อยุธยามาจากไหน รู้จักโลกที่คิดว่าคุ้นเคย    

จนวันนี้   นักเรียนนักศึกษาที่ผ่านโรงเรียนมากระทั่งเติบใหญ่   เป็นปู่เป็นตาเป็นย่าเป็นยาย   ยังเข้าใจอยู่ว่า

สุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรก   คงจะเกือบร้อยทั้งร้อยของคนสัญชาติไทยในประเทศนี้กระมัง

ที่ว่าเกือบร้อยทั้งร้อย   ก็เนื่องจาก   แม้แต่คนที่ชอบเรียนรู้ความก้าวหน้าทางข้อเท็จจริงหรือวิชาการ   ที่ตาม

ธรรมชาติของการเรียนรู้แล้ว   ต้องศึกษาคลี่คลายให้ความสว่างออกมาเรื่อยๆ   เมื่อพบว่าสุโขทัยมิใช่

Advertisement

ราชธานีแห่งแรกของไทย   ความรู้สึกอันเป็นปึกแผ่นของชาติพันธุ์   ก็มิได้เกิดจากอยุธยาสมัยแรกๆ   ที่สืบ

เชื้อพงศ์มาจากเขมร   พูดภาษาไทยสำเนียงลาว   ต่อเมื่อพูดไทยแล้วกลายเป็นคนไทยนั้นก็เริ่มครั้งอยุธยา

นี่เอง

Advertisement

คงต่างยังไม่ค่อยรู้สึกยินยอมพร้อมใจนัก   เพราะเสียดายความเก่าแก่ของตัวเอง   ที่เชื่อกันมาดั้งเดิมว่า

โบราณไปถึงเจ็ดแปดร้อยปีครั้งสุโขทัย   แต่ก็ไม่อาจโต้แย้งข้อเท็จจริงทางวิชาการได้

จะมีก็แต่คนจำนวนไม่เท่าไหร่   ที่มีอุเบกขา   เติบโตมากับการเรียนรู้แต่ความถูกแท้   ไม่ติดยึดมายาคติทั้ง

หลาย   ไม่ว่าจะเป็นชาติพันธุ์หรือการเมือง   จึงยอมรับข้อวิเคราะห์ใหม่ๆจากหลักฐานทางวิชาการได้

นั่นก็เพราะ   การเรียนการสอนในโรงเรียนของเรา   ไม่ได้ฝึกหรือเปิดโอกาสให้คนคิด   ให้ขัดเกลาสมอง

ทดลองปัญญา   เติบโตขึ้นอย่างมีสติสัมปชัญญะพร้อมมูล   ในการเรียนรู้วิถีนานาในการดำเนินชีวิต

อยุธยามาจากไหน  ของ  สุจิตต์  วงษ์เทศ  จึงเป็นประวัติศาสตร์ไทยทางสังคมและเศรษฐกิจการเมือง

ของคนต่างระดับ   หลากหลายวิถีแม้จะกิน  ขี้  ปี้  และนอนเช่นเดียวกัน   ให้เข้าใจว่า   ไทยไม่ได้รบพม่า

แต่อยุธยารบกับหงสาวดีหรือรบกับอังวะ   และพม่าก็ไม่ได้เผาทำลายอยุธยาทั้งหมด   มีแต่ไทยสมัยหลังๆ

ที่มารื้อกำแพงเมืองกับวัดวาอารามและสถูปเจดีย์อยุธยาจนยิ่งทรุดโทรมรกร้าง

อยากรู้จริงๆว่าอยุธยามาจากไหน   เพื่อเข้าใจตัวเองและโลกที่เป็นอยู่   หาอ่านได้ทันทีกับหนังสืออ่านง่าย

แจกแจงแต่ละหัวข้อสั้นๆเข้าใจทันที   เพราะมีที่มาจากหลักฐานอ้างอิงไว้ชัดเจน   ไม่ได้นั่งทางในหรือใส่สีตี

ไข่เขียน

เอาแค่คนอยุธยากินอย่างไร   กินอาหารอะไร   ดื่มอะไร   ออกเรือนสมสู่กันอย่างไร   หญิงชายอยู่กันแบบ

ไหน   มีซ่องโสเภณีถูกกฎหมายล้ำยุคได้  ฯลฯ  แค่ไม่กี่บทก็หูตาสว่างขึ้นทันทีแล้ว   ยิ่งอ่านจบเล่มยิ่งรู้แจ้ง

แทงตลอดไปเลย

จากนั้นต้องอ่าน  โลกที่คิดว่าคุ้นเคย  ของ  สมเกียรติ  วันทะนะ  เป็นงานน่ารู้น่าอ่านซึ่งปรับปรุงจากงาน

วิจัยของอาจารย์ผู้เขียนเองเรื่อง  “ความคิดทางการเมืองไทยสมัยอยุธยา พ.ศ. 1893-2310”  ซึ่งเป็นงานวิจัย

ชิ้นแรกในชุดของอาจารย์ที่จะดำเนินติดต่อกันทุกปีอีก  3  เล่มคือ   ความคิดทางการเมืองไทยสมัยพระเจ้า

