เสียงก้องของผู้รู้ เยียวยาเศรษฐกิจ ยังไม่ครบ-ไม่พอ

เสียงก้องของผู้รู้ เยียวยาเศรษฐกิจ ยังไม่ครบ-ไม่พอ

เสียงก้องของผู้รู้ เยียวยาเศรษฐกิจ ยังไม่ครบ-ไม่พอ

ไม่มีใครไม่เห็นพ้องกับนโยบาย “เยียวยา” ผู้ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจและปากท้องของรัฐบาล ที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน

มีแต่เสียงร้องว่าไม่พอ-น้อยไป-ไม่ครบถ้วน

อย่างไร

Advertisement

เริ่มจาก “รุ่นใหญ่” อย่าง บรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการบริหารธนาคารเกียรตินาคิน

ผมสนับสนุนให้ออก พ.ร.ก.กู้เงินและเพิ่มงบประมาณฉุกเฉินอีก ไม่น้อยกว่า 1 ล้านล้านบาท (ไม่เกิน 1.7 ล้านล้านบาท หรือ 10% ของ GDP)

โดยขอให้จัดลำดับความสำคัญของงบประมาณพิเศษดังนี้

Advertisement

1.เพิ่มงบสาธารณสุขให้พอเพียง ทั้งสถานพยาบาล เครื่องมือ อุปกรณ์ รวมถึงงบจ้างบุคลากรพิเศษ ถ้ายังหยุดโรคไม่ได้ก็ไม่มีทางเปิดเศรษฐกิจใหม่ได้ครับ

2.งบช่วยเหลือดูแลประชาชนผู้ที่ต้องเดือดร้อนจากมาตรการต่างๆ ตลอดอายุของมาตรการ โดยเฉพาะผู้ที่ขาดรายได้พื้นฐานในการดำรงชีวิต (ที่ทำไปแล้วยังน้อยไปมาก และยังไม่ครอบคลุม)

3.งบช่วยเหลือสร้างสภาพคล่องให้กับธุรกิจที่หยุดชะงักจากผลของการระบาด และจากมาตรการของรัฐ (อย่าลืมว่ารัฐเป็นคนออกคำสั่งปิดเศรษฐกิจนะครับ)

4.งบเพื่อดูแลสภาพคล่องและช่วยเหลือให้ตลาดการเงินยังดำรงอยู่ได้ (ดูแลและ rescue ระบบโดยไม่ใช่อุ้มนายทุน)

ไทยมีวินัยทางการคลังพอสมควรตลอดมา มีหนี้สาธารณะต่อ GDP แค่ 42% เรายังมีศักยภาพเพียงพอที่จะใช้ทรัพยากรกลางได้อีกเยอะครับ

ขอเพียงให้ใช้งบอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส

และตรวจสอบได้ก็แล้วกันนะครับ

ต่อด้วย “รุ่นใหม่” อย่าง สันติธาร เสถียรไทย Group Chief Economist ของ Garena, Shopee และ AirPay

สัปดาห์ที่ผ่านมา สิงคโปร์ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ จนถูกขนานนามว่า “บาซูก้า” ทางการคลัง

ด้วยขนาดถึง 11% ของ GDP หรือประมาณ 3.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

ขณะที่สหรัฐอเมริกาจัดกระตุ้นเศรษฐกิจกว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 10% ของ GDP

มาเลเซียอัดฉีดมาตรการเศรษฐกิจมูลค่าถึง 17% ของ GDP

เทียบกับมาตรการกระตุ้นของประเทศไทยที่ออกมา 2 ชุด รวมมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 3.1% ของ GDP

โดยรัฐบาลสิงคโปร์จะชดเชยค่าจ้างให้กับบริษัทต่างๆ 25% ของค่าจ้างทั้งหมดเป็นเวลา 9 เดือน

จากเดิมที่เคยประกาศจะช่วยแค่ 8% เป็นเวลา 3 เดือน

หากเป็นอุตสาหกรรมที่โดนหนักเช่น การบิน ท่องเที่ยว ร้านอาหาร จะชดเชยให้ถึง 50-75% ของค่าจ้าง

อาชีพอิสระจะได้เดือนละ 1,000 เหรียญสิงคโปร์ (2 หมื่นกว่าบาท) ต่อเดือนเป็นเวลา 9 เดือน

และศึกษาต่อว่าจะช่วยคนกลุ่มนี้อย่างไรในอนาคต

และไม่ได้มีแต่มาตรการเพื่อให้คนและบริษัทรอดจากการ “จมน้ำ” เท่านั้น แต่พยายามจะสร้างรากฐานให้คนสามารถวิ่งได้เร็วยิ่งกว่าเดิมในวันที่ “น้ำลง” แล้ว

โดยรัฐบาลมีงบช่วยส่งเสริม SME ให้ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในระหว่างที่ต้องทำงานจากที่บ้าน (Social Distancing) แล้วยังช่วยให้เกิด Digital Transformation ในระยะยาว

สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือคนงาน (Upskill and Reskill) เพราะเป็นเวลาดีที่สุดที่จะเรียนรู้พัฒนาตนเอง

โดยเฉพาะหากไม่ต้องห่วงเรื่องจะโดนไล่ออก

ทางทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลกำลังพิจารณาแนวทางกู้เงินเพิ่ม 2 แสนล้านบาท เพื่อออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจชุดที่ 3

มาตรการทั้งสามชุดจะมีมูลค่ารวมประมาณ4-4.5% ของ GDP ซึ่งไม่น้อย

เพียงแต่ในวิกฤต แม้ทำทั้งหมดนี้ก็อาจยัง “ไม่พอ”

หากดูจากประมาณการเศรษฐกิจของ ธปท. ที่มอง GDP ไทยอยู่ที่ -5.3%

หนักกว่าสิงคโปร์ (-1% ถึง -4%) และมาเลเซีย (ไม่ติดลบ)

มาตรการทางการคลังต้องไป “ถูกที่” เพื่อช่วยเหลือคนที่เปราะบางที่สุด ต้องไป “ถูกเวลา” คือช่วยเขาทันและนานพอให้พ้นระยะวิกฤต

นอกจากนี้ควรมองข้ามช็อตสำหรับลงทุนเพื่ออนาคตในยุคหลังโควิด-19 ด้วย ดังเช่นสิงคโปร์

ในยามเผชิญสงครามเศรษฐกิจ คุณภาพอย่างเดียวอาจไม่พอ การใช้กระสุนการคลังที่ “ถูกขนาด” และทันท่วงที

เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image