‘นงส.’รุ่นที่ 9

มติชนฉบับที่แล้ว ผู้เขียนได้แนะนำหน่วยงานหลักของประเทศเกี่ยวกับการเงินการคลังที่สำคัญ คือ “สำนักงบประมาณ” ในเรื่อง “โควิด-19” ขาลง “การเมือง” ขาขึ้น และวันนี้เป็นวันที่ 2 มิถุนายน 2565 มีการอภิปรายงบประมาณในวาระที่ 1 เป็นวันสุดท้าย และคืนนี้ 24.00 น. มีการลงมติของสภาผู้แทนราษฎร น่าจะได้ทราบผล ผู้เขียนเอง แฟนๆ มติชน คนไทยทั้งประเทศ คงภาวนาให้ผ่านความเห็นชอบของสภา เพื่อการบริหารแผ่นดินของประเทศจะได้ดำเนินการต่อเนื่อง เพราะประเทศมีวิกฤตในมิติต่างๆ หลายเรื่องรออยู่ข้างหน้า

ฉบับนี้ขอสาธยายของดีๆ จาก “สำนักงบประมาณ” ซึ่งผู้เขียนเองก็เพิ่งจะทราบตอนมาอยู่ “สถาบันพระบรมราชชนก” และได้มีโอกาสสัมผัสกับโครงการดีๆ จากท่านผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ นายเฉลิมพล เพ็ญสูตร และคณะ ที่อนุเคราะห์ให้โอกาสมาเป็นนักเรียนในหลักสูตร “นงส.รุ่นที่ 9” ซึ่งย่อมาจากหลักสูตร “นักบริหารการงบประมาณระดับสูง (นงส.) รุ่นที่ 9” เป็นหลักสูตรที่สำคัญและน่าสนใจยิ่ง

“สำนักงบประมาณ” มีการปรับโครงสร้างขยายขอบเขตอำนาจหน้าที่ และบูรณาการงบของส่วนราชการอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีการปรับวิธีการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการภาครัฐที่มุ่งผลสัมฤทธิ์โดยใช้ “งบประมาณแผ่นดิน” เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาระบบบริหารราชการแผ่นดินของประเทศให้รองรับการเปลี่ยนแปลงที่มีพลวัตสูงในทุกด้าน

เป็นที่ทราบกันแล้วว่าสำนักงบประมาณในฐานะที่เป็นหน่วยหลักที่วางยุทธศาสตร์ด้านงบประมาณของประเทศ ได้ปรับวิธีบริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยมีการบูรณาการจัดทำงบประมาณในมิติกระทรวง/หน่วยงาน (Function) มิติยุทธศาสตร์ (Agenda) มิติพื้นที่ (Area) ให้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน และมีความเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี แผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ นโยบายสำคัญของรัฐบาล แผนแม่บทอื่นๆ ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและกรอบแนวทางการจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่ซึ่งการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ดังกล่าว

Advertisement

อนึ่ง แต่ละหน่วยงานจำเป็นต้องพัฒนาความรู้ความสามารถด้านการบริหารจัดการงบประมาณของ “ผู้บริหาร” ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นๆ ของรัฐ เช่น ความรู้เกี่ยวกับระบบงบประมาณ การวางแผนและจัดทำงบประมาณ การอนุมัติและการบริหารงบประมาณ การบูรณาการงบประมาณ การติดตามประเมินผลและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณ รวมทั้งติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่องบประมาณแผ่นดิน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านงบประมาณจึงได้จัดให้มี “หลักสูตรนักบริหารงบประมาณระดับสูง” ชื่อย่อว่า “นงส.” รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ 9 เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการประเทศของ “ผู้บริหารระดับสูง” ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ รวมทั้งภาคเอกชน ให้ตระหนักในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ด้านงบประมาณให้มีความคุ้มค่าเกิดประโยชน์สูงสุดต่อ “ประชาชนและประเทศชาติ”

