คุณภาพคือความอยู่รอด : สุขภาพ-คุณภาพ-ความปลอดภัย : โดย วิฑูรย์ สิมะโชคดี

คุณภาพคือความอยู่รอด : สุขภาพ-คุณภาพ-ความปลอดภัย : โดย วิฑูรย์ สิมะโชคดี

คุณภาพคือความอยู่รอด : สุขภาพ-คุณภาพ-ความปลอดภัย : โดย วิฑูรย์ สิมะโชคดี

เราทุกคนในวันนี้ ไม่เพียงแต่ต้องการ “อาหารที่มีคุณภาพ” เท่านั้น แต่พวกเรายังต้องการ “อาหารที่ปลอดภัย” ด้วย คือ เมื่อทานแล้ว นอกจากอร่อยถูกปากแล้ว ยังจะต้องไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือชีวิตด้วย ในประเด็นของอาหารหรือของกินนี้ ความปลอดภัยจึงมีความสำคัญมากกว่าคุณภาพ

แต่ปัญหาว่าอะไรมีความสำคัญมากกว่ากัน ระหว่างคำว่า “สุขภาพ-คุณภาพ-ความปลอดภัย” จึงยังคงมีประเด็นต้องถกแถลงกันต่อไป เพราะทั้ง 3 คำนี้ล้วนแต่มีความสำคัญต่อ “การดำรงชีวิต” และ “ชีวิต” ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว มีแต่จะต้องทำให้ทั้ง 3 เรื่องนี้ต่อยอดเสริมกันแบบ “องค์รวม” คือหรือแยกกันคิดแยกกันทำ

ดังเห็นได้จาก “อุตสาหกรรมอาหาร” ที่มีการสร้าง “มูลค่าเพิ่ม” ในทุกๆ ขั้นตอน ตั้งแต่การคัดเลือกผลไม้ที่เป็นวัตถุดิบ (ผลผลิตจากการเกษตร) เข้าสู่กระบวนการผลิต (แปรรูป) จนบรรจุเป็นผลไม้กระป๋องและวางจำหน่าย ทุกขั้นตอนมีคุณภาพถูกต้องครบถ้วนตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ ซึ่งทำให้อาหารกระป๋องนั้นมีคุณภาพ แต่จะปลอดภัยต่อการบริโภคกี่มากน้อย อาจจะยังมีปัญหาอยู่ (ทั้งที่ผู้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า เมื่อมีคุณภาพ ก็มีความปลอดภัย ซึ่งก็ควรจะเป็นเช่นนั้น แต่ไม่จริงเสมอไป)

Advertisement

วันนี้ประเด็นเรื่อง “ความปลอดภัยของอาหาร” หรือ “อาหารปลอดภัย” (Food Safety) จึงเป็นเรื่องที่มีการกล่าวขานกันมากขึ้นทุกที

เรื่องของ “สุขภาพ” คุณภาพ-ความปลอดภัย จึงมีประเด็นที่จะต้องพูดต้องพิจารณากันอีกมาก

แต่วันนี้ ผมจะขอพูดถึง “ความปลอดภัยในการทำงาน” หรือ “การทำงานอย่างปลอดภัย” ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ “วิสัยทัศน์แห่งความปลอดภัย” ที่มีความสำคัญยิ่งต่อ “คุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน” ของคนที่ทำงาน ไม่ว่าจะอยู่ในโรงงาน หรือตลาด ห้างร้าน สำนักงานต่างๆ

หลายๆ องค์กรที่เกี่ยวข้องกับ “ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม” จึงได้หยิบยกเอาหลักการของ “VISION ZERO” มาเป็นวิสัยทัศน์ของหน่วยงาน

“VISION ZERO” เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในการทำงานของทุกองค์กร โดยที่ทุกคนสามารถที่จะร่วมกันทำให้อุบัติเหตุลดลงไปสู่ความเป็นศูนย์ (อุบัติเหตุเป็นศูนย์ หรือ Zero Accident คือ ไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นเลย) ด้วยการเปลี่ยน “ทัศนคติ” ให้เป็น “วิสัยทัศน์” เพื่อที่จะประพฤติปฏิบัติจนเป็น “วัฒนธรรมแห่งความปลอดภัย”

เรื่องของ “VISION ZERO” นี้ จะต้องเริ่มจาก “ผู้นำ” ขององค์กรเป็นหลัก เพราะภาวะผู้นำ จะเป็นตัวชี้ขาดถึงความสำเร็จหรือความล้มเหลวในเรื่องของความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในองค์กรนั้นๆ

VISION ZERO จึงเน้นในความเป็น “ผู้นำ” ซึ่งสามารถยึดโยงและกระตุ้นจูงใจให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในในการสร้างพฤติกรรมที่ปลอดภัยในการทำงาน จนกลายเป็น “วัฒนธรรมแห่งความปลอดภัย” ที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย “อุบัติเหตุเป็นศูนย์” ครับผม !

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image