑ์ “เมืองสารนาถ” ศึกษาเยี่ยมชมโบราณวัตถุชิ้นสำคัญของโลก อาทิ หัวเสาอโศกที่สมบูรณ์ที่สุด และเป็นตราสัญลักษณ์ของรัฐบาลสาธารณรัฐอินเดีย และโบราณวัตถุที่ขุดค้นได้ในสารนาถ ซึ่งมีอายุกว่า 2,000 ปี มาจัดแสดง 15.00 น. ทำวัตรเย็น ณ ธัมเมกขสถูป ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน

วันที่ 13 (20 ธ.ค.61) พาราณสี-กรุงเทพฯ : 06.00 น. บิณฑบาต ณ โรงแรม Saravasti Residency 07.00 น. ฉันภัตตาหารเช้า 08.00 น. ทำวัตรเช้า ณ ธัมเมกขสถูป 10.30 น. ฉันภัตตาหารเพล 14.00 น. ออกเดินทางจากสนามบินพาราณสี 20.00 น. ถึงท่าอากาศยาน ดอนเมือง ออกเดินทางเข้าที่พัก ศึกษาปฏิบัติธรรม ณ วัดพระพุทธแสงธรรม ต.หนองนาก อ.หนองแค จ.สระบุรี : ตั้งแต่วันที่ 21-27 ธันวาคม 2561 ปฏิบัติสวดมนต์ ปฏิบัติธรรม จิตภาวนา วิปัสสนากรรมฐาน ด้วยการฝึกอานาปานสติ การนั่ง การเดินจงกรม ตามแนวทางของเจ้าคุณ “พระสุนทรธรรมภาณ”

กล่าวโดยรวมได้ว่าท่านเจ้าประคุณสมเด็จเจ้าธีรญาณมุนี ได้นำพระนวกะ ทั้ง 95 ท่าน และคณะ ได้น้อมรำลึกถึงถิ่นกำเนิด “4 พุทธสังเวชฯ” ได้แก่นสาระสำคัญ 4 ประการ คือ

(1) ลุมพินีวัน…ประสูติการเกิดแห่งเรา ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ภพใหม่จักไม่มีแก่เรา

(2) พุทธคยา…ตรัสรู้สละชีวิต ยศถาบันดาศักดิ์ เพื่อแลกกับอมตธรรมพระสัมมาสัมโพธิญาณฯทรงประกาศ สัจธรรม เผยมรรค ผล นิพพานแก่เทพธิดาและมนุษย์ทั้งมวล

(3) สารนาถ…ปฐมเทศนา…ธัมมจักกัปปวัตนสูตรทรงประกาศหลักธรรม (อริยสัจ) ชี้นำถูกทาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ผูกมิตรปิดศัตรู (ท่านโกณฑัญญะ) จนได้ดวงตาเห็นธรรม…ทำให้เกิดภิกษุบริษัท อุบาสกบริษัทและอุบาสิกาครั้งแรก ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ต.สารนาถ แห่งนี้

