มาตรการในอ่าง ฝุ่นพิษเวียนไป ปีแล้ว-ปีเล่า

มาตรการในอ่าง ฝุ่นพิษเวียนไป ปีแล้ว-ปีเล่า

มาตรการในอ่าง ฝุ่นพิษเวียนไป ปีแล้ว-ปีเล่า

21 มกราคม

กรุงเทพมหานคร ออกประกาศปิดโรงเรียนในสังกัด 437 แห่ง เพื่อไม่ให้นักเรียนชั้นประถมต้องเผชิญกับสภาพมลพิษจากภาวะฝุ่นละออง PM 2.5 ที่ปกคลุมไปทั่วทั้งเมืองหลวงของประเทศไทย

เป็นมาตรการที่ฟังดู “คุ้นๆ” บ้างไหม

Advertisement

วันเดียวกัน

ที่ประชุม ครม. เห็นชอบในหลักการ 12 มาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ได้แก่

1.ขยายเขตพื้นที่จำกัดรถบรรทุกเข้ากรุงเทพฯ เป็นวงแหวนกาญจนาภิเษก 2.ห้ามรถบรรทุกเข้าพื้นที่ชั้นในของกรุงเทพฯในวันคี่ ระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์

Advertisement

3.ตรวจวัดควันดำรถโดยสาร (ไม่ประจำทาง)ทุกคัน ทั้ง 50 เขตของกรุงเทพฯ 4.ตรวจจับรถควันดำสำหรับรถโดยสารและรถบรรทุก

5.ตรวจสอบโรงงานที่ทำให้เกิดฝุ่นละออง ให้สั่งปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือสั่งหยุดการประกอบกิจการ 6.กำกับให้กิจกรรมการก่อสร้างรถไฟฟ้าและอื่นๆ ไม่ทำให้เกิดฝุ่นและปัญหาการจราจร

7.ไม่ให้มีการเผาในที่โล่ง ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล 8.จังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาศัยอำนาจและหน้าที่ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องควบคุมการเผาในที่โล่งในช่วงสถานการณ์วิกฤตฝุ่นละออง และเข้มงวดการควบคุมยานพาหนะ โรงงานอุตสาหกรรม และการก่อสร้าง

9.ลดราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีปริมาณกำมะถันไม่เกิน 10 PPM เป็นน้ำมันที่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองน้อย 10.ขอความร่วมมือลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวมาทำงาน และรถยนต์ของส่วนราชการต้องผ่านมาตรฐานควันดำทุกคัน

11.ให้ภาครัฐ ภาคเอกชน และสถานศึกษาสนับสนุนการจัดโครงการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องสำหรับรถยนต์ดีเซลที่มีอายุเกิน 5 ปี 12.สร้างการรับรู้และเข้าใจแก่ประชาชน เกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาฝุ่นละออง

ก็คุ้นๆ อีกเช่นกัน

ย้อนกลับไปดูข่าวในช่วงต้นปี 2562 ที่กรุงเทพมหานครถูกปกคลุมด้วยฝุ่นละออง PM 2.5

ที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมมลพิษ ครั้งที่ 1/2563 เสนอมาตรการในการป้องกันและควบคุมสถานการณ์

โดยห้ามรถบรรทุก 10 ล้อขึ้นไป ห้ามเดินรถในเส้นทางถนนวงแหวนกาญจนาภิเษก ในวันคี่โดยเด็ดขาด ยกเว้นรถบรรทุกอาหารสดเท่านั้น จากเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์

เนื่องจากร้อยละ 72 ปัญหาฝุ่นละอองมาจากยานพาหนะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถขนาดใหญ่ โดยมีรถบรรทุกสินค้าจดทะเบียนในกรุงเทพฯ 140,000 คัน พบเป็นรถบรรทุกใช้เครื่องยนต์ดีเซลมากถึง 99,000 คัน

และให้เพิ่มการตรวจสอบรถโดยสารไม่ประจำทางหรือรถบัสที่ขนส่งพนักงานตามบริษัทที่มีกว่า 6 หมื่นกว่าคันที่อาจเป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มปริมาณฝุ่นละออง โดยจะต้องมีการตรวจเข้มในเรื่องควันดำ

ในส่วนของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้ขอความร่วมมือกับโรงงานในช่วงเวลาวิกฤตเพื่อลดกำลังการผลิต 50%

รวมทั้งจะเข้มงวดตรวจสอบไม่ไห้มีการเผาโดยเด็ดขาดในที่โล่งในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล

และตรวจเข้มบริเวณก่อสร้างซึ่งมีการก่อสร้างในทุกเขต หากฝ่าฝืนสามารถระงับการก่อสร้างได้ทันที

ทั้งหมดนั้น ครม.ให้การเห็นชอบให้ดำเนินการทันที

ถามว่าผลเป็นอย่างไร

30 กันยายน 2562

รายงานสถานการณ์ ฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล พบเกินมาตรฐาน 13 พื้นที่

31 ธันวาคม

กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม กทม. สรุปผลการตรวจวัด PM 2.5 ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง พบว่าเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน
7 พื้นที่ คือ

เขตปทุมวัน เขตบางคอแหลม เขตลาดกระบัง เขตบางกอกน้อย เขตพระนคร เขตบางซื่อ เขตบางเขน

มาตรการ “รีไซเคิล” ที่กวดขันกันเป็นระยะ พิสูจน์แล้วว่าแก้ไขปัญหาที่ต้นตอไม่ได้

ไม่เช่นนั้นปัญหาเก่าจะวนเวียนกลับมาหลอกหลอนได้อย่างไร

คำถามคือ แล้วจะแก้ไขปัญหาที่ต้นตออย่างไร

ให้ยั่งยืน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image