สัมพันธภาพจีน-สหรัฐ รัฐบาล โจ ไบเดน

เป็นที่ทราบดีของสังคมว่า ว่าที่ประธานาธิบดีโจ ไบเดน คือ
ผู้ที่โลดแล่นอยู่บนถนนการเมืองการทูตมาชั่วชีวิต และเป็นผู้เชี่ยวชาญอาวุโส เรื่องจีนŽ เคยพบกับผู้นำสูงสุดของจีนรวมทั้งเติ้ง เสี่ยวผิง และประธานาธิบดีสี จิ้นผิงด้วย

ถือว่ารู้ใจผู้นำจีนมากที่สุดในบรรดานักการเมืองสหรัฐ

โจ ไบเดนมองจีนคือคู่แข่งที่จริงจัง รัสเซียคือผู้คุกคามที่แท้จริง

จึงคาดว่า ความขัดแย้งจีน-สหรัฐ อาจมีแนวโน้มที่จะบรรเทาลงบ้างเท่าที่จำเป็น

Advertisement

โจ ไบเดนโลดแล่นอยู่บนเส้นทางการทูตมาโดยตลอด เปี่ยมด้วยประสบการณ์ด้านต่างประเทศ มากด้วยบารมีทั้งในและต่างประเทศ

หลังการปฏิรูปเปิดประเทศของจีน ไบเดนเป็นผู้ที่ได้พบกับผู้นำของจีนมากที่สุดคนหนึ่ง เฉพาะประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ไบเดนได้พบหลายครั้ง

หากมิใช่เป็นผู้ที่ ใกล้ชิดจีนŽ

Advertisement

แต่เป็นผู้เชี่ยวชาญอาวุโสเกี่ยวกับ เรื่องจีนŽ

ไบเดนมิได้มองจีนคือศัตรู

หากจะสรุปบทบาทของไบเดน ในประการเกี่ยวกับความสัมพันธ์ต่อสองฝั่งช่องแคบของจีน

ไบเดนคือผู้อาวุโส 1 เดียวในบรรดานักการเมืองอเมริกัน

จากรายงานของนิวยอร์กไทม์ หลังปี 2011 ภายในระยะเวลา เพียง 18 เดือน ไบเดนได้พบกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิงอย่างน้อย 8 ครั้งŽ

ทว่า ในขณะนั้น ทั้งสี จิ้นผิง และโจ ไบเดนล้วนมีตำแหน่งเป็นรองประธานาธิบดี จึงถือเป็นการเจริญไมตรีมาก่อน และหวังว่าไมตรีนั้นยังคงดำรงอยู่และน่าจะดำเนินต่อไป

การพบปะของสองผู้นำ มีเพียงครั้งเดียวที่มีล่ามติดตามคือการเดินทางไปมณฑลเสฉวน ระหว่างการเดินทางทั้งสองได้รับประทานอาหารร่วมกัน เวลาที่อยู่ด้วยกันเกินกว่า 25 ชั่วโมง

และระหว่างการเดินเล่น วิสาสะ ได้ผ่านโรงเรียนชนบทแห่งหนึ่ง ทั้งคู่ได้เข้าไปเล่นบาสเกตบอลเป็นเวลาเพียงน้อยนิด แต่ได้บรรยากาศและเจริญไมตรีส่วนตัว

เป็นสุดยอดของการทูต

จึงไม่แปลกที่ Daniel Russel ที่ปรึกษาไบเดนกล่าวว่า ไบเดนสร้างสัมพันธ์ส่วนตัวโดยพลัน เป็นการคลายความกดดัน และรังสรรค์ความสุขให้แก่สี จิ้นผิง เป็นงานที่ไบเดนถนัดŽ

กรณีย่อมต้องถือว่า ไบเดนตีบทแตก เล่นได้ดี ดีที่เข้าใจอุปนิสัยของสี จิ้นผิง ที่ไม่นิยมพิธีรีตอง หรือการจัดฉากสร้างภาพ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของไบเดนที่เรียกว่า Strategic SympathyŽ คือ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา อันหมายถึงรู้จักคิดถึงความรู้สึกของผู้อื่น

