โลกหลัง ค.ศ.2020 โดย ดร.อาณัฐชัย รัตตกุล

หลังจากที่ข้าพเจ้านำเสนอบทความเมืองจีน ก่อน ค.ศ.2018 ได้มีผู้สอบถามในรายละเอียดถึงเรื่องความร่วมมือในโครงการ One Belt One Road โดยเฉพาะในด้านของเศรษฐศาสตร์ยุคดิจิทัล (Digital Economy) ถึงความเป็นรูปธรรมด้านความร่วมมือ และก่อให้เกิดผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน

วันนี้ขอนำเสนอความรู้เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ยุคดิจิทัลของโลกอนาคต ที่กำลังเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกอนาคตอย่างมาก เพราะจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตจากระบบเดิมที่การผลิตส่วนใหญ่เป็นเครื่องจักรอัตโนมัติ แต่โลกอนาคตจะเต็มไปด้วยการผลิตระบบหุ่นยนต์และ AI Technology (Artificial Intelligence) (ปัญญาประดิษฐ์) ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดปริมาณการผลิตทางอุตสาหกรรมที่มีประสิทธิผลได้อย่างมาก รวดเร็วและมีต้นทุนการผลิตที่ถูกลง การกระจายและขายสินค้าจะเป็นระบบที่สามารถถึงตัวผู้บริโภคโดยตรงได้มากขึ้น และมีการกระจายอย่างทั่วถึง ทำให้เกิดเสถียรภาพของการเติบโต การค้าขายไปตามปริมาณความต้องการของตลาดได้อย่างสอดคล้อง ลดปัญหาการขาดแคลนสินค้า หรือการกักตุน สต๊อกสินค้า ระบบการตลาดและการผลิตจะมีความสมดุลกันมากขึ้น

กล่าวโดยสรุป คือ ผู้บริโภคต้องการสินค้าใดก็สามารถผลิต และจัดส่งถึงมือผู้บริโภคอย่างทันต่อความต้องการ เปรียบเสมือนการสั่งอาหารสำเร็จรูปทางสื่อ ไม่ว่าจะเป็นพิชซ่า หรืออาหารใดๆ ในสมัยนี้ สามารถจัดส่งถึงที่ได้หมด

แต่ขนาดของธุรกิจ ไม่ใช่เป็นลักษณะ Food Delivery เท่านั้น ยังสามารถจัดส่งทันความต้องการสินค้าได้ทุกชนิด โดยเพียงใช้อินเตอร์เน็ตดิจิทัล

Advertisement

ด้วยเหตุนี้เอง ความจำเป็นที่จะเชื่อมโยงข้อมูลแหล่งผลิต ปริมาณสินค้า ชนิดของสินค้า จำเป็นต้องมีระบบเครือข่าย และข้อมูลทั่วถึงกันหมด ที่เรียกกันว่าเป็น Big Data หรือที่เรียกสมัยใหม่ว่า “Block Chain”

ขณะเดียวกัน ด้านคมนาคม จำเป็นที่จะต้องเอื้อประโยชน์ความสะดวก ในการสั่งและส่งได้ทั้งสินค้า และทรัพยากรมนุษย์ ตลอดจนวัตถุดิบในการผลิตให้มีการกระจายอย่างทั่วถึงเพียงพอ

ในอนาคตนี้เอง สินค้าคงคลัง หรือสต๊อกสินค้าจะลดน้อยลง ความสูญเสียสิ้นเปลือง น้อยลง ปัญหาของการผลิตทางด้านอุตสาหกรรม และเกษตรกรรมที่เคยมีปริมาณไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดจะลดลง การบริหารการเงินจะสามารถทำได้รวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการชำระสินค้า หรือการรับเงินจากผู้ผลิต ผู้ขายสินค้า

Advertisement

พูดง่ายๆ ว่า การชำระเงินและการรับเงินกระทำได้ด้วยความรวดเร็ว ปราศจากอุปสรรค การติดต่อสื่อสารของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นชาติใดภาษาใดติดต่อกันได้ง่ายด้วยระบบดิจิทัล ที่สามารถสื่อสารธุรกรรมทั้งหลายได้อย่างทั่วถึงกัน

