จริงใจทั้งกระบวนการ

ที่ประชุมรัฐสภาระหว่างวันที่ 17-18 พฤศจิกายน ในการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. … ทั้ง 6 ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ที่เสนอโดยทั้ง ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล และ ส.ส.ฝ่ายค้าน 6 ญัตติ และ 1 ญัตติของ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือไอลอว์

ที่มีประชาชนเข้าชื่อ จำนวน 98,041 คน ที่รอสมาชิกรัฐสภาทั้ง 732 คน (ที่ปฏิบัติหน้าที่ได้) ว่าจะเห็นชอบให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับใดเดินหน้าต่อไปได้

โดย 6 ญัตติจากฝ่ายการเมืองที่จะนำสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ประกอบด้วย

1.ญัตติของพรรคร่วมรัฐบาล เสนอแก้ไข ม.256 เปิดทางตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ มีสัดส่วนมาจากการเลือกตั้ง 150 คน แต่งตั้ง 50 คน กำหนดการแก้ไขรัฐธรรมนูญภายใน 240 วัน

Advertisement

2.ญัตติของพรรคร่วมฝ่ายค้าน นำโดยพรรคเพื่อไทย เสนอแก้ไข ม.256 เปิดทางตั้ง ส.ส.ร. จากการเลือกตั้ง 200 คน กำหนดแก้ไขรัฐธรรมนูญภายใน 120 วัน

3.ญัตติของพรรคร่วมฝ่ายค้านโดยพรรคเพื่อไทย 4 ญัตติ ได้แก่ ญัตติแก้ไข มาตรา 272 ตัดอำนาจ ส.ว.ร่วมโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี และแก้ไขมาตรา 159 ปิดทางเลือกนายกรัฐมนตรี

4.ญัตติแก้ไขมาตรา 270 และมาตรา 271 ตัดอำนาจ ส.ว.ติดตามการปฏิรูปประเทศ

Advertisement

5.ญัตติแก้ไขมาตรา 279 ยกเลิกการรับรองความชอบด้วยกฎหมายของประกาศ คำสั่ง และกระทำโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

6.ญัตติแก้ไข ระบบเลือกตั้งจากบัตรเลือกตั้งใบเดียว กลับไปใช้ 2 ใบ แยกกันระหว่างระบบ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และ ส.ส.แบ่งเขตเลือกตั้งแบบรัฐธรรมนูญ 2540

ส่วนญัตติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน เสนอให้แก้ไขมาตรา 256 จัดตั้ง ส.ส.ร. ที่มาจากการเลือกตั้ง ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งทั้งฉบับ

สาระสำคัญ คือ ยกเลิกช่องทางนายกฯ คนนอก ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ยกเลิกแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี ยกเลิกการนิรโทษกรรม คสช.

แก้ไขที่มา นายกฯ ยกเลิกบัญชีว่าที่นายกฯ และให้นายกฯ
ต้องเป็น ส.ส. แก้ไขที่มาของ ส.ว. ให้มาจากการเลือกตั้ง และตัดอำนาจ ส.ว.ไม่ให้เลือกนายกฯ

แก้ไขที่มาองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญพร้อมสรรหาใหม่ยกชุด รวมทั้งแก้ไขวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ง่าย ใช้แค่เสียงกึ่งหนึ่งของรัฐสภา

ส่วนทิศทางของสมาชิกรัฐสภาในส่วนของ ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล และ ส.ว.บางส่วน ชัดเจนแล้วว่าจะสนับสนุนญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เปิดทางตั้ง ส.ส.ร.

ทั้งญัตติของรัฐบาลและฝ่ายค้าน แต่หนทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญยังต้องจับตา ความจริงใจŽ ของผู้ทรงเกียรติ ว่าจะเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ไปจนตลอดรอดฝั่ง จนกระทั่งนำร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าฯได้หรือไม่ เพราะตลอดเส้นทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยังมีอีกหลายด่าน

ที่พร้อมจะ เซอร์ไพรส์Ž ให้กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไปไม่ถึงฝั่ง ทั้งการยื่นศาลรัฐธรรมนูญ ให้ตีความว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256

ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ รวมทั้งการทำประชามติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญภายใต้กลไกอำนาจรัฐ ที่อาจส่งผลต่อการทำประชามติได้

เกมการเมืองในกลไกการแก้ไขรัฐธรรมนูญของผู้มีอำนาจ จะเป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ ความจริงใจŽ ว่าจะเกิดขึ้นตลอดทั้งกระบวนการหรือไม่

จตุรงค์ ปทุมานนท์

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image