สธ.&ศธ.จับมือ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

เมื่อกระทรวงสาธารณสุข โดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล และกระทรวงศึกษาธิการ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ น.ส.ตรีนุช เทียนทอง ดำริเริ่มต้นให้บูรณาการพัฒนาด้านการศึกษาของสองหน่วยงาน โดยดำเนินตามแนวทางขององค์การ “UNESCO” ที่ว่า Education for All, All for Education : การศึกษาเพื่อปวงชน ปวงชนเพื่อการศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ว่า สร้างสุขภาพดีเพื่อมวลชน สร้างมวลชนเพื่อมีสุขภาพดีถ้วนหน้า Health for All, All for Health ซึ่งได้มีการแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติ เช่น “นโยบายการขับเคลื่อนที่สำคัญผ่าน โครงการสถาบันพระบรมราชชนกสัญจร” ชื่อย่อว่า “สบช.สัญจร” เป็นการร่วมลงนามในข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสองกระทรวง เรื่อง การพัฒนาการศึกษาและพัฒนาสุขภาพของผู้เรียนทุกช่วงวัย เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2564 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการลงนาม ดังนี้

1) เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการขับเคลื่อนการพัฒนาด้านการศึกษาและพัฒนาสุขภาพของผู้เรียนทุกช่วงวัยตามนโยบายของรัฐบาลให้บรรลุอย่างแท้จริง และมีความต่อเนื่องตามแนวคิด (Concept) ขององค์การ UNESCO คือ “Education for All, All for Education” และองค์การอนามัยโลก (WHO) คือ “Health for All, All for Health”

2) เพื่อให้เกิดกระบวนการเชิงระบบการจัดการด้านการศึกษาและด้านสุขภาพที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดพัฒนาองค์ความรู้ การรับรู้ด้านสุขภาพที่เรียกว่า “Health Literacy”

3) เพื่อให้เกิดการกระจายโอกาสทางการศึกษาและให้โอกาสแก่ผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา รวมถึงสนับสนุนให้ “ผู้เรียน” ในท้องถิ่นห่างไกลและท้องถิ่นทุรกันดารได้เข้าถึงการศึกษาในระดับอุดมศึกษาในสาขาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคของสังคม

Advertisement

โดยเฉพาะประเด็นการระบาดจากโรควายร้าย “โควิด-19” ซึ่งมีผล “กระทบ” ต่อการศึกษาการเรียนรู้ของเด็กตั้งแต่ชั้นอนุบาล-ประถม-มัธยมต้น-มัธยมปลาย ซึ่งจะต้องเรียนต่อชั้น “อุดมศึกษา” คือ ระดับ “มหาวิทยาลัย” หรือ “สถาบัน” อย่างมีนัยสำคัญต่อ “ผู้เรียน” “ครู” “ผู้ปกครอง” “ชุมชน” “งบประมาณสนับสนุนอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอน” ซึ่งองค์กรที่รับผิดชอบโดยตรง คือ สำนักงานคณะกรรมการขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสรุป คือ

1.ข้อมูลสภาการศึกษา (สกศ.) หน่วยงานที่กำหนดและกำกับดูแลนโยบายด้านการศึกษาของประเทศโดยตรง ได้เก็บรวบรวมเรื่องการติดตามของการศึกษาไทยในยุคโควิด-19 ยิ่งเห็นชัดเจนอย่างน่าเป็นห่วง ดังนี้

ข้อมูลของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า “สถานศึกษา” พบว่าเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารที่จะใช้ในการจัดการเรียนการสอนไม่เพียงพอ สัญญาณไม่เสถียร สถานศึกษาส่วนมากไม่ได้รับงบประมานสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัด ขณะที่สถานการณ์โควิด-19 สถานศึกษามีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น คุณภาพการจัดการเรียนรู้ของครูลดลง วัสดุอุปกรณ์เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรคไม่เพียงพอ มีการขอข้อมูลจากสถานศึกษาเป็นภาระงานและกระทบต่อเวลาในการจัดการเรียนการสอน

2.ผลกระทบต่อ “ครู” พบว่า ครูมีภาระงานในการวัดการเรียนรู้และการดูแลนักเรียนมากขึ้น ครูมีความเสี่ยงมีความวิตกกังวลต่อการเรียนการสอนแบบใหม่และผลการเรียนของนักเรียนจะตกต่ำลง ครูขาดขวัญและกำลังใจ ในการจัดการเรียนรู้และการปฏิบัติงาน

