สุจิตต์ วงษ์เทศ : ไหว้ครูที่ตายไปแล้ว ไม่ไหว้ครูเป็นๆ

ฝนแล้งนัก ชาวบ้านก็แห่พระพิฆเนศ ผมชอบพระพิฆเนศอยู่แล้วจึงเข้าร่วมกระบวนแห่ด้วย เพราะพระพิฆเนศเป็นกันเองกับชาวบ้านมาก เรียกว่า “เทวดาลูกทุ่ง” เพราะทุกหนทุกแห่งเต็มไปด้วยพระพิฆเนศ

เข้าฤดูไหว้ครู ที่มักแสดงตนรักความเป็นไทยอย่างสำเร็จรูป ว่าไหว้ครูเป็นประเพณีไทยมาแต่โบราณกาล หนักข้อก็ลากย้อนถึงยุคสุโขทัย โดยเน้นไหว้ครูที่มีตัวเป็นๆ ทุกวันนี้
ไหว้ครูเก่าสุดยุค ร.4 ไหว้ครูที่ตายไปแล้ว ไม่ไหว้ครูตัวเป็นๆ ซึ่งเพิ่งมีสมัยไม่นานนี้เอง แต่ในอินเดียไม่พบประเพณีไหว้ครูอย่างที่มีในไทย
ผมเคยเขียนเกี่ยวกับไหว้ครูไว้นานแล้ว จะยกมาดังต่อไปนี้

บริเวณนี้เป็นศูนย์กลางของเทวสถานเมืองจิทัมพรัม เรียกกันว่ากนกสภา และจิตสภา พระอิศวรและพระนารายณ์ประทับอยู่ในสภาเหล่านี้ เมื่อ พ.ศ. 2530 ผมไปบวงสรวงบูชาพระอิศวรที่นี่ แล้วคิดถึงครูโขน/ละคร/ดนตรีไทยทุกท่าน
บริเวณนี้เป็นศูนย์กลางของเทวสถานเมืองจิทัมพรัม เรียกกันว่ากนกสภา และจิตสภา พระอิศวรและพระนารายณ์ประทับอยู่ในสภาเหล่านี้ เมื่อ พ.ศ. 2530 ผมไปบวงสรวงบูชาพระอิศวรที่นี่ แล้วคิดถึงครูโขน/ละคร/ดนตรีไทยทุกท่าน

ไปไหว้พระอิศวร ที่อินเดียใต้ ไม่มีไหว้ครู

เมื่อ พ.ศ. 2530 คุณไมเคิล ไรท์ นำทางไปเข้าเฝ้าพระอิศวรและ “ศิวนาฏราช” ที่เมืองจิทัมพรัม อินเดียใต้ คุณอรุณ วัชระสวัสดิ์ การ์ตูนิสต์ชวนผมไปด้วย
ชาวอินเดียถือว่าเมืองจิทัมพรัมเป็นที่พระอิศวรได้เสด็จลงมาแสดงตำราฟ้อนรำให้มนุษยโลก ต่อมาจึงคิดสร้างเทวรูปพระอิศวรปางเมื่อทรงแสดงการฟ้อนรำ เรียกว่า “นาฏราช”
ที่ “โคปุรัม” หรือ “โคปุระ” หรือซุ้มประตูทางเข้าเทวสถานกลางเมืองจิทัมพรัม มีลวดลายเครื่องประดับจำหลักเป็นรูปพระอิศวรทรงฟ้อนรำครบทั้ง 108 ท่า (เรียกกรณะ) ตามที่มีในตำราของพระภรตฤๅษี
ในที่สุด ผมก็ไปถึงจิทัมพรัม จึงพากันเข้าไปกระทำพธีบูชาสังเวยพระอิศวร “นาฏราช” ด้วยเครื่องสังเวยถูกต้องตามธรรมเนียมประเพณีชมพูทวีปทุกอย่าง แล้วยังได้ทำบุญคนละ 5 รูปี เพื่อให้ท่านพราหมณ์ทำพิธีอันดีงามตามตำรับแต่โบราณ
“คุณสุจิตต์อธิษฐานอะไรตอนที่พราหมณ์ทำพิธีต่อพระพักตร์เทวรูปพระอิศวรในกนกสภา” คุณไมเคิล ไรท์ ถามขึ้นในโรงเตี๊ยมของรัฐที่เมืองจิทัมพรัม
“ผมอธิษฐานขอให้พระอิศวรประทานพรเหมือนตอนที่ท่านประทานให้กับพะยาอนันตนาคราช แล้วขอประทานครอบดนตรีและนาฏศิลป์ให้ผมด้วย” ผมตอบอย่างดีที่สุดตอนนั้น
[เรื่องและรูป ปรับใหม่จากคำให้การบรรณาธิการ นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 8 ฉบับที่ 12 (ตุลาคม 2530) หน้า 118-121]

