เดินหน้าชน : 5ปีก่อกรรมทำหนี้

พ ล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. แถลงปิดจ๊อบหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยอ้างความสำเร็จในระยะ 5 ปีที่เปลี่ยนผ่าน ไม่ว่าเรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง การเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ การพัฒนาอย่างยั่งยืนของประชาชนทุกอาชีพรายได้ เรียกความเชื่อมั่นและการลงทุนจากต่างประเทศให้กลับคืนมา

นอกจากนั้นยังแก้ปัญหาหมักหมม อาทิ การทุจริตประพฤติมิชอบการพิจารณาคดีต่างๆ ที่เป็นธรรม การออกกฎหมายเพื่อแก้ปัญหา การปฏิรูปประเทศและกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ

ที่ บิ๊กตู่Ž บอกว่าสำเร็จ แต่บางคนบอกว่าคือความล้มเหลวนั้นคงแล้วแต่มุมมอง

แต่จากนี้ประเทศเดินเข้าสู่ขั้นตอนประชาธิปไตย ปัญหาทุกอย่างจะเข้าสู่กฎเกณฑ์ปกติตามระบอบโดยไม่มีอำนาจพิเศษใดๆ อีกต่อไป

Advertisement

วลีที่ว่า สิ่งใดๆ ในโลกนี้ไม่ได้มาฟรีๆŽ เช่นเดียวกับ 5 ปีที่ บิ๊กตู่Ž ยึดอำนาจมาก็ย่อมมีต้นทุนอย่างปฏิเสธไม่ได้

ต้นทุนที่ว่านั้น ผมขอยกเอาข้อมูลของ กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ อดีตรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจในรัฐบาลของอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ที่โพสต์ตัวเลขหนี้ของประเทศไทยในช่วง 5 ปี ในยุคที่รัฐบาล คสช.บริหารประเทศ

เห็นตัวเลขแล้วน่าตกใจ เพราะสถิติการสร้างหนี้ของรัฐบาล คสช.นั้นเริ่มตั้งแต่ปี 2558 ก่อหนี้ขึ้นมากว่า 250,000 ล้านบาท ปี 2559 ก่อหนี้เพิ่มอีก 390,000 ล้านบาท ปี 2560 จำนวน 450,000 ล้านบาท และปี 2561 ก่อหนี้ 450,000 + 100,358.1 = 550,358.1 ล้านบาท

Advertisement

และในปีล่าสุด 2562 กำลังสร้างหนี้ 450,000 + ????? ล้านบาท

รวมสร้างหนี้ 2,090,358.1 ล้านบาท (2 ล้านล้านบาท) พร้อมระบุว่า ดูตัวเลขการใช้เงินภาษีของรัฐบาล คสช.ช่วงปีงบประมาณ 2561 (ตุลาฯ 60-กันยาฯ 61) รัฐขอกู้เงิน 450,000 ล้านบาท เพราะรายได้ไม่พอรายจ่าย สุดท้ายรัฐปิดหีบไม่ลง ต้องกู้อีก 100,358.10 ล้านบาท ส่วนของปีนี้ได้ขอกู้ไว้ 450,000 ล้านบาทเช่นกัน อีก 2 เดือนก็จะปิดหีบงบประมาณแล้ว ทายซิว่าจะขอกู้เพิ่มอีกไหม

เห็นตัวเลขแล้วน่าตกใจ เพราะ 5 ปีที่ผ่านมา บิ๊กตู่Ž สร้างภาระหนี้ให้กับประเทศชาติ 2 ล้านล้านบาทŽ

ต้นทุนที่มากมายมหาศาลเช่นนี้ แต่สิ่งที่ได้กลับคืนมาจากภาวะสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในช่วง 5 ปีของ คสช.

จากข้อมูลจากสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. รายงานภาวะสังคมไทยไตรมาส 1 ของปีž62 พบว่า หนี้สินครัวเรือนซึ่งเป็นหนี้สินภาคประชาชนที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่กลางปี 2561 และภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับต่างประเทศ พบว่าประเทศไทยมีสัดส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อจีดีพีอยู่ในอันดับที่ 10 จาก 89 ประเทศทั่วโลก และเป็นอันดับที่ 3 จาก 29 ประเทศในเอเชีย

หนี้สาธารณะซึ่งรัฐบาลก่อขึ้นจากการกู้เงินมาใช้จ่ายเนื่องจากจัดเก็บรายได้จากมาตรการภาษีไม่พอกับนโยบายการบริหารประเทศ หรือเรียกงบประมาณรายจ่ายประเภทนี้ว่า งบขาดดุลŽ

และล่าสุดเมื่อ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ เป็นประธานคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ มีมติอนุมัติให้กระทรวงการคลังขยายเพดานการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณเพิ่มขึ้นจาก 5% เป็น 8% (มติดังกล่าวสามารถกู้ได้เพิ่มจากสัดส่วนเดิมมากถึง 60%) ทำให้เพดานการก่อหนี้ของรัฐบาลเพิ่มจาก 1.5 แสนล้านเป็น 2.4 แสนล้าน หรือเพิ่มขึ้น 9 หมื่นล้านบาท

ซึ่งสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) รายงานสถานะหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561 มีสูงมากถึง 6,833,645.93 ล้านบาท

หนี้สาธารณะเป็นหนี้จริงเมื่อกู้มาแล้วก็ต้องใช้หนี้ พร้อมดอกเบี้ย ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาประเทศเพราะต้องเบียดบังงบประมาณที่เป็นงบลงทุนของรัฐบาลไปชำระหนี้คืนและดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น

หลายท่านตั้งคำถามว่า รัฐบาล คสช.นำเงินก้อนนี้ไปช่วยเหลือประชาชนหรือกลุ่มทุน เพราะถึงวันนี้ประเทศไทยถูกจัดลำดับว่าเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำมากที่สุดของโลก

ก่อน คสช.ปิดจ๊อบก็ยังตั้งหัวเชื้องบประมาณรายจ่ายปีž63 จำนวน 3.2 ล้านล้านบาท เป็นงบแบบขาดดุลกว่า 4.5 แสนล้านบาท ที่รัฐต้องกู้เงินมา ซึ่งก็คือก่อหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นไปอีก

สิ่งที่เห็นได้วันนี้ 5 ปีของบิ๊กตู่และ คสช.ได้ก่อกรรมทำหนี้ให้ประเทศชาติมากมายจริงๆ…

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image