ปัญหา ‘ฮ่องกง’ บนเวที G20 : โดย ศ.ชยานันต์ ศุกลวณิช

การประชุมขั้นสุดยอดจี 20 ที่โอซากา ญี่ปุ่น ประชาคมโลกได้สปอตไลต์ไปที่ประเด็นการค้า แต่คนฮ่องกงจำนวนไม่น้อยสนใจในประเด็นร่างกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดนจะได้เข้าสู่การพูดคุยในเวทีจี 20 หรือไม่ เพราะส่วนใหญ่คัดค้านร่างกฎหมายดังกล่าว

เริ่มต้นด้วยการต่อต้านรัฐบาลเขตปกครองพิเศษฮ่องกง เหตุการณ์ได้ลุกลามไปอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเกิดการปะทะกันระหว่างตำรวจกับประชาชน จนกลายเป็น “จลาจล”

จึงเกิดกการผลักดันให้เป็นกระแสโลกาภิวัตน์ เพื่อเห็นผลเชิงประจักษ์

เป้าหมายคือ “ปักกิ่ง” หากมิใช่ “ฮ่องกง”

Advertisement

จึงเกิดคำถามว่า “เพื่อวัตถุประสงค์ใด”

น่าสนใจ

แม้รัฐบาลฮ่องกงออกประกาศชะลอการนำร่างแก้ไขกฎหมายเข้าสู่สภาเป็นการชั่วคราว แต่ยังไม่เป็นที่ยอมรับของผู้ชุมนุมประท้วง และเรียกร้องให้รัฐบาล “ถอนร่าง” ออกอย่างเป็นทางการ และทำการตรวจสอบการใช้อาวุธสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

Advertisement

เนื่องจากมีการประชุมจี 20 วันที่ 28-29 มิถุนายน ผู้ชุมนุมเห็นว่าควรใช้โอกาสนี้กดดัน อันมีพลเมืองเครือข่ายออนไลน์ต่างภาษาจำนวนมาก ได้ลง “โฆษณาการเมือง” โดยเรียกร้องให้ประชาคมโลกสนใจประเด็นปัญหาความขัดแย้ง “ร่างกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน”

วัตถุประสงค์ของจี 20 คือมุ่งเน้นปัญหาเศรษฐกิจโลกาภิวัตน์ การที่จะนำเอาประเด็นภายในของแต่ละประเทศเข้าสู่การเจรจาของเวทีสากล ไม่อยู่ในวิสัยที่เป็นไปได้ ปักกิ่งก็ได้แถลงชัดเจนว่า ไม่รับการเจรจาประเด็นปัญหาฮ่องกงในระหว่างการประชุมจี 20

แต่ก็อาจมีโอกาสในการเจรจาระดับทวิภาคีระหว่างผู้นำสองประเทศ

ก่อนการประชุมจี 20 “พอมเพโอ” รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศสหรัฐ กล่าวว่า หากการเจรจาระหว่าง “โดนัลด์ ทรัมป์-สี จิ้นผิง” ราบรื่น ก็อาจยกประเด็น “ฮ่องกง” ขึ้นมาคุยกัน

ครั้นเมื่อนายกรัฐมนตรีชินโสะ อาเบะ ได้พบกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน ระหว่างการประชุมทวิภาคี เขาได้พูดถึงปัญหาฮ่องกง ซึ่งเป็นการแตกแถวแหวกแนวที่เกิดขึ้นในเวทีสากล ส่วนจะเป็นคุณหรือเป็นโทษต่อฮ่องกง ยังยากแก่การคาดเดา

สำนักนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นแจ้งว่า “ชินโสะ อาเบะ” ได้ยกประเด็นความขัดแย้ง “กฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน” โดยอ้างอิง “นัยความสำคัญแห่งเสรีภาพภายใต้นโยบายหนึ่งประเทศสองระบบ”

ส่วนคำตอบของ “สี จิ้นผิง” ไม่สามารถทราบได้

ที่แน่ๆ ก็คือ ปักกิ่งคัดค้านการแทรกแซงกิจการภายในของต่างประเทศมาโดยตลอด และยังทำการต่อต้านอย่างรุนแรง ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมดาของจีน

อย่างไรก็ตาม การประชุมทวิภาคีระหว่าง “สี จิ้นผิง” และ “ชินโสะ อาเบะ” ในครั้งนี้ อุดมด้วยความชื่นมื่น ชื่นมื่นโดยการรับรู้ร่วมกันเพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ทำการผลักดันความสัมพันธไมตรีให้พัฒนาไปสู่ความเจริญก้าวหน้า นอกจากนี้ “สี จิ้นผิง” ยังตอบรับคำเชิญไปเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการในฤดูใบไม้ผลิปีหน้าอีกด้วย

ปัจจุบัน จีน-ญี่ปุ่นล้วนมีเจตนาที่จะเพิ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจให้มากยิ่งขึ้น

ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ปัญหาและความขัดแย้งระหว่างจีน-ญี่ปุ่นที่รุนแรงที่สุดคือ

1 ปัญหาทางการค้า

1 ความขัดแย้ง “Fishing island” (釣魚島)

การที่ “ชินโสะ อาเบะ” ได้อ้างอิงนโยบาย “หนึ่งประเทศสองระบบ” ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นในเชิงสัญลักษณ์ว่า ประสงค์ให้ปัญหาฮ่องกงดำรงอยู่ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์นั้น

เป็นการ “โยนหินถามทาง” เท่านั้น มิใช่เป็นการกดดัน

แม้ “ชินโสะ อาเบะ” เป็นนักการเมืองหมัดหนัก แต่การสนทนากับ “สี จิ้ผิง” มีกิริยามารยาทนิ่มนวลอ่อนโอน สุขุมคัมภีรภาพ มิได้มีปรากฏการณ์ที่ระคายเคืองต่อคู่สนทนาแต่อย่างใด

ส่วนการเรียกร้องประเด็น “กฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน” ให้เป็นปัญหาโลกาภิวัตน์นั้น

ตรรกะไม่มีเหตุผล

เพราะว่าเป็นพฤติการณ์ที่ผิดฝาผิดตัว กล่าวคือ ฮ่องกงเป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน กรณีเสมือนการนำเอาเรื่องภายในครอบครัวไปประจานต่อชาวโลก

นอกจากแก้ปัญหาไม่ได้ อาจจะทำให้บานปลาย เกิดความวุ่นวายมากขึ้น

ไม่ว่าสื่อในฮ่องกงหรือต่างประเทศ ล้วนได้อ้างอิงถึง “ถ้อยคำ” การเรียกร้องของผู้ชุมนุมประท้วงต่างๆ เช่น “Free Hong Kong” “Please liberate Hong Kong” เป็นต้น

กรณีเป็นการเรียกร้องที่ไปไกลมากจนออกนอกขอบเขต เพราะสื่อถึงการเป็น “เอกราช” ของฮ่องกงในเชิงสัญลักษณ์ ซึ่งสวนทางกับนโยบาย “หนึ่งประเทศสองระบบ”

เกิดขึ้นมิได้เป็นอันขาด

ศ.ชยานันต์ ศุกลวณิช

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image