อีก 1 เหตุการณ์ที่น่าสนใจซึ่งเกิดขึ้นในปี 2011 เช่นกัน

การเยือนจีนของ โจ ไบเดนŽ รองประธานาธิบดีสหรัฐ ระหว่างวันที่ 17-22 สิงหาคมนั้น ได้ทำให้ร้านอาหารแห่งหนึ่งในปักกิ่งชื่อ เหยาจี้Ž โด่งดังมากเสมือน โจชวนชิมŽ

ร้านนี้อยู่ใกล้กับอาคาร Drum TowerŽ ในใจกลางกรุงปักกิ่ง

อาหารหลักคือผัดตับ ซึ่งมีตับวัว หมู เป็ด ไก่ ห่าน

ส่วนเมนูรองได้แก่ บะหมี่ซอสหมูสับ ซาลาเปา สลัดผัก

วันที่ 18 สิงหาคม ไบเดนกับหลานสาวสองคน และ
แกรี ล็อค เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศจีนพร้อมด้วยล่ามสถานทูตรวม 5 คน ได้ไปรับประทานอาหารมื้อเที่ยงที่ร้านดังกล่าว

ไบเดนและคณะสั่งบะหมี่ซอสหมูสับ ซาลาเปา สลัดผัก
เหตุที่สั่งบะหมี่ซอสหมูสับ เพราะดูคล้ายกับสปาเกตตี ที่แตกต่างกันคือ บะหมี่เขาใส่ชามใบใหญ่จนพูนมีน้ำซอสขลุกขลิก มีรสเผ็ดและเปรี้ยวหวานนิดหน่อย

คนจีนเรียกกันว่า อาหารชุดรองประธานาธิบดีŽ

รุ่งขึ้นวันที่ 19 สิงหาคม คนจีนในปักกิ่งเป็นจำนวนมากไปเข้าแถวรอรับประทานอาหารชุด

อดีต ผัดตับŽ คือ Recommended food เป็นอาหารยอดฮิต

หลังจากนั้น บะหมี่ซอสหมูสับŽ คือ Best seller ยอดขายสูงกว่า ผัดตับŽ

ร้านนี้ขายตั้งแต่บรรพบุรุษอย่างต่อเนื่องเป็นเวลาหลายสิบปี

โด่งดังอยู่แล้วจึงโด่งดังมากขึ้น

โจ ไบเดนจึงกลายเป็นพรีเซ็นเตอร์กิตติมศักดิ์ไปโดยปริยาย

เริ่มแรกสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐได้เตรียมจองภัตตาคารสุดหรูในกรุงปักกิ่ง เพื่อต้อนรับคณะของรองประธานาธิบดี แต่เนื่องจากเวลาจำกัด และอีกประการหนึ่ง อุปนิสัยของไบเดนไม่นิยมความหรูหรา ชอบใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย

ขนาดที่ร้านเตรียมห้องพิเศษให้ต่างหาก ก็ยังถูกปฏิเสธ เพราะไบเดนต้องการนั่งรวมกับประชาชนทั่วไป ไม่อยากให้มีอะไรพิเศษไปกว่าผู้อื่น

เพราะเขาเป็นรองประธานาธิบดีของประเทศที่อุดมด้วยเสรีภาพ และความเสมอภาค เขาจึงไม่ต้องการให้เกิดช่องว่างหรือความแตกต่างระหว่างนักการเมืองกับประชาชน

ย้อนมองอดีตเมื่อปี 1979 ขณะที่การสถาปนาสัมพันธ์การทูตระหว่างจีน-สหรัฐยังไม่ครบ 1 ปี โจ ไบเดนไปเยือนประเทศจีนอย่างเป็นทางการในฐานะวุฒิสมาชิกรัฐเดลาแวร์ และได้ร่วมประชุมกับเติ้ง เสี่ยวผิงเป็นจำนวนหลายครั้ง