(4) กุสินารา…ปรินิพพาน : เกิดมรดกธรรม 3 ประการ : (ก) วางหลักให้เราพิง (ความไม่ประมาท) (ข) ทิ้งที่เรามา (สังเวชนียสถาน 4 ตำบล) (ค) ตั้งศาสดาให้เราพึ่ง (พระธรรมวินัย) เราจึงไม่เป็นลูกกำพร้า…พ่อแม่ย่อมรักในบุตรหลาน…คณาจารย์ย่อมรักในลูกศิษย์ มิตรย่อมรักในเพื่อนพ้อง น้องย่อมรักในพี่…ครั้นคราที่พรากจะจากกันไป (เสียชีวิต) ย่อมหวังให้คนที่รักเรา และคนที่เรารักมีความสุข ความเจริญ…ย่อมบอกกล่าวในสิ่งมีดีๆ ฉันใดพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ล้นเกล้าด้วยพระมหากรุณาธิคุณย่อมสอนลูก (ศิษย์) ในทางที่ถูก ทางที่ชอบ เป็นไปเพื่อ “มรรคผล นิพพาน” ฉันนั้นฯกล่าวโดยประมวลได้ว่า การอุปสมบท ณ แดนพุทธภูมิ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ริเริ่มโครงการนี้ก่อให้เกิดการ “ศึกษา ปฏิบัติ ภาวนา”… อันนำไปสู่ “ผู้รู้ : รู้อะไรล่ะ ก็รู้สิ่งที่ควรรู้คือรู้จักตนเอง รู้จักโลก นั่นคือรู้จักธรรม คือรู้จักอริยสัจ 4 รู้จักทุกข์ รู้จักสมุทัย รู้จักนิโรธ รู้จักมรรค ผู้ตื่น : ตื่นจากอะไรเล่า ก็ตื่นจากความหลับ ความโง่งมงาย ความหลอกลวงที่โลกครอบงำ ผู้เบิกบาน : ก็คือ ไม่หดหู่ เหี่ยวแห้ง ท้อแท้ แต่สดใส ชื่นบาน และเข้มแข็ง”…รู้ตัวเอง : รู้ใจตัวเอง…จากวันที่ 8…ถึง 20 ธันวาคม 2561 : บรรพชาสู่แดนพุทธภูมิ ประเทศอินเดีย…ได้ฝากไว้ในความทรงจำดีๆ แก่ลูกทั้ง 95 ท่าน ชั่วนิรันดร์

อนึ่ง ในโครงการรุ่น “วปก.20” ริเริ่มให้มีการพัฒนาจัดให้มีการเตรียมตัวก่อนล่วงหน้า โดย “พระเทพโมลี” และ “พระศรีวิศาลคุณ” ทุกวันเสาร์ (4 เดือน) ก่อนอุปสมบท เดิมนั้นก่อนอุปสมบทที่อินเดีย 2 สัปดาห์ แล้วจะลาสิกขาในวันสุดท้าย สำหรับรุ่นนี้เป็น “รุ่นแรก” ที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯริเริ่มให้เพิ่มอีก 1 สัปดาห์ ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2561-27 ธันวาคม 2561 เพื่อ “ศึกษาปฏิบัติธรรม” ณ วัดพระพุทธแสงธรรม ต.หนองนาก อ.หนองแค จ.สระบุรี ตามแนวทางของท่านเจ้าคุณ “พระสุนทรธรรมภาณ” เจ้าอาวาสวัด โดยแต่ละวัน มีศาสนกิจหลักๆ คือ คณะพระนวกะบิณฑบาต ฉันภัตตาหารเช้า ร่วมทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น เจริญพระพุทธมนต์ และเจริญจิตภาวนา วิปัสสนากรรมฐาน โดยมีการสอนวิธีปฏิบัติ “กรรมฐานเบื้องต้น” ทั้งนี้ โดยเจ้าประคุณสมเด็จฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาจิตเป็นสำคัญ ซึ่ง “พระสุนทรธรรมภาณ” ได้เน้นการปฏิบัติกรรมฐานใน 2 ส่วน คือ

1.สมถกรรมฐาน ซึ่งกรรมฐานชนิดนี้เป็นอุบายให้ใจสงบ คือ ใจอบรมในทางสมถะแล้ว จะเกิดนิ่งและเกาะอยู่กับอารมณ์หนึ่งเพียงอย่างเดียว

2.วิปัสสนากรรมฐาน กรรมฐานชนิดนี้เป็นอุบายให้เรืองปัญญา คือ เกิดปัญญาเห็นแจ้ง หมายความว่า เห็นปัจจุบัน เห็นรูปนาม เป็นพระไตรลักษณ์ และเห็นมรรค ผล นิพพาน