) ภาพจำหลักหินท่ารำ 108 ท่าที่พระอิศวรสอนเอาไว้อยู่ในซุ้มประตูทางที่เดินเข้าจิทัมพรัม
ภาพจำหลักหินท่ารำ 108 ท่าที่พระอิศวรสอนเอาไว้อยู่ในซุ้มประตูทางที่เดินเข้าจิทัมพรัม
นี่แหละ เดินเข้าไปทางประตูนี้
นี่แหละ เดินเข้าไปทางประตูนี้
พราหมณ์กำลังโหมกูณฑ์บูชาไฟในเทว สถานจิทัมพรัมเพื่อทำพิธีให้กับผู้หญิงที่อยู่ข้างหน้า หล่อนจะแต่งงานใหม่
พราหมณ์กำลังโหมกูณฑ์บูชาไฟในเทว สถานจิทัมพรัมเพื่อทำพิธีให้กับผู้หญิงที่อยู่ข้างหน้า หล่อนจะแต่งงานใหม่
พระพิฆเนศอยู่ข้างทางตลอดทุกหมู่บ้านในอินเดียภาคใต้
พระพิฆเนศอยู่ข้างทางตลอดทุกหมู่บ้านในอินเดียภาคใต้
ฝนแล้งนัก ชาวบ้านก็แห่พระพิฆเนศ ผมชอบพระพิฆเนศอยู่แล้วจึงเข้าร่วมกระบวนแห่ด้วย เพราะพระพิฆเนศเป็นกันเองกับชาวบ้านมาก เรียกว่า “เทวดาลูกทุ่ง” เพราะทุกหนทุกแห่งเต็มไปด้วยพระพิฆเนศ
ฝนแล้งนัก ชาวบ้านก็แห่พระพิฆเนศ ผมชอบพระพิฆเนศอยู่แล้วจึงเข้าร่วมกระบวนแห่ด้วย เพราะพระพิฆเนศเป็นกันเองกับชาวบ้านมาก เรียกว่า “เทวดาลูกทุ่ง” เพราะทุกหนทุกแห่งเต็มไปด้วยพระพิฆเนศ
นี่ก็ศาลพระพิฆเนศข้างถนน ทำกันง่ายๆ เป็นกันเองกับชาวบ้าน
นี่ก็ศาลพระพิฆเนศข้างถนน ทำกันง่ายๆ เป็นกันเองกับชาวบ้าน

ไหว้ครู ครอบครู นาฏศิลป์และดนตรี

ประเพณีพื้นเมืองอาเซียน ไม่มีในอินเดีย

ไหว้ครู ครอบครู โขนละครและปี่พาทย์ พบหลักฐานเก่าสุดว่าทำเป็นแบบแผนในราชสำนักสมัย ร.4 กรุงรัตนโกสินทร์ ตกทอดถึงปัจจุบัน แล้วแพร่หลายลงสู่ชุมชนหมู่บ้าน

ก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ไม่พบหลักฐาน แต่มีร่องรอยเชื่อได้ว่าไหว้ครู ครอบครู เป็นประเพณีสืบเนื่องจากพิธีเลี้ยงผีของคนในชุมชนดั้งเดิมดึกดำบรรพ์ ราว 3,000 ปีมาแล้ว

