การตรวจสอบพฤติกรรมนักการเมือง

ทุกครั้งที่มีการเผยแพร่คลิปผ่านทางสื่อออนไลน์เพื่อเปิดเผยพฤติกรรมของนักการเมือง ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จึงมีคำถามเกิดขึ้นมากมายว่า เราจะทำการตรวจสอบพฤติกรรมนักการเมืองให้ทั่วถึงและให้เป็นระบบได้อย่างไร มิใช่กระทำกันเพียงรอให้มีการถ่ายคลิปออกมาเผยแพร่ทางทีวี ก็ฮือฮา ตื่นตัวกันทีหนึ่ง หรืออาจกล่าวได้ว่า เมื่อเกิดเรื่องทีก็จัดการกันทีหนึ่ง เพราะนั่นหมายความว่าเราไม่ได้มีระบบและกลไกที่จะคอยตรวจสอบพฤติกรรมนักการเมืองอย่างเป็นเรื่องเป็นราว

แม้อาจจะกล่าวได้ว่า รัฐสภาไทยได้มีการออกข้อบังคับ กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการตรวจสอบ ควบคุมพฤติกรรมของนักการเมืองไว้แล้วก็ตาม แต่ก็ดูเหมือนว่ามักจะเป็นการตรวจสอบเมื่อมีเหตุการณ์ หรือเกิดเรื่องขึ้นมาแล้วก็ทำการตรวจสอบ หรือโดยการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบคุณธรรมจริยธรรมในแต่ละครั้งเท่านั้น และที่กล่าวว่าขาดระบบและกลไกในการตรวจสอบ หมายถึง การสำรวจ และค้นคว้าข้อมูลของนักการเมือง รวมถึงการรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมต่างๆ ของนักการเมือง ทั้งประวัติส่วนบุคคล การทำงาน และบันทึกพฤติกรรมในการทำหน้าที่ ทั้งก่อนมาเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือระหว่างดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยจัดให้ต้องมีกลไก หรือหน่วยงาน องค์กร ที่คอยเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ของนักการเมือง

แม้อาจจะมีข้อโต้แย้งว่าสภาผู้แทนราษฎรได้รวบรวมประวัตินักการเมืองไว้แล้ว หรือมีการให้ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินให้กับสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ไว้แล้วก็ตาม แต่ดูเหมือนว่าเป็นเพียงการ

กระทำเพียงชั่วครั้งชั่วคราว แล้วก็เก็บรวบรวมไว้เท่านั้น แต่ขาดการเก็บข้อมูลพฤติกรรมของนักการเมืองต่างๆ อย่างต่อเนื่อง และเผยแพร่ให้สาธารณชนทราบในรอบปี หรือทุกๆ 6 เดือน เป็นต้น

Advertisement

ผมมีตัวอย่างองค์กร PSPD (People’s Solidarity for Participatory Democracy) ของประเทศเกาหลีใต้ ที่จัดตั้งขึ้นโดยองค์กรของภาคประชาชน กลุ่มองค์กรภาคประชาสังคม ที่ก่อตัวขึ้นเป็นภาคีความร่วมมือ มากกว่า 400 ภาคี กระจายอยู่ทั่วประเทศ มีทั้งองค์กรวิชาชีพต่างๆ ทั้งหมอ พยาบาล ผู้พิพากษา บริษัทเอกชน และกลุ่มประชาชนต่างๆ ซึ่งได้รับการสนับสนุนและบริจาคเงินจากกลุ่มภาค ประชาชน และบริษัทเอกชน ห้างร้านต่างๆ มากกว่า 15,000 แห่ง จัดตั้งขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ตรวจสอบนักการเมือง ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น และสร้างความโปร่งใส ตรวจสอบได้

การผนึกกำาลังของภาคีความร่วมมือขององค์กร PSPD ถือเป็นอุดมการณ์และความฝันร่วมกัน (Dreaming Together Come To) เพื่อเจตจำนงที่ต้องการเห็นสังคมเกาหลีใต้เป็นสังคมที่โปร่งใสและบริสุทธิ์ โดยมีผู้นำหรือแกนนำ องค์กรคนสำคัญ ชื่อ Mr.Park Wonson เป็นเลขาธิการองค์กร PSPD โดยองค์กร PSPD เขาจะร่วมมือกับภาคประชาสังคม และกลุ่มประชาสังคมต่างๆ เพื่อร่วมคอยเฝ้าดู สอดส่องพฤติกรรมนักการเมือง และทาการขึ้นบัญชีพฤติกรรมในรูปแบบต่างๆ ของนักการเมือง เช่น พฤติกรรมที่เคยประพฤติปฏิบัติโดยมิชอบ ทำผิดกฎหมาย เคยถูกฟ้องร้อง เคยมีประวัติในทางเสื่อมเสีย และพฤติกรรมก้าวร้าว อวดตน รวมทั้งแสดงกิริยาวาจาที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น

