บทบาทของสตรีในการเมืองระดับชาติ ส.ส.แบ่งเขต สตรีจากการเลือกตั้ง 2562

บทบาทของสตรีในการเมืองระดับชาติ ส.ส.แบ่งเขต สตรีจากการเลือกตั้ง 2562
รูปภาพที่ 1 จำนวน ส.ส. แบ่งเขต ชาย-หญิง เปรียบเทียบระหว่างภูมิภาค

บทบาทของสตรีในการเมืองระดับชาติ
ส.ส.แบ่งเขต สตรีจากการเลือกตั้ง 2562

1

มีข้อวิจารณ์ว่าบทบาทของสตรีในการเมืองระดับชาติยังมีค่อนข้างน้อยและข้อคิดเห็นว่า ถ้ามีสตรีเข้ามาทำงานการเมืองให้มากกว่านี้ จนเกิดความสมดุลระหว่างชาย-หญิงก็น่าจะดี การพิจารณาข้อกฎหมายหรือนโยบายหลายประเด็นที่ละเอียดอ่อนเกี่ยวกับแม่และเด็ก สวัสดิการสังคม การมีนักการเมืองฝ่ายหญิงเข้าไปช่วยคิดน่าจะดี ในโอกาสนี้ผู้เขียนขอนำผลการเลือกตั้ง ส.ส. แบบแบ่งเขตในปี 2562 มาวิเคราะห์พร้อมแสดงสถิติสัดส่วนของ ส.ส. สตรีจำแนกตามภูมิภาค จำแนกตามพรรคการเมืองมากน้อยหรือแตกต่างกันหรือไม่ ตอนท้ายเสนอข้อคิดเห็นเชิงแนวโน้มในอนาคต

2

Advertisement

การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตประกอบด้วย 350 เขต ผู้ชนะได้รับการเลือกตั้งเข้ามาเป็น ส.ส. นักวิจัยประมวลข้อมูลสถิติของ กกต. ซึ่งกอปรด้วยหลายมิติเช่นระดับการศึกษา ช่วงอายุ แต่ในที่นี้เน้นเพศชาย-หญิง พรรคการเมือง และภูมิภาค ซึ่งส่งสัญญาณบางอย่างเกี่ยวกับการเลือกเพศเข้ามาทำหน้าที่ คำถามเบื้องต้นคือ สัดส่วนของ ส.ส. สตรีจาก 7 ภูมิภาคเท่ากันหรือไม่เท่ากัน? ภาคไหนมากภาคไหนน้อย? แสดงในกราฟแท่งที่ 1 ระบุจำนวน ส.ส.ชาย – ส.ส.หญิงจากแต่ละภาค เช่น ภาคอีสาน (20 จังหวัด) มี ส.ส. ชาย 115 ส.ส. หญิง 22 ในกรุงเทพฯและปริมณฑล (6 จังหวัด) มี ส.ส. ชาย 41 ส.ส. หญิง 16 เป็นสองภูมิภาคที่ประชาชนเลือก ส.ส. หญิงเข้ามามากที่สุด 28% ในกรุงเทพฯและปริมณฑล ขณะที่ภาคอีสาน 16% ขณะที่ภาคใต้ได้ ส.ส. หญิงเพียง 8%

รูปภาพที่ 1 จำนวน ส.ส. แบ่งเขต ชาย-หญิง เปรียบเทียบระหว่างภูมิภาค

3

Advertisement

ลำดับต่อมาวิเคราะห์ตามพรรคการเมืองที่มี ส.ส. ได้รับการเลือกตั้ง 9 พรรค (แต่ได้ตัดสองพรรคที่จำนวน ส.ส. เพียงคนเดียว) เพื่อดูสัดส่วน ส.ส.ชาย – ส.ส.หญิง ตัวเลขใน รูปภาพที่ 2 หมายถึง สัดส่วนร้อยละของจำนวนทั้งหมด (350 คน) เช่น พรรคเพื่อไทยคิดเป็นสัดส่วน 39% ของทั้งหมด (แบ่งเป็น ชาย 33% หญิง 6%) พลังประชารัฐได้ ส.ส. 27.8% เทียบกับทั้งหมด (ในจำนวนนี้ชาย 22.1% หญิง 5.7%)

บทบาทของสตรีในการเมืองระดับชาติ ส.ส.แบ่งเขต สตรีจากการเลือกตั้ง 2562
รูปภาพที่ 2

4

ในการนี้ทีมวิจัยได้มีโอกาสสัมภาษณ์ท่านอดีต รมช.ว่าการกระทรวงแรงงาน รฎาวัญ วงศ์ศรีวงศ์ ถึงบทบาทสตรีในสภาผู้แทนและประเด็นสำคัญในการเสนอแนะนโยบายต่อรัฐบาล

“บทบาทของสตรีในสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นไปในทางที่ดีเพราะศักยภาพของสตรีไทยได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะหยุดชะงักในช่วงรัฐประหารตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา บทบาทหน้าที่ของนักการเมืองสตรีของไทยในรัฐสภาดำรงตำแหน่งสูงสุดก็คือรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ยังไม่เคยมีประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือประธานรัฐสภาเป็นสตรีเลย ภารกิจสำคัญในสภาส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายนักการเมืองสตรีที่เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมีไม่มาก ทำให้ประธานคณะกรรมาธิการและกรรมาธิการวิสามัญแก้ไขปรับปรุงกฎหมายแทบไม่มีนักการเมืองสตรีเลย

ส่วนประธาน คณะกรรมาธิการสามัญ 35 คณะของสภาผู้แทนราษฎรชุดปัจจุบัน (ปี 2562) มีนักการเมืองสตรีเป็นประธานเพียง 5 คณะเท่านั้น

สำหรับนโยบายที่อยากให้เกิดขึ้นในประเทศไทย เช่น การเพิ่มกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแห่งชาติเฉลี่ยหมู่บ้านละ 1,000,000 บาท ปรับปรุงระเบียบการบริหารจัดการใหม่ให้มีความเป็นอิสระ คล่องตัวกว่านี้ และนำส่วนที่เป็นกองทุนเพื่อการพัฒนาบทบาทสตรีมาฝึกอบรมความรู้และบทบาททางการเมืองระดับท้องถิ่นและระดับชาติเพื่อเพิ่มบทบาทสตรีทางการเมืองให้มากขึ้น และฝึกอบรมให้สตรีเป็นผู้ประกอบการมีความรู้มีทักษะการทำธุรกิจค้าขายยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิต อีกนโยบายหนึ่งก็คือการแยกกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกออกมาตั้งเป็นกระทรวงว่าด้วยแพทย์แผนไทยโดยตรง ตั้ง อย.แพทย์แผนไทยโดยเฉพาะ จะช่วยให้สุขภาพไทยแข็งแรงและเศรษฐกิจมั่งคั่งยังยืนได้อย่างเป็นรูปธรรม”

ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์
พิชิต รัชตพิบุลภพ
เมรดี อินอ่อน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image