คอลัมน์หน้า 3 : เอกภาพ การเมือง ห้วง 1 ปี ก่อน ‘ยุบสภา’ รอยร้าว ขยายใหญ่

คอลัมน์หน้า 3 : เอกภาพ การเมือง ห้วง 1 ปี ก่อน ‘ยุบสภา’ รอยร้าว ขยายใหญ่

คอลัมน์หน้า 3 : เอกภาพ การเมือง ห้วง 1 ปี ก่อน ‘ยุบสภา’ รอยร้าว ขยายใหญ่

คำประกาศถึงความพร้อมต่อ “การเลือกตั้ง” ไม่ว่าจะมาจากพรรคเพื่อไทย ไม่ว่าจะมาจากพรรคก้าวไกล เด่นชัดว่าเป็นการท้าทาย

ท้าทายต่อเสียงขู่ในเรื่อง “ยุบสภา”

ยิ่งหากมองผ่านคำประกาศถึงความพร้อมซึ่งมาจาก นายอนุทิน ชาญวีรกูล และ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ยิ่งมากด้วยความแหลมคม

Advertisement

เพราะ 2 ท่านนี้เป็น “หัวหน้าพรรค”

นายอนุทิน ชาญวีรกูล เป็นหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

พรรคภูมิใจไทย พรรคประชาธิปัตย์ อยู่ใน “รัฐบาล”

Advertisement

เมื่อเสียงขู่ในเรื่อง “ยุบสภา” ดังออกมาจากภายในทำเนียบรัฐบาล คำประกาศจาก 2 พรรคใหญ่ที่ร่วมอยู่ในรัฐบาลยิ่งเท่ากับเป็นการท้าทาย

ท้าทายต่อ “การยุบสภา” ท้าทายต่อ “การเลือกตั้ง”

มีความจำเป็นต้องศึกษา “ความพร้อม” ที่จะเข้าสู่การเลือกตั้งระหว่างพรรคภูมิใจไทย พรรคประชาธิปัตย์ อย่างมีการจำแนกจากของพรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล

เพราะพรรคภูมิใจไทย พรรคประชาธิปัตย์ อยู่ใน “รัฐบาล”

ขณะเดียวกัน พรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล เป็นพรรค “ฝ่ายค้าน” แม้คำประกาศความพร้อมในการเลือกตั้งถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา

แต่ความธรรมดาในที่นี้ก็มีลักษณะพิเศษในทางการเมือง

มีคำถามต่อพรรคภูมิใจไทย พรรคประชาธิปัตย์ ว่าหากไม่กลัวต่อการยุบสภาและพร้อมที่จะเลือกตั้งเหตุใดจึงยังอยู่ร่วมรัฐบาล

นี่ย่อมเป็นเรื่องการเกาะเกี่ยวในทาง “ผลประโยชน์”

พรรคภูมิใจไทย พรรคประชาธิปัตย์ย่อมต้องการประโยชน์ทางการเมืองเช่นเดียวกับพรรคพลังประชารัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการของรัฐจากงบประมาณ

จึงเป็นการร่วมในลักษณะอันเป็นการต่อสู้

พลันที่มีคำประกาศ “ยุบสภา” ออกมาทุกอย่างในทางการเมืองก็เท่ากับเป็นการเริ่มต้นใหม่ ที่สำคัญเป็นอย่างมากคือการเริ่มต้นในการต่อสู้เพื่อชิงชัย

พรรคภูมิใจไทย พรรคประชาธิปัตย์ย่อมมี “ยุทธศาสตร์” ของตน

ขณะเดียวกัน พรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล ก็มียุทธศาสตร์อันกำหนดขึ้นจากจุดแข็งจากการเลือกตั้งเมื่อเดือนมีนาคม 2562 ของตน

ในนั้นย่อมมีลักษณะ “ร่วม” ที่สำคัญ

นั่นก็คือ พรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล พรรคภูมิใจไทย พรรคประชาธิปัตย์ ล้วนวางน้ำหนักทางการเมืองอยู่ที่ 350 เขตทั่วประเทศ

นั่นก็คือ ต้องการเอาชนะพรรคพลังประชารัฐ

กล่าวในทางยุทธศาสตร์อาจถือได้ว่าเป้าหมายของพรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล กับเป้าหมายของพรรคภูมิใจไทย พรรคประชาธิปัตย์ ไม่แตกต่างกัน

เพียงแต่จะโค่นพรรคพลังประชารัฐอย่างไรเท่านั้น

แม้ความเชื่อในทางสังคมจะสรุปตรงกันว่าการยุบสภาจะเกิดขึ้นจาก 2 ปัจจัยสำคัญ คือ 1 ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณผ่าน และ 1 มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

แต่ไม่ว่าจะอย่างไรเวลาก็อยู่ในกรอบภายใน 1 ปี

เวลา 1 ปีก่อนการยุบสภาจึงเป็นเวลาที่ไม่ได้สะท้อนความเป็นเอกภาพในทางการเมือง ตรงกันข้าม จะเป็นเวลาแห่งการต่อสู้และแย่งชิง

โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นเป้าสำคัญ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image