องค์กร PSPD จะทำการเก็บรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมดังที่กล่าว โดยทำการรวบรวมทั้งบันทึกประวัติการทำหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎร ทั้งในเรื่องของการประชุม ไม่มาประชุม หรือขาดประชุม ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การอภิปรายและการโหวตมติต่างๆ ในสภาว่าเป็นอย่างไร นอกจากนี้ ได้จัดทำประวัตินักการเมือง เช่น ประวัติการศึกษา การทำงาน เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทราบในช่องทางต่างๆ

Advertisement

จึงเห็นว่าการทำงานขององค์กร PSPD ที่เปิดเผยประวัตินักการเมืองและพฤติกรรมนักการเมืองที่ไม่พึงปรารถนา ทั้งในด้านการปฏิบัติหน้าที่การใช้อำนาจที่ไม่ถูกต้อง รวมทั้งการแสดงถึงการใช้อำนาจในเชิงความมีอิทธิพลต่งซึ่งทำการเผยแพร่สู่สาธารณชน ได้ส่งผลกระทบต่อนักการเมืองผู้นั้นโดยตรง

ผมจึงเห็นว่าการเปิดเผยข้อมูลนักการเมืองถือเป็นมาตรการทางสังคมที่สาคัญ โดยมีหน่วยองค์กร PSPD หรือเป็นองค์กรหนึ่งที่ช่วยกันตรวจสอบ ควบคุมนักการเมืองโดยภาคประชาสังคม และถือว่าเป็นช่องทางที่สำคัญ และมีประสิทธิภาพมากที่สุดทางหนึ่ง เพราะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นนักการเมืองที่มาจากประชาชน

ผมเข้าใจว่านักการเมืองในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประเทศไทย แม้ว่าเราจะได้ยินข่าวการตรวจสอบพฤติกรรมต่างๆ ของนักการเมืองผ่านทางสื่อออนไลน์/คลิป ที่ได้ถูกบันทึกและเผยแพร่ทำให้เป็นข่าวทางทีวีอยู่เป็นระยะนั้น เห็นว่าขึ้นอยู่กับเหตุการณ์สถานการณ์ที่ได้พบเห็น หรืออาจจะเจอโดยบังเอิญ ซึ่งไม่ค่อยเป็นระบบและไม่มีองค์กรที่คอยรวบรวม เก็บข้อมูล เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน เพราะในห้วงเวลาปีหนึ่งๆ ถ้าได้มีการบันทึกข้อมูลนักการเมืองที่มีความประพฤติปฏิบัติที่ไม่พึงประสงค์ให้ประชาคมและสาธารณชนได้ทราบ ก็จะเป็นผลดีต่อประชาชนในการรับรู้รับทราบตัวแทนของตนเอง และนำไปพิจารณาเพื่อการลงคะแนนเสียงการเลือกตั้งในครั้งต่อไปหรือในอนาคต ซึ่งในประเทศเกาหลีใต้ เมื่อองค์กร PSPD ได้ทำการเผยแพร่พฤติกรรมของนักการเมืองออกสู่สาธารณชนอย่างสม่ำเสมอและก่อนการเลือกตั้ง มีผลทำให้นักการเมืองส่วนหนึ่งถูกประชาชนพร้อมใจกันไม่เลือกนักการเมืองที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเกาหลีใต้สอบตกกันเป็นจำนวนมาก

สำหรับประเทศไทย ผมเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่เราจะนำแนวทางขององค์กร PSPD มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมและเห็นว่ามีความจำเป็นต้องมีองค์กรตรวจสอบพฤติกรรมของนักการเมืองให้เป็นไปอย่างสม่ำเสมอและมีระบบ โดยเฉพาะหน่วยงานบันทึกข้อมูล และความร่วมมือกับภาคประชาชน กลุ่ม องค์กรสาธารณประโยชน์ รวมถึงองค์กรภาคประชาสังคมที่คอยป้อนข้อมูล ข้อเท็จจริง เช่น ข้อมูลการเข้าประชุมสภาและไม่เข้าประชุม การอภิปราย การเสนอญัตติ และร่วมกันโหวตในสภา

ผู้แทนราษฎรว่าเป็นอย่างไร รวมไปถึงข้อมูลพฤติกรรมการฝึกอบรมการสัมมนาในหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ทั้งการเข้าอบรมและไม่เข้าอบรมของนักการเมือง ตลอดจนประวัติพฤติกรรมอื่นๆ ที่พอรวบรวมได้เพื่อทาการเผยแพร่ให้สาธารณชนทราบทุกๆ ปี

ผมจึงเชื่อมั่นว่าการควบคุมพฤติกรรมนักการเมืองที่ดีที่สุด นั่นก็คือ การให้ประชาชน กลุ่ม องค์กรภาคประชาสังคมคอยเฝ้าติดตามและคอยบันทึกการกระทำ ส่งข้อมูลให้องค์กรหน่วยงานต่างๆ คอยตรวจสอบ และทำการเผยแพร่ให้แก่ประชาชนทราบ ก็จะทำให้นักการเมืองที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องระมัดระวังและกระทำตนเองให้เหมาะสมตามที่สังคมคาดหวัง และเป็นการทำให้ภาพพจน์ของนักการเมืองดีขึ้นไปในตัว

ศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคพลังท้องถิ่นไท

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image