ปลายทศวรรษที่ 90 โจ ไบเดนมีบทบาทโดดเด่นยิ่งในคณะกรรมาธิการต่างประเทศของวุฒิสภา และดำรงตำแหน่งประธานกรรมาธิการต่างประเทศ โดยได้อยู่ในเหตุการณ์การเจรจาเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) ของประเทศจีน

ระยะเวลา 30 ปี การเปลี่ยนถ่ายอำนาจของผู้นำจีน ล้วนเป็นที่ประจักษ์ต่อโจ ไบเดน

จ ากการที่ไบเดนได้มีส่วนรู้เห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ของจีนที่ผ่านมา ดูประหนึ่งว่า ไบเดนคือนักการเมืองที่ใกล้ชิดกับจีนแต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่

ในช่วงการหาเสียงเลือกตั้ง ไบเดนถึงขนาดขนานนามให้สี จิ้นผิง ว่า วายร้ายŽ และให้คำมั่นต่อผู้ใช้สิทธิว่าจะต้องแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนจีน โดยเฉพาะสิทธิของคนซินเจียง

จะเห็นได้ว่า เรื่องราวเกี่ยวกับจีนนั้น ไบเดนอุดมด้วยประสบการณ์ หาใช้วลีใกล้ชิดจีน หรือต่อต้านจีนมาอธิบายได้ไม่ เพราะเขาคือผู้เชี่ยวชาญเรื่องจีนและรู้จริง

ส่วนยุทธศาสตร์เอาใจเขามาใส่ใจเรานั้น คือคติพจน์แกนหลักทางการทูตของไบเดน

แม้ไบเดนยังละอ่อนในการวางแผนยุทธศาสตร์ทางการทูต รวมทั้งการทหาร เศรษฐกิจ

แต่ไบเดนก็มีความเห็นว่า การที่ศึกษานิสัยใจคอและทำความเข้าใจเกี่ยวกับผู้นำต่างประเทศนั้น มีความสำคัญเท่าเทียมกัน

ไบเดนจึงกล่าวกับคนสนิทว่า ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่า ผู้นำประเทศอื่น เขาต้องการอะไร เพราะเป็นประเด็นสำคัญในการเจรจาราชการงานเมือง

ครั้นเมื่อสมัครเป็นคู่แข่งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในรอบไพรมารีโหวต เขาได้เขียนบทความเกี่ยวกับด้านการเมืองการทูตลงในนิตยสาร ธุรกรรมการทูตŽ โดยตั้งชื่อเรื่องว่า เหตุใดสหรัฐจะต้องกลับมาเป็นผู้นำอีกวาระหนึ่ง อันเกี่ยวกับการกอบกู้นโยบายต่างประเทศสหรัฐหลังสมัยทรัมป์Ž (Why America Must Lead Again: Rescuing U.S. Foreign Policy After Trump)

ทั้งนี้ ไบเดนได้อรรถาธิบายเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การทูตของตน ประเด็นสำคัญอยูที่แนวคิดหรือตรรกะทางการทูตของตนกับทรัมป์มีความแตกต่างกันมาก จึงมีอยู่ทางเดียวที่จะให้สหรัฐมาเป็นผู้นำโลกคือให้ไบเดนชนะการเลือกตั้ง ถ้อยคำข้อความของไบเดน ไม่ปรากฏเกินเลยความเป็นจริง เพราะนโยบายต่างประเทศถือเป็นแกนหลักของนโยบายการบริหารของไบเดน

โครงสร้างหลักทางการทูตของโจ ไบเดน มี 3 ประการ

1.ฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตยในประเทศ และระเบียบสากล

2.ดำเนินนโยบายการทูตที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของชนชั้นกลาง