ดังนั้น การเชื่อมโยงด้วยสังคมที่แบ่งปันผลประโยชน์ซึ่งกันและกันนั้น จะทำให้โลกอนาคตเกิดการสร้างผลประโยชน์ในลักษณะ Win Win Cooperation และความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน มีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาให้เกิดสิ่งเหล่านั้นให้ได้ จึงควรต้องเกิดจากความร่วมมือที่ไม่ปกปิดซ่อนเร้น แต่จะต้องเต็มไปด้วยความเต็มใจที่จะสร้างผลประโยชน์ โดยยึดถือแนวทางเชิงความเป็นรูปธรรมที่จะต้องทำงานร่วมกันตามข้อเสนอแนะจากที่ประชุม “The 4th World Internet Conference” ณ เมือง Wuzhen, Zhejiang สาธารณรัฐประชาชนจีน ดังต่อไปนี้

1.การขยาย Broadband เพื่อเข้าถึงการเพิ่มประสิทธิภาพ การสร้างเครือข่ายในระดับภูมิภาค ของการติดต่อเชื่อมโยงทั้งในด้าน Internet และ Satellite navigation เพื่อนำไปสู่การเข้าถึงข้อมูลสำคัญต้องเกิดความสะดวกราบรื่นต่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เต็มไปด้วย ระบบ Internet ความเร็วสูง และไม่จำกัดการเก็บข้อมูลอีกต่อไป โดยมีเงื่อนไขการลงทุนที่สมเหตุสมผล เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้เครือข่ายของ Broadband ให้ครอบคลุมพื้นที่ ทำให้ข้อมูลสามารถมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล

2.ส่งเสริมการใช้ระบบ Digital ไปสู่การทำงานเชิงรูปธรรม ที่สามารถเข้าถึงการเกษตรกรรม อุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ การบริหารดำเนินการ และระบบเครือข่ายที่ครอบคลุม เพื่อนำไปสู่ระบบการกระจายข้อมูลสินค้าผลิตภัณฑ์ทั้งภาคการเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมทุกระดับไปสู่การรับรู้ถึงมือผู้บริโภคโดยตรงอย่างมีประสิทธิภาพ

การรวบรวมระบบ Digital ซึ่งไม่ว่าทั้งเทคโนโลยีกับการผลิตสินค้าจะต้องสอดคล้องเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายจนเป็น BIG DATA จำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบ ICT ทั้งในด้านการศึกษา, สาธารณสุข, ความปลอดภัย การปกป้องสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ การวางแผนพัฒนาเมือง ตลอดจนสวัสดิการสังคมของมวลมนุษยชาติ ต้องมีการสอดประสานอย่างมีความสมดุลกัน เป็นระบบ Block Chain

ขณะเดียวกัน การส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจ และธุรกรรมทาง Digital ด้านบริการจะต้องมีการพัฒนากันอย่างต่อเนื่อง รวมถึงระบบ Logistics คมนาคม การสื่อสาร การท่องเที่ยว การเงิน มีการเพิ่มพูนประสิทธิภาพ และเกิดการเชื่อมโยงกระจายตัวจนเกิดความสัมพันธ์ในปัจจัยทางเศรษฐกิจได้อย่างสมบรูณ์

3.ส่งเสริมความร่วมมือในด้าน E-Commerce โดยการเพิ่มพูนสิ่งอำนวยความสะดวกในระบบการติดต่อซื้อขายให้คล่องตัวราบรื่นขึ้น โดยการริเริ่มระบบการค้าสมัยใหม่ ที่มีการเชื่อมโยงข้อมูลการค้าขายอย่างทั่วถึง ยอมรับการเข้าถึงข้อมูลของการค้าขายให้ปราศจากการแบ่งชั้นกีดขวาง อันจะเป็นอุปสรรคทั้งหลายทั้งปวงไปได้

โดยเฉพาะในด้านการสร้างความเชื่อถือ การตรวจสอบของระบบศุลกากร การตรวจสอบคุณภาพของสินค้าที่ต้องมีมาตรฐาน ความโปร่งใส และไม่เป็นอุปสรรคต่อการค้าขาย ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมืออย่างใกล้ชิด และความเข้มแข็งทางด้านการเงิน เพื่อชำระสินค้า คลังเก็บสินค้า การขนส่งถ่ายเทสินค้าไปสู่มือผู้บริโภค โดยต้องคำนึงถึงผลประโยชน์และสิทธิของผู้บริโภคเป็นข้อสำคัญเสมอ