3.ผลกระทบต่อ “ผู้เรียน” พบว่า นักเรียนต้องปรับเวลาเรียน สถานที่และวิธีการเรียนใหม่ นักเรียนมีความวิตกกังวลผลการเรียน ได้ฝึกทักษะการปฏิบัติน้อยลงและไม่สามารถทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนได้ และยังเสียโอกาสการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ภายนอกและจากการปฏิบัติจริง

นักเรียนและผู้ปกครองต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ สื่อเทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ การเรียน Online ทำให้นักเรียนขาดความกระตือรือร้น ขาดความรับผิดชอบ และกังวลต่อผลการเรียน ที่หนักไปกว่านั้น นักเรียนเหนื่อยล้าเนื่องจากต้องมีการเรียนชดเชยที่ขาดหายไป

นอกจากนี้ยังพบในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดารได้รับผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษามากกว่าในเมืองที่มีความพร้อมมากกว่า

4.ผลกระทบต่อ “ผู้ปกครองและชุมชน” พบว่า ผู้ปกครองมีปัญหาในการช่วยเหลือการเรียนรู้ของบุตรหลานเพิ่มขึ้น เสียค่าใช้จ่ายเพื่อสร้างความพร้อมในการเรียนรู้ให้กับบุตรหลาน รวมถึงค่าใช้จ่ายเพื่อป้องกันการติดโรค ผู้ปกครองต้องหาความรู้เพิ่มเติมในบทเรียน และการใช้เทคโนโลยี เพื่อให้สามารถช่วยเหลือส่งเสริมการเรียนรู้ของบุตรหลาน ผู้ปกครอง เด็กนักเรียน เกิดภาวะเครียด และเสียโอกาสในการประกอบอาชีพอีกด้วย

5.สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็นหน่วยงานหลักรับผิดชอบต่อการศึกษาตั้งแต่ วัยอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งจะเตรียมตัวให้พร้อมที่จะเข้าเรียน “อุดมศึกษา” ใน “มหาวิทยาลัย”
กลุ่มเด็กเล็ก ต้องเน้นเรื่องการอ่านออกเขียนได้ คิดเลขเป็น ซึ่งอาจจะต้องมีการเคี่ยวเข็ญให้หนัก การเรียนค่ายวิทยาศาสตร์ เด็กจะต้องได้ฝึกฝนภาคปฏิบัติในห้องทดลองที่เข้มข้น

กลุ่มเด็กโต ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายต้องเร่งเตรียมความรู้ที่เด็กจะต้องนำไปใช้ในการศึกษาระดับที่สูงขึ้น

แม้ว่าขณะหลายโรงเรียนจะสามารถส่งมาเรียนในห้องเรียนแบบ On-site ได้แล้ว สพฐ.เองจะต้องเน้นย้ำให้โรงเรียนเตรียมชุดเสริมความรู้เพิ่มเติมให้เด็กได้กลับไปเรียนต่อที่บ้านได้ด้วย ซึ่งอาจจะเรียนในรูปแบบของ On-line หรือ On-demand ก็ได้

ส่วนประเด็นที่ไม่อาจมองข้ามได้เลย คือ การลดความเหลื่อมล้ำในการเรียนให้กับ “นักเรียน” โดยจะเห็นว่าช่วงที่ผ่านมาเด็กหลายคนขาดเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่จะใช้ในการเรียนไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ On-line On-Air หรือรูปแบบอื่นๆ หรือแม้แต่ “ครู” ผู้สอนเองก็มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการเรียนการสอน ดังนั้น “สพฐ.” จะต้องตระหนักนำเสนอในระดับ “นโยบาย” เพื่อผลักดันขจัดความเหลื่อมล้ำความถดถอยต่อคุณภาพการศึกษาที่เกิดขึ้น โดยเร็วที่สุด

สรุปผลการดำเนินงาน สบช.สัญจร

โครงการ “สบช.” สัญจร ครั้งแรกขับเคลื่อนผ่าน “Mini สบช.สัญจร” เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2564 ที่โรงเรียนบางระจันวิทยา จ.สิงห์บุรี ดำเนิน 9 แห่ง 100% และวันที่ 4 ตุลาคม 2564 ที่โรงเรียนพิบูล จ.ลพบุรี ครบ 16 โรงเรียน 100% เพื่อศึกษารูปแบบเตรียมความพร้อมที่จะทำต่อทั้งประเทศใน 13 เขตสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข

วันที่ 17 ตุลาคม 2564 เป็นวันเริ่มต้นของโครงการ “สบช.สัญจร” ตามระบบรูปแบบที่เขตสุขภาพที่ 1 คือ จังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง แม่ฮ่องสอนและน่าน และดำเนินในเขตสุขภาพเรื่อยมาตามสำคัญท้ายสุดไปที่เขตสุขภาพที่ 11 และ 12 ภาคใต้ จนครบเขตสุขภาพที่ 13 (กรุงเทพมหานคร) เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2564 ณ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข ช่วงระยะเวลาเกือบ 3 เดือน ได้ผลการดำเนินงานและเกิดการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

1) โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายของคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เข้าร่วมโครงการจำนวน 1095 แห่ง คิดเป็น 45.72% (จากข้อมูล สพฐ. มีโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 2359 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ 77 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งประกอบด้วย โรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ รวมทั้งพื้นที่ในเขตเมือง เขตชนบท เขตท้องที่ห่างไกลทุรกันดาร และพื้นที่ทั้งมีการระบาดโควิด-19 ที่รุนแรง ปานกลาง เล็กน้อย ไม่มีเว้น มีผลกระทบทั้ง “นักเรียน” “ครู” “ผู้ปกครอง” “ความไม่พร้อมอุปกรณ์สนับสนุนการเรียนการสอน เนื่องจากขาดงบประมาณ” ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ และความถดถอยด้านคุณภาพการศึกษา

“สบช.” ได้ดำเนินการ ระบบรับตรงนั้นให้ที่นั่งเรียนคณะพยาบาลศาสตร์ และคณะสาธารณสุขและสหเวชพยาบาล 4 ที่นั่ง สาธารณสุข 1 ที่นั่ง สมัครเข้าระบบ (T-CAST 1) ตั้งแต่ 4 ม.ค.-10 ม.ค.64 โดยใช้ผลงานของนักเรียนยื่น “Portfolio” ไม่มีการสอบแข่งขันเพราะฉะนั้นจึงเป็นระบบเกิดความเท่าเทียมกันไม่ว่าโรงเรียนใหญ่เล็กของนักเรียนเป็นไปตามท่านผู้อำนวยการโรงเรียนแต่ละแห่งรายงานผลการเรียนให้ “คณะกรรมการกลาง” คัดเลือกด้วยระบบธรรมาภิบาล โดยพิจารณาจากเด็กที่สมัครเรียนพยาบาล เกรด 3.0 ขึ้นไป สาธารณสุข เกรด 2.5 ขึ้นไป คาดว่าเด็กนักเรียนจะผ่านระบบเข้าศึกษาใน “สบช.” จะนวน 5,476 คน คิดเป็นร้อยละ 78.22 จากแผนผลิตทุกหลักสูตร จำนวน 7,000 คน

“สบช.” ของเรานับเป็น “ก้าวแรก” และสำคัญของสถาบันพระบรมราชชนกเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางของโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศ อันจะส่งผลให้เกิดสะพานเชื่อมโยง “สถาบัน” กับ “โรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศ” ด้วยแนวคิดแนวทางการบริหาร “1 มหาวิทยาลัย 1 ประเทศ” ด้วยเรามีวิทยาลัยพยาบาล 30 แห่ง วิทยาลัยการสาธารณสุขฯ 9 แห่ง เป็นการขยายโอกาสที่จะเพิ่มคณะฯ ที่จัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ เช่น วิทยาลัยแพทยศาสตร์ วิทยาลัยทันตแพทยศาสตร์ วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ เป็นต้น ทั้งนี้ในปีการศึกษาหน้า 2566 สถาบันได้กำหนดเป้าหมายขยายความร่วมมือทางวิชาการเริ่มเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2565 โครงการที่นั่งเรียน ให้กับโรงเรียนต่างๆ จำนวน 2-4 คนต่อโรงเรียน เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมและเป็นการกระจ่ายครอบคลุมทุกพื้นที่ทุกโรงเรียน ร้อยละ 100 (2,359 แห่ง) ต่อไป อันนำไปสู่

ผลลัพธ์ท้ายสุดของการร่วมมือของ “สธ.” โดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล กับ “ศธ.” โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษา น.ส.ตรีนุช เทียนทอง ได้มอบของขวัญปีใหม่ 2565 ให้กับ เด็กนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 5,476 คน ครอบคลุมใน 77 จังหวัด ได้มีโอกาสเท่าเทียมกันไม่ว่ายากดีมีจนอยู่ในถิ่นทุรกันดารห่างไกลชุมชน ชนบท เขตเมือง โรงเรียนใหญ่ กลาง เล็ก สามารถเข้ารับการศึกษาระดับอุดมศึกษา ณ “สถาบันพระบรมราชชนก” ซึ่งเป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ไงเล่าครับ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image