หลังเหตุระเบิด

เหตุการณ์วางระเบิด-วางเพลิงหลายจุดในกรุงเทพมหานคร เมื่อวันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม ทิ้งปริศนาสำคัญๆ ไว้หลายข้อ
แต่ไม่ว่าคนก่อเหตุจะเป็นผู้ใด-ฝ่ายไหน ลงมือจากมูลเหตุอะไร หรือสุดท้ายแล้ว ภาครัฐจะมีบทสรุปให้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นหรือไม่ อย่างไร

เหตุ ระเบิดป่วนกรุงŽ ครั้งนี้ บ่งชี้ว่าสังคมไทยยังคงมี ความขัดแย้งŽ ซ่อนแฝงอยู่

ประเทศไทยยัง ไม่ปกติŽ และมิได้ สงบ-เรียบร้อย-ปลอดภัยŽ เหมือนดังภาพฝันของใครหลายคน

หลังเกิดเหตุป่วนเมือง ศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข นักวิชาการด้านความมั่นคง จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โฟนอินให้สัมภาษณ์ถึงกรณีดังกล่าวกับช่องยูทูบมติชนทีวี

Advertisement

อาจารย์สุรชาติคือผู้เชี่ยวชาญอีกคนที่เลือกจะ ไม่ฟันธงŽ ระบุตัวผู้ก่อเหตุและสาเหตุของความวุ่นวายระลอกนี้ แต่ได้เลือกชวนสนทนา ในประเด็นที่เป็นภาพกว้างใหญ่กว่านั้น

ประการแรก โดยทั่วไป สถานการณ์วางระเบิด ณ ปัจจุบัน จะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ

(1) เหตุการณ์ระเบิดในประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งมักเป็น การก่อการร้ายŽ

Advertisement

(2) เหตุการณ์ระเบิดอันเกิดจากปัญหาการเมืองภายใน ในประเทศที่ระบบการเมืองยังมีปัญหา-ไม่ลงตัว

เหตุระเบิดประเภทหลังนี้ มักไม่นำไปสู่ความรุนแรงในระดับสูง ไม่มุ่งหวังทำลายชีวิต เพียงแค่มุ่งสร้าง เสียงดังŽ ให้ปรากฏในพื้นที่ข่าว

ประการถัดมา อาจารย์สุรชาติได้ชวนมองภาพรวม ซึ่งกรุงเทพฯ เคยเผชิญหน้าเหตุระเบิดใหญ่มาแล้วหลายครั้งตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมา สอดคล้องกับวางระเบิดตาม เมืองใหญ่Ž อีกหลายแห่งในบริบทนานาชาติ

หากพิจารณาในแง่นี้ กรุงเทพมหานครจึงเป็นเมืองใหญ่ที่มีความเปราะบางด้านความมั่นคง ไม่ต่างจากเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลก

ดังนั้น โจทย์ปัญหาท้าทายหลังวันที่ 2 สิงหาคม 2562 ก็คือ การต้องครุ่นคิดถึงปัญหา ความมั่นคงของเมืองŽ อย่างเข้มข้นจริงจัง

นักวิชาการผู้นี้เสนอแนะให้รัฐบาลหันมามองและทำงานด้าน ความมั่นคงŽในมิติใหม่

ความมั่นคงŽ ซึ่งมิได้กินความแค่การพัฒนาศักยภาพของกองทัพ ผ่านการทุ่มเทงบประมาณให้แก่การจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์

ทว่ายังหมายถึงการพัฒนาระบบที่ช่วยสร้างความปลอดภัยให้เมือง และการสื่อสารให้ประชาชนตระหนักรู้ในปัญหา โดยไม่ตื่นกลัวและวิตกกังวล

ที่สำคัญ อาจารย์สุรชาติเตือนว่า เวลาเกิดเหตุการณ์ระเบิดใน เมืองใหญ่Ž รัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง ควรออกมาให้ความมั่นใจกับสาธารณชนว่าตนเองสามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้แล้ว และมีการชี้แจง-จัดเตรียมมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัยอย่างชัดเจน

แต่สิ่งที่รัฐบาลและเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูงไม่พึงกระทำ ก็คือ การรีบออกมาพูดจาหรือชี้นิ้ว ฟันธงŽ ในทันทีว่า กลุ่มใดเป็นผู้ก่อเหตุ โดยปราศจากพยานหลักฐานชัดเจน

นี่เป็น บทเรียนŽ ที่เกิดขึ้นภายหลังวันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image