ท้ายสุดของโครงการอุปสมบทหมู่ 95 รูป ณ แดนพุทธภูมิ ในร่มบารมีธรรม ถวายเป็นพุทธบูชา สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดเทพศิรินทราวาส ตลอดระยะเวลา 20 วัน : 13 วัน ณ ประเทศอินเดีย 7 วัน ณ วัดพระพุทธแสงธรรม ตามแนวทางของ “พระราชกิตติมงคล” “พระสุนทรธรรมภาณ” ผลของการประเมินจากบรรดาลูกของเจ้าประคุณสมเด็จฯ 95 รูป ได้เกิดดวงตาแห่งธรรม สอดคล้องกับ “คติธรรม” ของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ที่เป็นธุระในพระศาสนา 2 ประการ คือ

1.คันถธุระ ได้แก่ ลูกๆ ของท่านทุกคนได้ศึกษาเล่าเรียนให้รู้เรื่องพระศาสนาและหลักของศีลธรรม

2.วิปัสสนาธุระ ธุระ หรืองานอย่างสูงสุดในพระศาสนาซึ่งเป็นงานที่จะช่วยให้ลูกๆ ทุกคน ซึ่งนับถือพระศาสนาได้รู้จักการ “ดับทุกข์” หรือเปลื้องทุกข์ออกจากตน มากน้อยตามควรแก่การปฏิบัติ ทั้งนี้ ทางเดียวเท่านั้น ที่จะทำให้คนพ้นทุกข์ตั้งแต่ทุกข์เล็กๆ จนถึงทุกข์ใหญ่ เช่น การเกิด แก่ เจ็บ ตาย และเป็นทางปฏิบัติมีอยู่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าเท่านั้น

อนึ่ง สำหรับการบรรพชาอุปสมบทหมู่รุ่นต่อไป “วปก.รุ่น 21” มีทั้งหมด 87 คน ณ วันป่าพุทธคยา ประเทศอินเดีย ถวายเป็นพุทธบูชา ระหว่างวันที่ 1-14 กุมภาพันธ์ 2562 มีทั้งหมด 87 ท่าน ดังรายชื่อ 1.นายพูลศักดิ์ วัฒนศัพท์ 2.นายสุทธิพงษ์ กาญจนเกสร 3.นายทรงพล ตันศรีตรัง 4.นายประพันธ์ พงศ์คณตานนท์ 5.นายวรพจน์ สรรพกิจ 6.ร.ต.อ.เรืองยศ ขันสุวรรณ 7.พ.ต.อ.วสันต์ อาษารอด 8.พล.ต.ต.ญาณพงศ์ โสมาภา 9.นายศิวนาถ ฤชุพันธุ์ 10.พ.ต.อ.สมฤกษ์ ชัยสุกัญญาสันต์ 11.พล.ต.ต.ปราบพาล มีมงคล 12.นายธารา เชี่ยวพิทยาการ 13.นายนันทวัฒน์ จรัศเบญจรงศ์ 14.นายคงศักดิ์ อตุลยานุภาพ 15.นายอำพล ลิ้มทองคำ 16.พ.อ.ธิติวัฒน์ วาศกุลพิสิทธิ์ 17.นายทวีชัย พงศ์มณีรัตน์ 18.นายยศวัตน์ กาญจนวรเสฎฐ์ 19.นายกัณฑ์พัฒน์ อุ่นเมืองทอง 20.พ.ต.ท.รัฐพล เพ็ญสงคราม

21.พ.ต.อ.มนต์ชัย ศรีประเสริฐ 22.พ.ต.ท.ทรงพล สุขกลึงมี 23.พ.ต.ท.จตุรงค์ มหิทธิโชติ 24.พ.ต.ต.รุ่งเพชร โรคน้อย 25.นายณัฐภัทร รักวงศ์วาน 26.พ.ต.ท.ปณต คำนึงการ 27.นายนนกฤต พฤกษ์ภิรมณ์ 28.พ.อ.ณัฎฐชัย ป่าโมกข์ 29.นายวีรพงศ์ กิจรักษ์กุล 30.นายอรรถพันธ์ ส่งสัมพันธ์ 31.นายเกรียงศักดิ์ แซ่เล้า 32.นายอมร พรมศรีจันทร์ 33.ร.ต.อ.ณัฉฐกิตติ์ จิตบุญทรัพย์ 34.นายณัฐพงษ์ บุญสุวรรณ 35.นายนันนทพันธ์ รอดพุ่มธนนันท์ 36.นายธนวัฒน์ สาธุเสน 37.นายวิสิทธิ์ บุญตานนท์ 38.นายสาร อักษรานุเคราะห์ 39.พ.ต.ท.สรชัย กาญจนรุจวิวัฒน์ 40.นายพงศนาถ อ่อนมิ่ง 41.พ.ท.ชิตพล จิระรัตน์พิศาล 42.นายวิศิษฐ์ จาระศิริพจน์ 43.ร.ต.อ.ศักย์ศรณ์ เจริญศิลป์

