คอลัมน์หน้า 3 : น้อมใจ ศึกษา เรียนรู้ จาก นักเรียนเลว ผ่าน แถลงการณ์

คอลัมน์หน้า 3 : น้อมใจ ศึกษา เรียนรู้ จาก นักเรียนเลว ผ่าน แถลงการณ์

น้อมใจ ศึกษา
เรียนรู้ จาก นักเรียนเลว
ผ่าน แถลงการณ์

หากถามว่าความยอดเยี่ยมจากการชุมนุมของ “นักเรียนเลว” เมื่อวันเสาร์ที่ 5 กันยายน ณ บริเวณข้างกระทรวงศึกษาธิการอยู่ตรงไหน

บางคนอาจมองไปยังการดีเบต

บางคนอาจมองไปยังพัฒนาการเติบใหญ่ภายในเครือข่ายของ “นักเรียนเลว” ที่แพร่กระจายออกไปถึง 50 โรงเรียน

Advertisement

บางคนอาจตื่นเต้นไปกับการชูหนังสือของ ธงชัย วินิจจะกูล

อันนำไปสู่การพาดหัวตัวไม้ของสื่อบางฉบับซึ่งเน้นอย่างหนักแน่นและจริงจังว่าจะนำไปสู่การ “รื้อประวัติศาสตร์ไทย”

กระนั้น มีจำนวนไม่น้อยที่ตื่นเต้นกับ “แถลงการณ์”

Advertisement

แถลงการณ์อันสร้างความระทึกใจ ไม่ว่าจะเป็นการเกริ่นโหมโรง ไม่ว่าจะเป็นการร่ายเรียง 3 ข้อเรียกร้อง 1 เงื่อนไข ไม่ว่าจะเป็นประโยคจบ

ขอให้อ่าน 3 ข้อเรียกร้อง

1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการต้องทำให้โรงเรียนเป็นสถานที่ปลอดภัย ไม่ปล่อยให้นักเรียนถูกคุกคามจากบุคลากรทางการศึกษา ครูและตำรวจ

เพียงเพราะนักเรียนใช้สิทธิและเสรีภาพในฐานะประชาชนคนหนึ่งตามระบอบประชาธิปไตย

2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการต้องยกเลิกประกาศ กฎหรือข้อบังคับที่มีเนื้อหาล้าหลัง ไม่สอดรับกับหลักสิทธิมนุษยชนสากลในปัจจุบัน

ซึ่งได้กลายเป็นฐานอำนาจให้ครูและบุคลากรทางการศึกษา

ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของนักเรียนมาโดยตลอด และต้องออกมาตรการที่สามารถประกันสิทธิและเสรีภาพของนักเรียน

ไม่ให้ถูกละเมิดต่อไปในอนาคต

3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการต้องปฏิรูปการศึกษาไทยทั้งระบบ เพื่อให้ปัญหาที่หมักหมมมาอย่างยาวนานได้รับการแก้ไขอย่างแท้จริง

และหากไม่สามารถทำได้ก็สมควร “ลาออก”

เป็นธรรมดาที่ไม่ว่าจะมองจากด้านของ “ไทยภักดี” ไม่ว่าจะมองจากด้านของ “ทิศทางไทย” ไม่ว่าจะมองจากด้านของ “ผู้อาวุโส”

ยากยิ่งจะเชื่อว่าเป็นการเขียนโดย “นักเรียน”

เพราะแต่ละถ้อยคำอันเป็นเงาสะท้อนในทางความคิดผ่าน “แถลงการณ์” ดำเนินไปอย่างเป็นระบบและเปี่ยมด้วยความเข้าใจระดับนี้

ยากยิ่งที่ “นักเรียน” จะทำได้

เช่นเดียวกับ การจัดวางกระบวนการชุมนุมและบริหารการชุมนุมได้โดยราบรื่นย่อมเป็นเรื่องของมืออาชีพ เป็นเรื่องของผู้จัดเจน

ยากยิ่งที่จะเป็นความสำเร็จของ “นักเรียนเลว”

นี่คือปราการด่านแรกที่บรรดา “ผู้ใหญ่” ติดอยู่ในความเชื่อเดิม ความเคยชินเดิม แม้บรรดา “ผู้เยาว์” จะส่งสัญญาณเตือนก็ยังไม่ยอมตื่น

ไม่ว่าเมื่อมองไปยัง “นักเรียน” ไม่ว่าเมื่อมองไปยัง “เยาวชน”

ใครก็ตามที่นำเอาข้อเรียกร้องของ “เยาวชนปลดแอก” มาวางเรียงเคียงข้างกับข้อเรียกร้องของ “นักเรียนเลว” ก็จะสัมผัสได้ในความสัมพันธ์

เพียงแต่ “เยาวชนปลดแอก” เน้นระดับ “ประเทศ”

ขณะที่ “นักเรียนเลว” เน้นให้ตระหนักถึงสภาวะแห่ง “เผด็จการ” ที่กดทับอยู่ในระบบทางการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นครู ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน

หนักหนาและสาหัสถ้วนหน้าทุกหย่อมย่าน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image