แก้ รธน.ต้องไม่แกง

เหตุสลายการชุมนุมของคณะราษฎร 2563 เมื่อค่ำวันที่ 16 ตุลาคมที่ผ่านมา ที่แยกสี่แยกปทุมวัน เป็นยุทธวิธีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจ

เลือกใช้แม้จะระบุว่า ยึดตามหลักสากล เพื่อลดความร้อนแรงไม่ให้กลุ่มผู้ชุมนุมนัดรวมตัวชุมนุมกันอีกครั้ง

หลังจากแกนนำถูกจับกุมวันนัดชุมนุมใหญ่เมื่อวันที่ 14 ตุลาคมที่ผ่านมา พร้อมกับประกาศ 3 ข้อเรียกร้องที่หนักแน่นเหมือนเดิม

แม้ยุทธวิธีสลายการชุมนุมจะหยุดยั้งกลุ่มผู้ชุมนุมได้เพียงวันเดียว แต่ในทางยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาการชุมนุมทางการเมือง

Advertisement

ถือว่าผิดพลาด เพราะกลุ่มผู้ชุมนุมกลับเปิดยุทธวิธีใหม่ขึ้นมาตอบโต้เจ้าหน้าที่ตำรวจ และฝ่ายความมั่นคง

ด้วยการนัดชุมนุมแบบแฟลชม็อบกันตามสถานที่สำคัญต่างๆ ในหลายจุดทั่วกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด

ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียและบัญญัติศัพท์แสงขึ้นมาใช้สำหรับการชุมนุมโดยเฉพาะ จนเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง

Advertisement

ต้องฉีกตำรารับมือกับการชุมนุมแบบเดิมเพื่อมาศึกษายุทธวิธีการชุมนุมของกลุ่มราษฎร เพื่อให้รู้เท่าทันในการควบคุมสถานการณ์

เช่น คำว่า แกงŽ ที่กลุ่มผู้ชุมนุมบัญญัติความหมายว่า แกล้งŽ หรือ หลอกŽ มาใช้สื่อสารระหว่างกัน

จนเจ้าหน้าที่ตำรวจถูกกลุ่มผู้ชุมชุม แกงŽ อยู่บ่อยๆ เพราะนัดชุมนุมกันที่หนึ่ง แต่พอใกล้เวลาชุมนุมกับไปโผล่อีกที่หนึ่ง

สิ่งที่ต้องโฟกัสและต้องรับฟังให้ได้ยินถึงข้อเรียกร้องทั้ง 3 ข้อ ตามที่หลายฝ่ายที่เฝ้ามองและเป็นห่วงสถานการณ์การชุมนุม

ได้ให้ความคิดเห็น คำแนะนำกับผู้มีอำนาจ โดยเฉพาะรัฐบาลที่มี บิ๊กตู่Ž พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

เป็นหัวหน้าคณะ นั่นคือ การรับฟังข้อเรียกร้องด้วยท่าทีและรับไปปฏิบัติด้วยความจริงใจ

โดยเฉพาะข้อเรียกร้อง ข้อ 2.รัฐสภาต้องเปิดประชุมสภาวิสามัญทันที เพื่อรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน

หากที่ผ่านมารัฐบาล รวมทั้งสมาชิกรัฐสภา ที่ประกอบด้วย ส.ส. และ ส.ว.ฟังให้ได้ยิน ไม่งัดสารพัดแทคติค

มาเตะถ่วง ยื้อเวลา ไม่ให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นโดยง่าย สถานการณ์การชุมนุมคงจะไม่บานปลายมาถึงทุกวันนี้

ทั้งที่ความหวังในข้อเรียกร้องที่กลุ่มผู้ชุมนุมต่างรับรู้กันดี และพอจะคาดหวังว่าจะเกิดขึ้นได้จริง นั่นคือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ

เพราะทั้งจุดยืนและจุดร่วมของทุกพรรคการเมือง ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาล รวมทั้ง ส.ว.บางส่วน ก็เห็นตรงว่าจะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ

โดยสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เข้ามายกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ เริ่มจากปลดล็อก มาตรา 256 ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ง่ายขึ้น

แม้จะมีความต่างในรายละเอียด เนื้อหา ประเด็นที่จะแก้ไข แต่ถ้าทุกฝ่ายมีจุดยืนเดียวกัน นั่นคือ ร่วมกันแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เกิดขึ้นได้จริง

ด้วยการแสดงออกอย่างจริงใจ มีกรอบเวลาที่ชัดเจนว่าจะไม่ แกงŽ กลุ่มผู้ชุมนุมและทุกฝ่ายที่คาดหวังว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

จะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งในการช่วยผ่อนคลายวิกฤตทางการเมืองในขณะนี้ได้ ซึ่งการเปิดประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ ระหว่างวันที่ 26-27 ตุลาคมนี้

จะเป็นอีกบทพิสูจน์ ความจริงใจŽ หรือว่าจะ แกงŽ กันอีกครั้ง

จตุรงค์ ปทุมานนท์

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image