44.ตุวจตีกิต 45.นายศุภชัย อนานุกูล 46.นายพีระพงศ์ แต้สุจริยา 47.นายอัครวัฒน์ เลิศดำรงศิริ 48.นายถิรวุฒิ กาญจนวิกัติ 49.นายเพชร สถาวราวงศ์ 50.นายชยกร จึงขตรกิจ 51.นายกฤตนัย ศรีโท 52.ส.อ.ณัฐรัฐ คำเผ่า 53.ส.ท.เกรียงศักดิ์ โตเกิด 54.นายสินธุ์สมุทร วิสุทธิสาทอง 55.พ.ต.อ.สรัลพัฒน์ ยศสมบัติ 56.ร.ต.ท.พัลลภ แสนยศ 57.พ.อ.โฆสิต ชินวลัญช์ 58.พล.ท.นพ.ต่างแดน พิศาลพงศ์ 59.พล.อ.ยุวณัฎฐ์ สุริยกุล ณ อยุธยา 60.พล.อ.รักบุญ มนต์สัตตา 61.พล.ท.สมร ศรีทันดร 62.นายปิยะพงษ์ บุษบงค์ 63.นายเอกชัย เหมชาญสิริ 64.นายชานนท์ ไชยรัตนนุวัตร

65.นายณัฐจักร จันทร์แจ่ม 66.นายจิรฐา ผาวันดี 67.นายภัทราวุธ สิงห์ฆะทวีทรัพย์ 68.นายศุภสัณห์ บุญนำชัย 69.นายศุภณัฐ บุญนำชัย 70.นายณัธสิทธิ์ แก้วสิงห์ 71.นายสุพัฒน์ แสงโครต 72.นายธนกร วัฒนะโชติ 73.นายพล พลหาร 74.นายอุเทน ชุมแก้ว 75.นายเอกสิทธิ์ แซ่ลิ้ม 76.นายชาญศักดิ์ สุวรรณคาม 77.นายอดิศิกดิ์ เบญจศิริวรรณ 78.นายสุพัฒน์ วรวงศ์วสุ 79.นายวสันต์ ศรีจันทร์ 80.พ.อ.ศรัณยนิษฐ์ สุทธิวัจน์ชินเดช 81.นายอดิศร สุทธิวานิช 82.พล.อ.ไมตรี เตชานุบาล 83.ร.ต.อ.ณัฐดนย์ ฐิไรวรรณ์ 84.นายยุทธพงษ์ วัฒนวิจิตรกุล 85.นพ.ชัยเลิศ พิชิตพรชัย 86.นายสมบูรณ์ หาญไพบูลย์สุข 87.นายภาคิน ก้อนกลีบ

ในทุกรุ่นของวิทยาลัยป้องกันกิเลส (วปก.) ทุกคนที่ได้รับการอบรมตามเกณฑ์ของท่านเจ้าประคุณ “สมเด็จพระธีรญาณมุนี” ขอให้ลูกทุกคน เป็นผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมะ เท่านั้นที่พ้นจากทุกข์ได้ อยากรวย ให้พากันทำทาน อยากสวย ให้พากันรักษาศีล อยากดี ให้พากันเจริญภาวนา ข้าฯจะมีเกินใช้แต่ไม่ใช้เกินมี ชีวิตอายุสั้นต้องรีบทำความดี (ทำบุญ) ตั้งแต่วันนี้ พรุ่งนี้อาจไม่มีโอกาสได้ทำ นะครับ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image