กรุงธนบุรีถึงรัชกาลที่  4,  ความคิดทางการเมืองไทยสมัยรัชกาลที่  5  และสุดท้ายความคิดทางการเมือง

ไทยสมัยรัชกาลี่  6

ซึ่งประกันว่าอีกไม่นาน   นักอ่านหรือนักเรียนนักศึกษาจะได้เปิดหูเปิดตากันอีกไม่น้อยแน่นอน

โลกที่คิดว่าคุ้นเคยนี้   ศึกษาความคิดทางการเมืองมาตั้งแต่เรื่องไตรภูมิ   อยุธยาที่เป็นสังคมน้ำท่วม(เอะใจ

อะไรขึ้นมาไหม)   ภูมิปัญญาการปกครองบ้านเมือง   แล้วไปดูเนื้อหาของโองการแช่งน้ำบอกอะไรบ้าง   บท

เรียนการเมืองจากลิลิตพระลอ(หลายคนคงคาดไม่ถึง   เพราะคุ้นแต่กับการพูดถึงลิลิตพระลอในแง่บท)

การเมืองในยวนพ่ายโคลงดั้น

จากนั้นไปรู้จัก  “นาฏรัฐ”  จากกฎมณเฑียรบาลและทวาทศมาส   ก่อนสรุปพระราชพิธีสิบสองเดือนสมัย

อยุธยา

แล้วถึงรู้จักช้างว่าเป็นความคิดทางการเมืองของอยุธยาอย่างไร   รู้เรื่องความคิดทางการเมืองจากทศชาติ

และการสืบราชสมบัติของอยุธยา   ก่อนสรุปด้วยเรื่องพระรามในปราสาทพระอินทร์   ทำไม  –  ก่อนจะได้เห็น

สามภาพชัดๆของความคิดทางการเมืองสมัยอยุธยา

ขยายมาแค่นี้   นักอ่านคนอยากรู้อยากเรียนก็คงกระวนกระวายหาอ่านกันแล้ว

พิมพ์ถึง  13  ครั้งตั้งแต่ปี  2529  การเมืองไทยสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี  หนังสือที่เปิดศักราชการย้อนกลับ

ล่วงลึกไปถึงสมัยพระเจ้าตากสิน   ถกถามและวิเคราะห์วิจารณ์ด้วยหลักฐานข้อมูลที่มี   ถึงประเด็นต่างๆที่ยัง

ค้างคาอยู่ในกระบวนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์สมัยหลัง  2310  ถึงต้นรัตนโกสินทร์

อาจรย์  นิธิ  เอียวศรีวงศ์  เขียนหนังสือหกร้อยหน้าเล่มนี้   ด้วยสายตาที่เพ่งมองครอบคลุมถี่ถ้วนทุกแง่มุม

กับความคิดที่ไล่ตามแง่มุมเหล่านั้นอย่างไม่ตกหล่น   นับตั้งแต่ประเด็นที่พูดกันกว้างขวางที่สุดเรื่องพระสติ

วิปลาสกับถูกสำเร็จโทษจริงหรือไม่   นอกเหนือความคิดทางการเมืองของผู้คนที่เกี่ยวข้องกับอำนาจปกครอง

ในเวลานั้น   จนเกิดการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นมา

ทำไมจึงกล่าวว่า   ทรงเป็นชายร่างเล็กที่พระราชประวติและวีรกรรมยิ่งใหญ่   กระทั่งเป็นเหตุให้มีผู้แต่งเติม

เสริมความออกไปราวกับเป็นนิยาย   ทั้งๆสาระสำคัญของพระราชประวัตินั้นมีนิดเดียว

หนังสือที่จะช่วยให้เห็นภาพว่า   เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้น   มีที่มาที่ไปอย่างไร   จึงเกิดขึ้นและลงท้ายเช่น

นั้น   การเกี่ยวข้องระหว่างปัจเจกบุคคลที่ตกในสภาพแวดล้อมอันไม่แตกต่าง   บรรทัดฐานสังคมที่ให้ค่านิยม

ไม่แตกต่าง   กลายเป็นความคิดทางการเมืองลักษณะใดลักษณะหนึ่ง   และให้คุณให้โทษแก่ปัจเจกบุคคล

อย่างไร

หากยังมิได้อ่าน   ต้องเร่งหาอ่านก่อนศักราชใหม่จะมาถึงได้แล้ว

หากยังนอนสบายไม่อยากตื่น   หลายคนคงสบายจนครางอิ๊ๆๆอ๊ะๆๆออกมาเป็นชื่อตู่แน…   ด้วยรัญจวนถึงการเลือกตั้ง   แต่หากอยากให้รู้แน่ว่าทุกวันนี้สบายกันขนาดไหนก็ต้องอ่าน  *มติชนสุดสัปดาห์*  ฉบับประเทศกรูก็มี้….

พลาดไม่ได้ทีเดียวเชียว.

บรรณาลักษณ์

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image