เสียดายข้าว ปลา อาหารž

เคยตั้งคำถามกับตัวเองหรือไม่ว่าคำว่า เมืองไทยคือเมืองพุทธŽ นั่นนิยามจริงๆ คืออะไร
หลายคนอาจภูมิใจว่า เราเป็นสังคมที่มีคนดีมากกว่าคนชั่ว คนไทยนั้นยึดเหนี่ยว ศีล 5Ž และยึดโยง หิริโอตัปปะŽ เป็นแนวทางการดำเนินชีวิต

แต่ถ้าเราหันไปมองภาพเหตุการณ์จริงในสังคม มันช่างย้อนแย้งกับคำคำนี้เสียเหลือเกิน ยิ่งเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่ใช้ความรุนแรงในการปราบปรามประชาชน ความอำมหิตของ
เจ้าหน้าที่รัฐที่ทำกับประชาชน

ที่ใกล้ตัวที่สุด คือ เหตุการณ์สลายการชุมนุมคนเสื้อแดงเมื่อปี 2553 ทำให้ประชาชนเสียชีวิต 99 คน บาดเจ็บพิการเกือบ 2 พันคน เจ้าหน้าที่ใช้กระสุนจริงซุ่มและกราดยิงใส่ประชาชนอย่างโหดร้าย ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ครอบครัวผู้สูญเสียต่างทวงถามและติดตามหาความจริงที่ยังไร้คำตอบ

ถามว่าเรารู้สึกต่อสิ่งนี้อย่างไร เรานิ่งเฉยหรือเห็นว่าเป็นเรื่องปกติในสังคมเมืองพุทธแห่งนี้หรือไม่

Advertisement

เหตุการณ์ล่าสุด นพ.ทศพร เสรีรักษ์ สมาชิกพรรคเพื่อไทย นำผู้บาดเจ็บจากเหตุสลายการชุมนุมที่หน้ารัฐสภาเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายนที่ผ่านมา นำผู้ชุมนุมที่ได้รับผลกระทบจากแก๊สน้ำตาและบาดเจ็บจากการปะทะกับเจ้าหน้าที่ มีกลุ่มคนที่โดนยิงด้วยอาวุธปืน กลุ่มที่หายใจเอาแก๊สและสารเคมีเข้าไป และกลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำที่ผสมสารเคมีแผลเหมือนถูกไฟไหม้ หลายคนยังต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล สิ่งนี้มันคือเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง

รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ทำการตรวจสอบสารเคมีในน้ำที่ตำรวจใช้สกัดการชุมนุมที่บริเวณแยกเกียกกาย เจอสารเคมีในน้ำตัวอย่าง 5 ตัว บางตัวทางทหารเรียกสั้นๆ ว่า CS จัดเป็นอาวุธเคมี (chemical weapon) ที่ใช้คุมฝูงชน แต่ไม่ทำให้ถึงตาย แต่มันเข้มจนเกิดผลกระทบต่อร่างกายทำให้ผิวหนังไหม้อย่างรุนแรง และทำลายดวงตา เพราะขนาดเหล็กยังผุกร่อนรั่วซึม เจอสัมผัสเนื้อหนังมนุษย์จะรุนแรงเพียงใด

แม้แต่เหตุการณ์ของกลุ่มที่เรียกตัวเองว่ากลุ่มนักเรียนเลว ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดกิจกรรม บ๊ายบายไดโนเสาร์Ž ที่สถานีรถไฟฟ้า BTS สยาม วันที่ 21 พ.ย. โดยมีหญิงสาวคนหนึ่งใส่ชุดนักเรียน
มาร่วมชุมนุมเรียกร้องเรื่องความปลอดภัยในสถานศึกษา พร้อมกับเผยว่า เคยตกเป็นเหยื่อคุกคามทางเพศในโรงเรียน และถือข้อความ หนูถูกครูทำอนาจาร ร.ร.ไม่ใช่สถานที่ปลอดภัยŽ ด้วย

Advertisement

เหตุการณ์นี้ ทำให้ผู้เห็นต่างทางการเมือง เกิดระบบคิดในสังคมผิดเพี้ยน แยกแยะผิดชอบชั่วดีไม่ออก เพราะมีผู้คนออกมาวิจารณ์เธอในลักษณะการกล่าวโทษเหยื่อ เช่น หาว่าเธอเองก็คงสมยอม ถ้าไม่
เต็มใจทำไมไม่แจ้งความ อยากดัง ผ่านผู้ชายมากี่คนแล้ว ฯลฯ แม้กระทั่งไปแจ้งความดำเนินคดีฐานที่ไม่ใช่นักเรียนแต่สวมชุดนักเรียน

ผมไม่รู้จะสะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นทั้ง กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่คนกลุ่มหนึ่งปฏิบัติต่อคนอีกกลุ่มหนึ่งในสังคมอย่างไร

ผมชอบคำพูดของ ป้ามลŽ ทิชา ณ นคร ผอ.ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน (ชาย) บ้านกาญจนาภิเษก ที่โพสต์ภาพนักเรียนที่ชูป้ายข้อความดังกล่าว พร้อมเขียนระบุว่า โรงเรียนคือพื้นที่ที่ต้องปลอดภัยสำหรับนักเรียน โดยเฉพาะการละเมิดทางเพศ การใช้ความรุนแรงต่อร่างกายและจิตใจ ข้อเรียกร้องนี้ ต้องไม่ใช่ข้อเรียกร้อง
แต่เป็นสิ่งที่ต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและไม่มีเงื่อนไข

คือหลักฐานเชิงประจักษ์ แม้จะเป็นเเค่ปัญหาบนยอดภูเขาน้ำแข็งที่โผล่ขึ้นมา

ไม่มีข้อสงสัย โรงเรียนไม่ใช่พื้นที่ปลอดภัยสำหรับนักเรียนคือความจริง โรงเรียนคือพื้นที่ผลิตซ้ำ อำนาจนิยมที่สุด ของที่สุดŽ คือความจริง ต้องปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ

แต่ที่น่าสงสัยและไม่น่าให้อภัย คือ คนที่ปกป้องผู้กระทำ คนที่ซ้ำเติมนักเรียนที่ถูกกระทำ คนที่โยนความผิดให้นักเรียนที่ถูกครูกระทำŽ
คนเหล่านี้ ชีวิตของเขา ผ่านวันคืนแบบใด หากมีลูกๆ เขาถูกขัดเกลาด้วยใจ ด้วยภาษาแบบใด วันๆ เขารับฟัง เขาขลุกอยู่ ณ มุมใด ของบ้านเมือง/สังคม เพื่อนพ้องญาติมิตรเคยชวนกันคิดมุมกลับบ้างมั้ย

บางคนอาวุโสมาก … แต่วิธีคิดสวนกับอายุอย่างน่าทึ่ง

เสียดาย ข้าว ปลา อาหาร อากาศ สถานศึกษา ธรรมชาติ และทุกสรรพสิ่ง ฯลฯ ที่แบ่งปัน ไปกิน ไปใช้

ผมก็สงสัยว่าคนเหล่านี้ที่ก่อ กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมŽ เช่นนี้ ถูกขัดเกลามาเช่นไร

โกนจา

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image