3.นำพาประชาคมโลกเข้าสู่โต๊ะประชุมเพื่อหารือตามวาระ โดยให้ความสำคัญแก่

ยุทธศาสตร์เอาใจเขามาใส่ใจเราŽ

เมื่อเริ่มต้นบทความไบเดนก็เข้าสู่ประเด็นหลักโดยพลัน โดยอ้างอิงถึงเหตุการณ์หลังจากที่โอบามาและเขาพ้นวาระการดำรงตำแหน่งเมื่อเดือนมกราคม 2017 ไม่ว่าจะมองในมุมใด ความเชื่อถือของสหรัฐกำลังถดถอย จนกระทั่งพันธมิตรก็ถูกทอดทิ้ง

จึงเป็นเหตุให้ลัทธิเสรีนิยมนับวันตกต่ำ เขาระบุว่าในสมัยแรกของเขา ตั้งใจจะจัดการประชุมสุดยอดเกี่ยวกับ
ประชาธิปไตยโลกาภิวัตน์ เพื่อปลุกเร้าให้ประชาธิปไตยของทุกประเทศทั่วโลกฟื้นคืนมาอีกวาระหนึ่ง ทั้งนี้ ก็เพื่อรวมพลังประชาธิปไตยทั่วโลกให้เข้าด้วยกัน

ข้อที่ 2 คือกำหนดนโยบายต่างประเทศที่มีประโยชน์ต่อชนชั้นกลาง โดยอาศัยยุทธศาสตร์พื้นฐานหลักในประเทศ
ไบเดนเห็นว่า เพื่อให้บรรลุความปลอดภัยของประเทศจำต้องอาศัยปัจจัยการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่ ซึ่งหมายความรวมทั้งทรัพยากรทั้งภายในและภายนอกประเทศ และมิได้หมายถึงทรัพยากรทางการทหารเพียงอย่างเดียว ไบเดนจึงสรุปว่า ความปลอดภัยทางเศรษฐกิจก็คือความปลอดภัยของประเทศ

อันนโยบายการค้าต้องเริ่มในประเทศก่อน โดยสร้างทรัพยากรบุคคลระดับกลางให้เข้มแข็ง

ไม่ว่าชาติพันธุ์ใด ไม่ว่าเพศสภาพใด ไม่ว่าศาสนาใด ไม่ว่าเพศวิถีใด หรือบุคคลด้อยความสามารถ ล้วนได้รับประโยชน์จากการนั้น

ไบเดนได้ระบุชัดเจนในประเด็นพลังงานสะอาด Quantum Computing ปัญญาประดิษฐ์ ระบบ 5G รถไฟความเร็วสูง ตลอดจนปัญหาโรคมะเร็ง

สหรัฐไม่มีเหตุผลที่จะต้องล้าหลังกว่าประเทศจีนหรือประเทศอื่นใด

(อัน Quantum Computing คือการใช้อะตอมมาแทนแผงวงจรของระบบคอมพิวเตอร์)

ไบเดนเน้นว่าสหรัฐจะต้องทำการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดีที่สุด ส่งไปจำหน่ายทั่วโลก

กรณีเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า เป็นการชูธงเศรษฐกิจเสรีโลกาภิวัตน์อย่างต่อเนื่อง

ข้อ 3 คือนโยบายต่างประเทศของไบเดน จะต้องให้สหรัฐกลับเข้าสู่โต๊ะการเจรจาอีกวาระ 1 และโน้มน้าวให้เกิดความร่วมมือระหว่างพันธมิตร สำหรับความเคลื่อนไหวทางกองทัพจักต้องมีการปรับปรุง ควรต้องละเว้นการทำศึกขนาดใหญ่

สำหรับนโยบายที่มีต่อประเทศจีน ไบเดนได้เน้นย้ำในหลายโอกาสว่า ประเทศจีนมิใช่ศัตรู มิใช่คู่อาฆาต หากเป็นคู่แข่งที่จริงจัง เพราะว่าประเทศจีนมีแนวโน้มสูงที่จะเข้าแทนที่สหรัฐ

แต่มิใช่เป็นการผลักดันให้เกิดผลประโยชน์และค่าตอบแทนเหมือนกัน หรือทำการจัดระเบียบสากลขึ้นใหม่

