สถานีคิดเลขที่12 : 9 บวก บวก : โดย สุวพงศ์ จั่นฝังเพ็ชร

ขออนุญาต ย้ำเตือนโครงการ

“ฝ่าวิกฤตโควิด

ใช้ชีวิตกับการอ่าน”

ของเครือมติชนอีกสักครั้ง เผื่อใครสนใจ

Advertisement

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ ส่งนิตยสารคุณภาพถึงผู้อ่าน สะดวก รวดเร็วในราคาพิเศษ

ผู้อ่านท่านใด สมัครสมาชิกนิตยสารในเครือ ระหว่างวันที่ 1-15 พฤษภาคม 2563 จำนวนหนึ่งปี

จะได้ส่วนลดถึง 40%

Advertisement

ถือเป็นการลดราคา ที่ไม่เคยมากขนาดนี้มาก่อน แต่เพราะเราตระหนักดีว่า ผู้อ่านของเราก็เผชิญกับภาวะเศรษฐกิจไม่ดี

อะไรที่เป็นการลดภาระให้ได้เราก็พร้อมทำ

โดย “มติชนสุดสัปดาห์” ค่าสมาชิกจากปีละ 2,660 บาท เหลือเพียง 1,550 บาท

นิตยสารศิลปวัฒนธรรม 1 ปี 1,440 บาท เหลือเพียง 850 บาท

นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน 1 ปี 1,200 บาท จะเหลือเพียง 700 บาท

บริการส่งตรงถึงบ้าน

เพียงแต่ขอรบกวนท่านผู้อ่าน ขณะที่เราลดราคาลดถึง 40% แล้ว

ขออนุญาตให้ค่าจัดส่งเป็นภาระของท่านผู้อ่านซึ่งคงพอรับได้

สนใจสอบถามเพิ่มเติม ที่คุณสกาวเดือน เปี่ยมมณี (ออม)

0-2589-0020 ต่อ 3352

09-1815-1776 อีเมล์ [email protected]

หรือสมัครง่ายๆ ผ่าน QR โค้ด ในหน้าประชาสัมพันธ์โครงการนี้ในหนังสือทุกเล่มในเครือมติชน

ในช่วงนี้หรือทำใจว่าในช่วงนับแต่ตอนนี้ไปอีกไกลพอควร

อะไรที่เราประหยัดได้ ต้องประหยัดกันอย่างจริงจัง

ขนาด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ซึ่งจะต้องพูดอะไรเป็นบวก อยู่ตลอดเวลา

ยังออกตัวว่า เราจะเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจ อันเนื่องจากการระบาดของไวรัสโควิด-19

ไม่ใช่แค่ 3 เดือน อาจจะเป็น 6 หรือ 9 เดือนเลยทีเดียว

ลองผู้รับผิดชอบสูงสุดคาดการณ์ไปถึง 9 เดือน ซึ่งก็คงราวสิ้นปี 2563

เราก็ควรมองในแง่ร้าย เพิ่มเข้าไปอีกสักเท่าตัวคือ 6-9 เดือน เศรษฐกิจจะฟื้น?

นั่นก็หมายความว่า ปี 2563 และปี 2564 เราก็คงจะเดือดร้อนกันอยู่

ถึงได้บอก อะไรประหยัดได้ ต้องประหยัด

และที่พูดไม่ใช่เลื่อนลอย หรือเพราะไม่ชอบรัฐบาล ถึงมองในแง่ร้ายแบบนั้น

เอาง่ายๆ อย่างที่เราทราบกันตลอดหลายสิบปีมานี้

เศรษฐกิจประเทศไทย พึ่งเครื่องยนต์ “การส่งออก” และเครื่องยนต์ “การท่องเที่ยว” มาโดยตลอด

การที่ การส่งออก และการท่องเที่ยว จะฟื้นตัว หรือทำให้เรากลับมาสู่ความปกติได้ โลกต้องกลับสู่ความปกติแล้ว

แต่ตอนนี้ มองไปที่ไหน แค่เอาตัวรอดจากไวรัสโควิดก็เหนื่อยสาหัสแล้ว

หากยังไม่มีวัคซีน หรือยารักษา ไม่รู้ว่า สิ้นปี 2563 โลกเราจะหายป่วยหรือเปล่า

แม้จะหายป่วย แต่ละประเทศก็ต้องพักฟื้น จะให้กลับมาบริโภค เหมือนตอนปกติ ก็คงยาก

เช่นกัน จะให้วิ่งปร๋อ กลับมาเที่ยวเมืองไทยเลยก็ไม่น่าใช่เหมือนกัน

ทำใจไว้เลย การส่งออกและการท่องเที่ยว จะเป็นเครื่องยนต์สุดท้ายที่จะติดหรือเดินเครื่องได้

ซึ่งก็โชคร้ายที่เราพึ่งทั้ง 2 เครื่องยนต์เป็นหลักเสียด้วย

ที่คิดว่าเราจะฟื้นจากเศรษฐกิจเร็ว ทำใจไว้เลย

ยิ่งไปกว่านั้น โลกหลังวิกฤตโควิด-19 ย่อมทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไป

การที่เราวางยุทธศาสตร์ชาติไว้ที่การส่งออกและการท่องเที่ยวเป็นหลัก อาจจะต้องเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุทธศาสตร์อื่นๆ

โดยเฉพาะการกลับมาพึ่งตนเองหรือยืนอยู่กับการบริโภคภายในมากขึ้น

การไปพึ่งพาภายนอกมากๆ เมื่อประเทศอื่นหรือโลกป่วยไข้ เราก็ย่อมได้รับผลกระทบหนักกว่าคนอื่นอย่างที่เห็นอยู่ตอนนี้

ไม่รู้ว่า ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่ชูกันมาตั้งแต่รัฐประหาร ได้วางไว้เพื่อรับมือตรงนี้ไหม และจะปรับมาใช้อย่างไร

ตอนนี้ ยังไม่เห็นมีใครพูดถึง นอกจากแก้ปัญหาเฉพาะหน้ากันไปเท่านั้น

จึงยังนึกไม่ออกว่า หลังจากหมดเยียวยา 3 เดือนแล้ว เราจะไปกันต่ออย่างไร

ถึงบอกให้ทำใจรับ อะไรที่ช่วยตัวเองได้ ทำเลย

ไม่มีเวลารอแล้ว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image