4.สนับสนุนฐานการพัฒนาอุตสาหกรรมในระดับต่างๆ ด้าน Internet สำหรับผู้ประกอบการทั้งหลาย ให้เกิดความเข้าใจการที่จะใช้ระบบ Internet ในธุรกรรมนั้นๆ ซึ่งต้องมีการค้นคว้าและพัฒนาไปสู่ความสามารถในการบริหารจัดการที่โปร่งใส สอดรับกับกฎหมายสากล เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนา นวัตกรรมของสินค้า การบริหารกระบวนการ ตลอดจนการบริหารจัดการกับธุรกิจแนวใหม่ซึ่งจะก่อประโยชน์สูงสุดต่อธุรกิจทั้งหลายเหล่านั้น

5.ส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจ ตั้งแต่ระดับเล็กมาก (Micro) ระดับเล็ก (Small) และระดับกลาง (M, SMEs) โดยนโยบายการใช้ ICT เพื่อเพิ่มพูนนวัตกรรม (Innovation) ให้สามารถมีศักยภาพแข่งขันในเวทีโลก ด้วยระบบการกระจายสินค้าได้หลายช่องทาง การตลาดสมัยใหม่ได้ โดยการเชื่อมโยงกับระบบสาธารณูปโภคแบบใหม่ได้อย่างทั่วถึง เพื่อจะทำให้เกิดการกระจายสินค้าจากธุรกิจ M, SMEs ไปสู่ตลาดของโลกได้อย่างทั่วถึง

6.สร้างความแข็งแกร่ง เพิ่มพูนประสิทธิภาพ ศักยภาพของระบบ Digital โดยการพัฒนาความสามารถการใช้ของระบบให้เข้าถึงต่อสาธารณชนอย่างทั่วถึง เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้บริโภค

ขณะเดียวกัน ควรมีการส่งเสริมเพิ่มพูนความชำนาญของลูกจ้าง พนักงาน ด้วยการพัฒนาฝึกฝน ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องยกระดับความสามารถและศักยภาพรวมถึงข้าราชการ บุคลากร ในสถานศึกษาและงานวิจัย จะต้องทำอย่างจริงจัง เป็นโครงการ และโปรแกรมที่มีความเป็นรูปธรรมสามารถนำไปใช้ประโยชน์ให้เกิดความนิยมโดยทั่วไป

ทั้งนี้ เพื่อทำให้เกิดความสามารถยกระดับความเชี่ยวชาญในระบบ Digital สูงขึ้น และมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน

7. ส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรม ICT เพื่อการเพิ่มพูนธุรกิจส่วนนี้ โดยอาศัยสภาวะแวดล้อมที่เป็นประโยชน์ต่อการนำมาใช้ภายใต้กรอบนโยบายส่งเสริมการวิจัย และการพัฒนาควบคู่ไปกับการลงทุนในด้านอุตสาหกรรม ICT พร้อมกับการส่งเสริมระบบการลงทุนของสถาบันการเงินที่จะสามารถช่วยพัฒนาการลงทุนธุรกิจ ICT ตลอดจนการสร้างกองทุนเพื่อพัฒนา ICT โดยความร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคธุรกิจเอกชน (PPP) เพื่อไปสู่การลงทุนร่วมต่อยอดอุตสาหกรรม ICT ทั้งภาคการเงินและภาคสังคมเกิดเป็นผลประโยชน์ร่วมกันอย่างสูงสุด

8 .ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างเมืองในด้านการสร้างเศรษฐกิจ Digital ด้วยการเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างเมือง โดยการจับคู่เมืองซึ่งกันและกัน สนับสนุนกลยุทธ์การเพิ่มขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีจากการแลกเปลี่ยนความรู้ความสามารถ การใช้ประโยชน์ของระบบอินเตอร์เน็ตร่วมกัน

ไม่เพียงแต่ระบบการบริหารจัดการธุรกรรมของเมือง หากยังต้องส่งเสริมให้ประชาชน ภาคพลเมืองของเมืองนั้นๆ ได้ใช้ประโยชน์กันอย่างเต็มที่จนเกิดเป็นวัฒนธรรม ICT เพื่อให้มีการค้าขาย ติดต่อส่งของสินค้า และการชำระเงินคล่องตัวไหลลื่นปราศจากอุปสรรคทั้งหลายทั้งปวง อันจะนำไปสู่การเชื่อมโยงของเมืองต่างๆ ในระดับภูมิภาคและประเทศ เกิดการค้าสมัยใหม่ที่เรียกว่า “Digital Silk Road” ขึ้นเป็นรูปธรรม คือ เกิดความเป็นพื้นฐานของการสร้าง Smart Cities ระบบ E-Commerce, Telemedicine, Internet Plus, Internet of Things และกระบวนการปัญญาประดิษฐ์ (Arttificial Intelligence)