ไบเดนยังมองว่า ประเทศจีนคือผู้ท้าชิงวิสามัญ

ฉะนั้น การที่สหรัฐรวมกับพันธมิตรเป็น 1 เดียว จึงถือเป็นวิธีที่มีประโยชน์ต่อการท้าชิง

ไบเดนเชื่อว่า พลันที่สหรัฐรวมตัวกับบรรดาประเทศประชาธิปไตย ก็จะมีพลังทวีคูณ ประเทศจีนคงไม่กล้า มองข้ามพลังเศรษฐกิจซึ่งเกินกว่าครึ่งโลก

บัดนี้ แม้ไบเดนยังมิได้กำหนดที่จะให้ผู้ใดเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แต่แหล่งข่าวที่น่าเชื่อได้กล่าวว่า มีคนโปรดหลายคนอยู่แล้ว อาทิ

1 Susan Rice 1 Antony Blinken 1 Chris Coons 1 Chris Murphy 1 Samantha Power

บุคคลทั้ง 5 แม้ดูผิวเผินจากภายนอก ล้วนดีกว่าอดีต
ผู้อำนวยการซีไอเอ หรือไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ดีกว่าเพราะลักษณ์อันสุขุมไม่ผลีผลามวู่วาม

และแม้ดูจากภายนอกละมุนละไม แต่เนื้อแท้ลึกซึ้งด้วยคตินิยมในด้านลัทธิเสรีมีความเข้มข้นมากกว่า ค่ายทรัมป์Ž จึงอันตราย

ถ้าหากเป็นจริงตามที่ร่ำลือ คนโปรดของไบเดน ไม่ว่า
ผู้หนึ่งผู้ใดก็คือเนื้อเดียวกัน

ความสัมพันธ์ระหว่างจีน-สหรัฐก็คงมีแต่ถอยหลัง หาความก้าวหน้าได้ไม่

ก็เพราะคนโปรดของไบเดน ล้วนมีพฤติกรรมเสมือน ไก่ชนŽ เช่น

Susan RiceŽ เคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาความมั่นคงในสมัยรัฐบาลโอบามา เธอคือผู้ที่ผลักดันตัวยงในการนำสหรัฐเข้าสู่สมรภูมิลิเบียและซีเรีย จึงถูกมองว่าเป็นผู้สนันสนุน ฝ่ายเหยี่ยวเสรีŽ คือสนับสนุนโดยการอ้างอิงสิทธิมนุษยชนเข้าแทรกแซงกิจการของประเทศอื่น

พลันที่รัฐบาลกาดาฟีของลิเบียล้มลง เป็นเหตุให้ผู้ลี้ภัยแอฟริกาต้องทะลักเข้ายุโรปเป็นจำนวนมาก กลายเป็นมหันตภัยแห่งมนุษยธรรม ผู้อพยพจำนวนมากต้องตายเป็นเบือบนถนน

เหตุการณ์ดังกล่าว แม้โอบามาเองก็ยอมรับว่าเป็นความผิดอย่างมหันต์

คนโปรดอีก 1 คือ Samantha Power คืออดีตกรรมาธิการคณะกรรมการความมั่นคงประเทศสมัยโอบามา ซึ่งเป็นคนที่หลงใหลได้ปลื้มกับคำว่ามนุษยชนอย่างยิ่ง ก็เพราะคำนี้จึงทำให้เกิดความชังต่อประเทศจีน จนมองจีนว่าเป็นศัตรู และมีการเสนอให้ประเทศจีนต้องแสดงความรับผิดต่อการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่

