คุณภาพคือความอยู่รอด : ต้องพึ่งตนเองมากที่สุด : โดย วิฑูรย์ สิมะโชคดี

คุณภาพคือความอยู่รอด : ต้องพึ่งตนเองมากที่สุด : โดย วิฑูรย์ สิมะโชคดี

คุณภาพคือความอยู่รอด : ต้องพึ่งตนเองมากที่สุด : โดย วิฑูรย์ สิมะโชคดี

สถานการณ์ โควิด-19 กำลังสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในเรื่องของ “ห่วงโซ่อุปทาน” ของโลก (Global Supply Chain) จากเดิมที่สามารถติดต่อกันได้เร็วทั่วโลก อุตสาหกรรมส่วนใหญ่จึงพึ่งพาการผลิตจากจีนเป็นสำคัญ

แต่การระบาดของเชื้อไวรัสครั้งนี้ส่งผลให้การผลิตสินค้าและการส่งออกของจีนชะลอตัว ซึ่งกระทบต่อภาคการผลิตของหลายประเทศอย่างต่อเนื่อง ผู้ผลิตในหลายประเทศจึงต้องเร่งหาแนวทางลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาห่วงโซ่อุปทานจากจีน

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้เปิดเผยเรื่องของการพึ่งพาจีนในห่วงโซ่อุปทานนี้ว่า “อุตสาหกรรมประเทศไทยกำลังถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ ก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการผลิตด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อทดแทนอุตสาหกรรมเดิม และการผลิตสินค้า Mass Product กำลังเข้าสู่วงจรถดถอย เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 กระทบต่อทุกภาคส่วน ทำให้การลงทุนภาคเอกชนต้องปรับแผนธุรกิจใหม่”

Advertisement

ในสถานการณ์ที่ผู้คนต้องอยู่ห่างกันและ “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” นี้ ทำให้ความจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี ระบบอัตโนมัติ และการปรับเปลี่ยนองค์กรสู่ระบบดิจิทัล (Digital Technology) ต้องดำเนินการเร็วขึ้น

การระบาดของเชื้อไวรัสครั้งนี้ได้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในหลายธุรกิจ โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่มีแรงกดดันให้นำเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และระบบอัตโนมัติมาใช้มากขึ้นและเร็วขึ้นด้วย จนเป็น New Normal ที่สร้างมาตรฐานใหม่สำหรับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ที่มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีนำหน้า เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดโลกในอนาคตที่เปลี่ยนไป

ประธานสภาอุตสาหกรรมยังได้ย้ำว่า “ปัจจัยขับเคลื่อนของ New Normal ต่อทิศทางของภาคอุตสาหกรรมไทย มี 4 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ (1) ห่วงโซ่การผลิตที่สั้นลง (2) ธุรกิจปรับสู่อีคอมเมิร์ซ (3) การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภาคอุตสาหกรรม และ (4) การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี”

Advertisement

อุตสาหกรรมที่มองเห็นภาพชัดเจนในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงซัพพลายเชนของโลกในครั้งนี้ ก็คือ “อุตสาหกรรมยานยนต์” เพราะมีฐานการผลิตชิ้นส่วนอะไหล่กระจายอยู่ในหลายประเทศ โดยเฉพาะจากจีน

ปัจจุบันบริษัทผลิตรถยนต์รายใหญ่ของโลกหลายบริษัทใช้ไทยเป็นฐานผลิตหลัก เพราะแรงงานไทยมีฝีมือ และมีความสามารถสูง จึงดึงดูดให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในไทยเพิ่มมากขึ้น โดยยังหาชิ้นส่วนอะไหล่จากประเทศต่างๆ ซึ่งรัฐบาลไทยให้การสนับสนุนเต็มที่ รวมทั้งตลาดอาเซียนก็มีกำลังซื้อสูงขึ้น แต่ปัจจุบันต้องสะดุดเพราะสถานการณ์โควิด-19 ทำให้การส่งมอบชิ้นส่วนอะไหล่ระหว่างประเทศมีปัญหาเนื่องจากการต้องหยุดผลิตชั่วคราว

สถานการณ์โควิดครั้งนี้ ทำให้ผู้ผลิตรายใหญ่มีนโยบายย้ายฐานการผลิตออกจากจีน ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ (1) การย้ายกลับไปประเทศแม่ (เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐ) ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชิ้นส่วนหรือสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีสูงในการผลิต เช่น (ประเภทที่ใช้หุ่นยนต์ในสายการผลิตทั้งหมด) และ (2) การย้ายเข้าไปลงทุนในประเทศที่มีฐานการลงทุนอยู่แล้ว (เช่น ประเทศในอาเซียน)

วันนี้ ยุทธศาสตร์เรื่อง “ห่วงโซ่อุปทาน” จึงต้องปรับเปลี่ยนไปให้ทันกับยุคสมัย New Normal ที่มีคุณภาพ โดยต้องพยายามหันมาพึ่งตนเองให้มากที่สุด ครับผม!

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image