ก่อนถึงรอบสอง อีกมุมชิมช้อปใช้ ขาดทุนสามเด้ง

ก่อนถึงรอบสอง อีกมุมชิมช้อปใช้ ขาดทุนสามเด้ง

ก่อนถึงรอบสอง อีกมุมชิมช้อปใช้ ขาดทุนสามเด้ง

ถ้าพิจารณาในแง่ “การตลาด”

ก็จะต้องยอมรับว่ามาตรการ “ชิมช้อปใช้” ของรัฐบาลนั้นประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง

เพราะทั้งสามารถปลุกเร้าความสนใจ และกระตุ้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมได้เป็นจำนวนนับล้านคน

Advertisement

แต่สำหรับผลในเชิง “เศรษฐศาสตร์” แล้วยังเป็นที่น่าสงสัย

โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่า การแจกเงินให้ใช้คนละ 1,000 บาท เปล่าๆ

จะทำให้เกิดการหมุนเวียนขึ้นในระบบเศรษฐกิจจริงหรือไม่

Advertisement

และเท่าใด

ผศ.ดร.ภาวิน ศิริประภานุกูล อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์กับเว็บ “เดอะ แมตเทอร์” ถึงผลที่เกิดขึ้นกับโครงการนี้อย่างน่าสนใจยิ่ง

ดร.ภาวินฟันธงลงแสกหน้าว่า โครงการนี้ทำให้รัฐบาลและประเทศไทยขาดทุน

แถมยังไม่ใช่การขาดทุนธรรมดา

แต่เป็นการขาดทุนถึงสามเด้ง

แล้วแต่ละเด้งคือเป็นอย่างไร

เด้งแรก-ตามตัวคูณทางการคลัง ถ้ารัฐบาลใช้เงินออกมา 1 บาท จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจได้ 70 สตางค์เท่านั้น

การแจกเงิน 1,000 บาท จะทำให้ประชาชนลดการใช้จ่ายในส่วนของตัวเองลง

ส่วนเพิ่มขึ้นมาจะอยู่ที่ประมาณ 300-400 บาทเท่านั้น

“ก็คือมันจะไปเบียดการใช้จ่ายปกติของคนให้ลดลงไป ทำให้แต่ละคนรู้สึกดี เพราะว่าประหยัด”

แต่ทั้งหมดคือรัฐขาดทุน

เด้งที่สอง-เงิน 10,000 ล้านบาท ที่รัฐบาลใช้ในชิมช้อปใช้

ถ้าไม่ใช้ ประเทศก็กู้น้อยลง 10,000 ล้านบาท ถ้าตัดสินใจใช้ก็เท่ากับเพิ่มเงินกู้ 10,000 ล้านบาท

ซึ่งก็จะทำให้เกิดต้นทุนดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นไปอีกในปีถัดๆ ไป

เพราะว่ายังไม่มีท่าทีว่ารัฐบาลจะสามารถใช้หนี้สาธารณะได้อย่างรวดเร็วในเร็ววัน

ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นก็จะเป็นภาระที่เพิ่มขึ้นสำหรับประเทศไทยในอนาคต

“นี่ผมยังไม่ได้พูดถึงสถานการณ์ของประเทศไทยที่เรามีปัญหาเรื่องโครงสร้างประชากร

คือประชากรวัยแรงงานของเราจะหดลง ในขณะที่คนสูงอายุของเราจะเพิ่มขึ้น

…ยังมองภาพไม่ออกเลยว่า ในอนาคตรัฐบาลจะปรับตัวยังไงให้สามารถลดการใช้จ่าย แล้วเพิ่มรายได้ให้อยู่ในระดับสมดุล

…แล้วเรามาขาดดุลกับมาตรการที่คล้ายกับชิมช้อปใช้ เพิ่มเติมมาทุกปี

มันเป็นความสูญเสีย”

เด้งที่สาม-ชิมช้อปใช้เป็นมาตรการที่มีความซับซ้อน ต้องการการเรียนรู้ของผู้คนในระดับหนึ่ง

ถ้าเทียบกับตอนที่ไม่มีมาตรการ ทุกคนก็ไม่ต้องมาใช้เวลา ไม่ต้องมานั่งเรียนรู้เงื่อนไข

ไม่ต้องตื่นนอนตีสามตีสี่มาลงทะเบียน ไม่ต้องมาจัดการนู่นนี่ สแกนหน้าอะไรแบบนี้

พวกนี้เป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจ

คือถ้าไม่มีมาตรการ คนก็ไม่ต้องทำ

แทนที่เขาจะเอาเวลาไปพักผ่อน แทนที่เขาจะเอาเวลาไปเรียนรู้เรื่องอื่นที่อาจจะมีประโยชน์

เขาเสียเวลามาทำเรื่องนี้ บางทีต้องไปต่อคิว

มันคือการสูญเสียทางเศรษฐกิจ

เสียงกระตุกเตือนจากนักวิชาการ หรือความเห็นต่าง

ไม่ว่าจะจาก ดร.ภาวิน หรือคนอื่นๆ

จะเข้าหูหรือมีผลกับรัฐบาลมากน้อยเพียงใด ยังไม่มีใครประเมินได้

ในวันนี้รัฐบาลเตรียมการที่จะออกมาตรการ “ชิมช้อปใช้ รอบสอง” ที่ไม่แจกเงินให้เปล่า 1,000 บาทเหมือนเดิม

แต่จะใช้วิธี “คืนเงิน” ให้กับผู้ใช้จ่ายตั้งแต่ 30,000 บาทขึ้นไปร้อยละ 15 หรือ 4,500 บาทเป็นอย่างต่ำ

โดยหวังว่าจะให้คนควักกระเป๋าส่วนตัวออกมาใช้จ่ายเพิ่ม เพื่อกระตุ้น “การบริโภคภาคประชาชน” อันเป็นหนึ่งใน 4 เครื่องยนต์หลักในการขับดันเศรษฐกิจ

ซึ่งมีการอาการริบหรี่ลงทุกวัน

เพราะด้านหนึ่งคนมีเงินในกระเป๋าไม่ใช้

ขณะที่อีกด้านหนึ่งคนส่วนใหญ่ไม่มีเงินในกระเป๋า

ด้วยรู้แก่ใจดีว่าหากภายในสิ้นปีนี้ยังแก้ปัญหาปากท้อง ปัญหาเศรษฐกิจภาพรวมไม่ได้

อนาคตของรัฐบาลก็น่ากังวลยิ่ง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image