ส่วนอีก 3 แม้ดูอ่อนโยน สุขุมคัมภีรภาพ แต่ล้วนเป็นผู้สนับสนุนให้สหรัฐต้องทำการสกัดมิให้ประเทศจีนเติบโตทางเศรษฐกิจ เพียงแต่วิธีการสกัดจีนแตกต่างกับโดนัลด์ ทรัมป์เท่านั้น
ส่วนโดนัลด์ ทรัมป์นอกจากไม่เอาประเทศพันธมิตร แม้กระทั่งแคนาดา ซึ่งถือเป็นประเทศคู่แฝดกับสหรัฐก็ยังถูกเรียกเก็บภาษีการนำเข้าสินค้า
ส่วน ค่ายไบเดนŽ มีความสุขุมแต่ลึกซึ้ง และเสนอให้มีการรวมตัวกันระหว่างประเทศพันธมิตร เพื่อทำการสกัดมิให้ประเทศจีนเติบโต
ดังนั้น จึงเห็นว่า แนวโน้มที่จะ สมานแผลŽ ระหว่างจีน-สหรัฐจึงมีน้อยมาก
ในที่สุด อาจยังต้องดำรงอยู่ในวังวน Zero-Sum GameŽ เหมือนเดิม
และในที่สุดเรื่องจีน-สหรัฐจะเจรจากันได้อาจมีเพียงประเด็นภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง

หากบัญชีคนโปรดของไบเดนเป็นจริง ในประการที่ไบเดนจะแต่งตั้งบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศนั้น

มิใช่เป็นการถอนฟืนออกจากไฟ หากเป็นการทั่งโถมโหมแรงไฟ

ไบเดนคร่ำหวอดในวงการเมืองตลอดชีวิต แก่พรรษาทางการทูต ควรต้องพินิจให้ดี แม้ย่างเข้าปัจฉิมวัยมานานแล้ว แต่ยังไม่มีเหตุให้เชื่อได้ว่าเข้าขั้น SenilityŽ

จึงควรต้องวางคนให้เหมาะสมกับงาน การตัดสินใจผิดคือล้มละลาย

สุดท้ายของชีวิตแล้ว หากไบเดนสามารถแก้ปัญหาความแตกแยกในสังคมอเมริกัน เรียกความศรัทธาจากอเมริกันชนกลับคืนมา เจริญไมตรีกับประเทศจีน ละเว้นการปะทะกัน

ประวัติศาสตร์โลกจะต้องจารึกไว้ซึ่งคุณงามความดีไว้ให้เป็นตัวอย่างแก่คนรุ่นหลัง

ทว่า เรื่องที่ปรับความสัมพันธ์จีน-สหรัฐให้กลับสู่ภาวะปกติ คงเป็นไปได้ยาก
ถ้าได้ก็น่าจะเป็นเพียงเรื่องเล็ก เช่นประเด็นกระพี้ไม่เป็นแก่นสาร หรือเศษเนื้อข้างเขียง

เพราะหากเทียบเคียงกับงานนิพนธ์ทางประวัติศาสตร์ของกรีกเมื่อ 2 พันกว่าปีก่อนอันเกี่ยวกับ สงครามเพโลพอนนีเชียนŽ ผู้ประพันธ์คือ ทิวซิดิดิสŽ ชี้ว่าความเจริญเติบโตของ เอเธนส์Ž กับความน่ากลัวของ สปาร์ตาŽ ในที่สุดสงครามเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงมิได้

จึงเรียกกันว่า กับดักทิวซิดิดีสŽ (Thucydides trap) ตามชื่อของผู้ประพันธ์

ในทำนองเดียวกัน ผู้เป็นมหาอำนาจเดี่ยวของโลกในปัจจุบันได้สร้างความน่ากลัวต่อมหาอำนาจที่เกิดใหม่ มีความเข้มข้นเพิ่มขึ้นตามลำดับ จึงประมาทมิได้

กรณีพอจะอนุมานได้ว่า สัมพันธภาพจีน-สหรัฐกับสันติภาพของโลกกำลังถูกคุกคามด้วย กับดักทิวซิดิดีส จึงไม่ตัดประเด็นการปะทะกันระหว่างอำนาจเก่ากับอำนาจใหม่

แม้โจ ไบเดนได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี แต่ก็คงมิอาจแก้ไขปัญหาหลักที่โดนัลด์ ทรัมป์ได้เลือกปฏิบัติต่อจีน เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้าง

เพื่อการแข่งขันให้ได้มาซึ่งอำนาจ

ศ.ชยานันต์ ศุกลวณิช

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image