ตัวเลขอภินิหาร ตัวเลขเศรษฐกิจ กับระเบิดเวลา

ตัวเลขอภินิหาร ตัวเลขเศรษฐกิจ กับระเบิดเวลา

ตัวเลขอภินิหาร ตัวเลขเศรษฐกิจ กับระเบิดเวลา

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แถลงตัวเลข ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไตรมาสที่ 1/2563 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

ว่าอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 1.8

แม้จะเป็นตัวเลข “ติดลบ”

Advertisement

แต่ก็ยังเป็นตัวเลขที่มีผู้ตั้งคำถาม

เป็นคำถามที่เกิดจากความแตกต่างระหว่างประสบการณ์จริงกับตัวเลข

หรือแม้กระทั่งจากตัวเลขที่แถลงเอง

Advertisement

เพราะด้านหนึ่ง การผลิตสินค้าอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 2.7

ขณะที่ภาคบริการลดลงร้อยละ 1.1 ตามการลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยว

การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาลลดลงร้อยละ 2.7

การลงทุนลดลงร้อยละ 6.5

การส่งออกลดลงร้อยละ 6.7

และการนำเข้าสินค้าและบริการลดลงร้อยละ 2.5

มีเพียงการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชน ขยายตัวร้อยละ 3.0

หลังปรับปัจจัยฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1/2563 ลดลงร้อยละ 2.2

ข้อสงสัยก็คือ ในขณะที่ตัวเลขอื่นๆ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

โดยเฉพาะการส่งออกและการลงทุน รวมไปถึงการใช้จ่ายของรัฐบาล ที่มีสัดส่วนกว่าร้อยละ 70-80 ในจีดีพี

ตัวเลขบวกจำนวนเดียวจากการบริโภคภาคเอกชน สามารถฉุดดึงให้เศรษฐกิจ “ติดลบน้อย” ได้ถึงระดับนี้จริงหรือ

หรือในสังคมที่มี “อภินิหารทางกฎหมาย” แล้ว

ยังสามารถสรรค์สร้าง “อภินิหารทางตัวเลขเศรษฐกิจ” ขึ้นมาได้อีก

คําถามต่อมาก็คือ

เมื่อตัวเลขทางเศรษฐกิจไตรมาสที่ 1 นั้น “ดูดี”

รัฐบาลจะเตรียมใจคนส่วนใหญ่อย่างไร ไม่ให้เกิดอาการ “ช็อก” เมื่อประสบกับ “ของจริง” ในไตรมาสที่ 2

ที่ทุกสำนักทุกสถาบันพยากรณ์เศรษฐกิจ เห็นตรงกันว่า จะหนักหนาสาหัสกว่าไตรมาสที่ผ่านมาหลายเท่า

เพราะโดยการแพร่กระจายของโรคระบาดก็ดี โดยมาตรการของรัฐบาลก็ดี หรือโดยสถานการณ์ความตกต่ำโดยรวมของโลกก็ดี

ความเสื่อมทรุดทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

ยังไม่นับ “ระเบิดเวลา” ที่รออยู่ข้างหน้า

ในไตรมาสที่ 3 และ 4 ของปี

ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ นักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำให้ข้อมูลไว้ว่า

เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการ “พักหนี้” ที่สถาบันการเงินให้กับลูกหนี้ในปลายเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม

ปริมาณหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยจะทบกันเป็นจำนวนมหาศาล

หากไม่ต้องการให้เกิดสภาพลูกหนี้ล้มละลาย หรือเอ็นพีแอลของสถาบันการเงินพุ่งขึ้นอย่างมหาศาล

ในขณะที่ระดับ “ความอึด” ของธุรกิจเอสเอ็มอีมีเพียง 1-2 เดือน

หรือแม้แต่ธุรกิจขนาดใหญ่ก็ “ดำน้ำ” ไปได้อย่างมากเพียง 5 เดือน

จึงต้องเร่ง “คืนความปกติ” เพื่อกระตุ้นให้ชีพจรเศรษฐกิจกลับมาเต้นได้ดังเดิม

หรืออย่างน้อยคือใกล้เคียงกับของเดิม

ทั้งหมดนี้ต้องใช้ข้อมูล นโยบาย และมาตรการที่ถูกต้อง

ไม่สามารถพึ่งพิงปาฏิหาริย์

หรือความจริงใจที่ไหนได้

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image