9.การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในด้าน Digital เพื่อการเชื่อมโยงทั้งภายในและภายนอกของแต่ละประเทศ ด้วยการกำหนดนโยบายที่หลากหลายในการส่งเสริมและสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก เข้าถึงระบบ Internet ได้อย่างทั่วถึง

เริ่มตั้งแต่ระบบการศึกษาของโรงเรียนทุกระดับชั้นไปจนถึงการศึกษานอกโรงเรียน การสร้างบรรยากาศ สิ่งแวดล้อมที่จะก่อให้เกิดการพัฒนา Digital อย่างต่อเนื่อง เช่น การส่งเสริมในเรื่องของ Games online, Animation ทั้งในภาพยนตร์ TV และโรงภาพยนตร์ บทความ องค์ความรู้ด้าน Digital ต้องมีให้มากเพียงพอที่จะส่งเสริมวัฒนธรรมการใช้ Digital ไปสู่ภาคประชาชนได้อย่างเกิดประสิทธิผล

10.การสร้างความโปร่งใสต่อระบบเศรษฐกิจ Digital จะต้องเป็นนโยบายระดับชาติ ในการที่จะพัฒนาความโปร่งใสและความใสสะอาดของระบบ โดยการใช้ข้อมูลทางเศรษฐกิจที่เป็นจริงให้มากที่สุด ข้อมูลทางราชการและเอกชนต้องเปิดเผย เพื่อการเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่ถูกต้อง สามารถนำมาพัฒนาใช้ประโยชน์ของข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างจริงจัง

เช่น ประเภท จำนวนปริมาณของสินค้าทางอุตสาหกรรม และเกษตรกรรม แหล่งผลิต การจัดจำหน่าย กระจายสินค้าไปสู่มือผู้บริโภคประชาชน

นอกจากนี้ ต้องมีการส่งเสริมนวัตกรรมการพัฒนาเครื่องมือทาง Digital ให้เกิดความเพิ่มพูนการใช้สนับสนุนกิจกรรมเหล่านั้น ก่อให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจลื่นไหลได้อย่างคุ้มค่าเกิดทั้งประสิทธิภาพประสิทธิผลให้จงได้

11. การส่งเสริมมาตรฐานการใช้ Digital Technology ไปสู่มาตรฐานในระดับนานาชาติ ซึ่งหมายถึงการพัฒนาทั้งคุณภาพสินค้าและการบริการจัดส่ง กระจายสินค้า ให้สามารถไปสู่มือผู้บริโภคได้ทั่วโลกอย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพ ภายใต้กฎกติกาสากล และ WTO เป็นสำคัญ

12.การสร้างความเชื่อมั่นและเชื่อถือต่อการใช้ระบบเศรษฐกิจ Digital โดยการส่งเสริมความซื่อสัตย์ สุจริต มีระเบียบวินัยในการทำงานอย่างเคร่งครัด เพื่อนำไปสู่เสถียรภาพความไว้วางใจของผู้บริโภค ทุกภาคฝ่าย เกิดความเชื่อมั่นและเชื่อถือในการใช้ธุรกรรมของระบบ Digital และเคารพต่อการใช้ข้อมูลที่เป็นสิทธิประโยชน์ส่วนบุคคลที่ควรจะปกป้องไว้ มิให้ล้ำล่วงสิทธิส่วนบุคคลสามัญไป

ขณะเดียวกันต้องมีระบบควบคุมและร่วมมือกันของระดับภูมิภาคและระดับประเทศที่จะจัดการกับอาชญากรรมทาง Digital Technology ให้ได้อย่างถ้วนถี่รัดกุมเรียบร้อย

13.ประการสุดท้าย ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในความร่วมมือกันส่งเสริมแลกเปลี่ยนความรู้ด้าน Technology Digital ซึ่งกันและกันในระดับประเทศ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการเชื่อมโยงกันทั้งในระบบ Technology กฎระเบียบและการนำมาใช้เป็นรูปธรรมเชิงพัฒนาระบบเศรษฐกิจในยุคใหม่นี้ ซึ่งต้องดำเนินภายใต้ความร่วมมือในทุกๆ ด้านระดับชั้น และประเภททางธุรกรรมอย่างโปร่งใส ไม่เอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน พร้อมกับการดำเนินการจัดการอย่างจริงจังกับอาชญากรรมการบ่อนทำลายทาง Cyber ในทุกมิติ

ทั้งนี้ ควรจะมีเป้าหมายการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามหลักการของประชาธิปไตย หลักความโปร่งใส และหลักธรรมาภิบาลให้เป็นรูปธรรม

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image