ผู้เข้าร่วมอบรมรุ่นนี้มีจำวน 110 คน ดังรายนามต่อไปนี้ : กกชัย ฉายรัศมีกุล, กชนิภา อินทสุวรรณ์, กนกนุช ด้วงแดง, กนกพร เดชเดโช, กนิษฐา กังสวนิช, กษาปณ์ เงินรวง, กาญจนา ศรีชมภู, รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย, กิตติมา นพทีปกังวาล, พลอากาศตรี ขจรศักดิ์ พ่วงจินดา, ขวัญชัย วิศิษฐานนท์, เข็มเพ็ชร เวชทรัพย์, คมกริช เจริญพัฒนสมบัติ, คมคาย อุดรพิมพ์, คมสันติ์ เลิศสกุลยั่งยืน, จงกลนี แก้วสด, จรัญ การุณยวัฒน์, จักรพันธ์ จินตนาพากานนท์, จันทนา เล็กสมบูรณ์, ชญานันท์ ภักดีจิตต์, ชนินทร วรรณวิจิตร, ชมภารี ชมภูรัตน์, ชยชัย แสงอินทร์, ชลลดา แจงทนงค์, ชัชพร พินทุวัฒนะ, ชัยพล สุขเอี่ยม, ชูพงศ์ คำจวง, ฐานิจ ธุวานนท์, ณัฐฐวรรณ อินทรทิตย์, ณัฐพงศ์ รอดมี, ณัฐพล ธีรวุฒิวรเวทย์, ณัฐพล อมรชัยยาพิทักษ์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ สุวรรณทิพย์, ดวงพร ปิณจีเสคิกุล, รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงพร ภู่ผะกา, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดำรงค์ ดำรงศรี, รองศาสตราจารย์ ดร.ดิเรก ธีระภูธร,
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เดือนฉาย ไชยบุตร, ตติยะ ชื่นตระกูล, ถาวร ขาวสอาด, เทพิน อริยปิติพันธ์, ธนพล สมิตะโยธิน, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธนินนิตย์ ลีรพันธ์, พลอากาศตรี ธวัชชัย สงวนเรือง, ธัญพร สระประทุม, ธาริศร์ อิสสระยั่งยืน, ธิติวัฒน์ เงินนำโชคธนรัตน์, ธีรเชษฐ์ นันท์ศุภวัฒน์, พันเอก รองศาสตราจารย์ นครินทร์ ศันสนยุทธ, ดร.นตพร จันทร์วราสุทธิ์, นที ดำรง, นพพร บุญแก้ว, นภัสชล ทองสมจิตร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นฤเบศ ลาภยิ่งยง, นิวัฒน์ ปะระมา, นิสิต สิทธิอาษา, บุปผา เรืองสุด, ปราชญา อุ่นเพชรวรากร, ปรีญาพร สุวรรณเกษ, ปวิทย์ ยวงเงิน, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปวีณา ลี้ตระกูล, ปัณณิตา สท้านไตรภพ, ดร.พนม วิญญายอง, พรชัย หอมชื่น, พรนิภา ธนาธรรมนันท์, พิชญดา หัศภาค, รองศาสตราจารย์ ดร.พีระพงษ์ อุทารสกุล, พิริยาธร สุวรรณมาลา, พีระพันธ์ เหมะรัต, เพลินพิศ ศรีภพ, ไพศาล ชะโนภาษ, พลตำรวจตรี ภพพส จักกะพาก, มณเฑียร คณาสวัสดิ์, มนต์ชัย ดานุโพธิ์บริบูรณ์, มนตรี กนกวารี, มนตรี เดชาสกุลสม, มัลลิกา แสนภักดี, ยุพาภรณ์ ศิริกิจพาณิชย์กูล, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ยุวรีย์ พิชิตโชค, รศ.รังสรรค์ ภูรยานนทชัย, รานี อิฐรัตน์, ฤชา วราทร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วรพล อร่ามรัศมีกุล, วาสนา พงศาปาน, ศาสตราจารย์พิเศษ วิชัย เทียนถาวร, วิทยา แก้วมี, ไวฑิต โอชวิช, ศกุณา วิวัฒน์ธนาตย์, ศรัณย์พงศ์ ฟุ้งเกียรติ, ดร.เศรษฐพล เลี่ยวไพโรน์, สมเกียรติ วิริยะกุลนันท์, สมพงษ์ จิรศิริเลิศ, ว่าที่ร้อยตรี สมศักดิ์ พรหมดำ, สรรเพชญ แสงเนตรสว่าง, สรรศิริ บำรุงชีพ, สราวุธ ปิตุเตชะ, สันติ รังษิรุจิ, สาวิตรี ชำนาญกิจ, สุขยา ลิมโพธิ์ทอง, สุทธดา คงเดชา, สุภาวดี สิทธิมาลัยรัตน์, สุเมธ ตั้งประเสริฐ, สุรศักดิ์ ปัญญาวุฒิ, สุรัตน์ เมฆะวรากุล, อดิทัต วะสีนนท์, อธิโชค วินทกร, พลตรี อัฏฐพล ลัดใหม่กุลวัฒน์, เอกวิทย์ มีเพียร, และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอนก เทียนบูชา

คณะกรรมการหลักสูตร “นงส.รุ่น 9” ประกอบด้วย นายเฉลิมพล เพ็ญสูตร ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ (ประธานคณะกรรมการ) รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณมี 6 ท่าน ได้แก่ นายสมมิตร ไตรรักตระกูล นายอนันต์ แก้วกำเนิด (ผู้อำนวยการหลักสูตร) นางอลิสา ปิ่นประเสิรฐ นายพยุงศักดิ์ ครเจริญ นายยุทธนา สาโยชนกร นายกรณินทร์ กาญจโนมัย โดยมี นายวัชรพงษ์ นครวัฒน์ เป็นผู้อำนวยการสถาบันพัฒนายุทธศาสตร์ด้านงบประมาณ

ผลสัมฤทธิ์ “นงส.” รุ่น 9 นี้ที่คาดว่าจะได้รับ คือ
1) ผู้บริหารทั้ง 110 คน จะได้นำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการบริหารจัดการด้านงบประมาณเพื่อการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าต่อไป
2) ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ รวมทั้งภาคเอกชนมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันในด้านบริหารจัดการงบประมาณ
3) สำนักงบประมาณมีเครือข่ายระดับผู้บริหารส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ และภาคเอกชน อย่างต่อเนื่องในการบริหารจัดการงบประมาณ
4) สำนักงบประมาณมีข้อมูลด้านการบริหารจัดการของประเทศเพื่อการพัฒนารูปแบบและวิธีการงบประมาณที่เหมาะสมและบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป

ที่สำคัญคือ ได้เครือข่ายระหว่างบุคคล (110 คน) และหน่วยงานที่มาพบกันในรุ่นจะเกิดเป็นครอบครัวเดียวกันกับ “สงป.” ในการร่วมคิดร่วมมือร่วมใจเกิด “พลังบวก” ในการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่าถูกต้องและตรงเป้าหมาย “ของผู้จัดหางบประมาณให้” และ “ผู้รับงบประมาณ” ได้นำไปพัฒนาประชาชนรากหญ้า จำนวน 66,171,439 ล้านคน (19 มกราคม 2565 09.09 น.) อย่างคุ้มค่าเพื่อการมี “คุณภาพชีวิตที่ดีถ้วนหน้า” กล่าวคือ “ศึกษาดี มีงานทำ มีเงินใช้ ไร้โรคา พาให้สุขสมบูรณ์” ไงเล่าครับ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image