Advertisement

ต่อมาเพื่อให้ขลังและศักดิ์สิทธิ์ จึงปรับเปลี่ยนโดยจำลองพิธีถือน้ำพระพัทธ์ (ของพราหมณ์พื้นเมือง) เคลือบพิธีเลี้ยงผีแบบบ้านบ้าน

ในอินเดียมีพิธีบูชามหาเทพเป็นปกติในชีวิตประจำวัน แต่ไม่มีพิธีไหว้ครู ครอบครู แบบเดียวกับไทยปฏิบัติสืบมาทุกวันนี้

ครูมนตรี ตราโมท ประธานพิธีไหว้ครู ครอบครู ดนตรีไทย (ภาพจากหนังสือ ลักษณะไทย 3 ศิลปะการแสดง ธนาคารกรุงเทพ พิมพ์ครั้งที่สอง พ.ศ. 2551 หน้า 26)
ครูมนตรี ตราโมท ประธานพิธีไหว้ครู ครอบครู ดนตรีไทย (ภาพจากหนังสือ ลักษณะไทย 3 ศิลปะการแสดง ธนาคารกรุงเทพ พิมพ์ครั้งที่สอง พ.ศ. 2551 หน้า 26)

เลี้ยงผี ที่สิงเครื่องมือทำมาหากิน

ไหว้ครู ครอบครู มีความเป็นมาจากพิธีขอขมาเลี้ยงผีที่สิงเครื่องมือเครื่องใช้ทำมาหากิน ของคนในชุมชนดั้งเดิมดึกดำบรรพ์ ราว 3,000 ปีมาแล้ว

Advertisement

[ผีในที่นี้เป็นผีดี หมายถึงผีบรรพชนทั้งหลาย ซึ่งมีมาตั้งแต่ยุคก่อนๆ นับไม่ได้ แต่รวมพลังเป็นหน่วยเดียวเพื่อคอยปกป้องคุ้มครองชุมชน]

เลี้ยงผี ที่สิงเครื่องมือทำมาหากิน ไหว้ครู ครอบครู มีความเป็นมาจากพิธีขอขมาเลี้ยงผีที่สิงเครื่องมือเครื่องใช้ทำมาหากิน ของคนในชุมชนดั้งเดิมดึกดำบรรพ์ ราว 3,000 ปีมาแล้ว [ผีในที่นี้เป็นผีดี หมายถึงผีบรรพชนทั้งหลาย ซึ่งมีมาตั้งแต่ยุคก่อนๆ นับไม่ได้ แต่รวมพลังเป็นหน่วยเดียวเพื่อคอยปกป้องคุ้มครองชุมชน]
เลี้ยงผี ที่สิงเครื่องมือทำมาหากิน
ไหว้ครู ครอบครู มีความเป็นมาจากพิธีขอขมาเลี้ยงผีที่สิงเครื่องมือเครื่องใช้ทำมาหากิน ของคนในชุมชนดั้งเดิมดึกดำบรรพ์ ราว 3,000 ปีมาแล้ว
[ผีในที่นี้เป็นผีดี หมายถึงผีบรรพชนทั้งหลาย ซึ่งมีมาตั้งแต่ยุคก่อนๆ นับไม่ได้ แต่รวมพลังเป็นหน่วยเดียวเพื่อคอยปกป้องคุ้มครองชุมชน]
คนแต่ก่อนเชื่อว่าผีมีอำนาจเหนือธรรมชาติ บังคับบัญชาได้เพื่อให้มีความอุดมสมบูรณ์ต่อชุมชน ขณะเดียวกันก็ควบคุมเครื่องมือเครื่องใช้ให้มีประสิทธิภาพ

ดังนั้น เมื่อถึงช่วงว่างหลังฤดูเก็บเกี่ยวพืชพันธุ์ธัญญาหารประจำปีแล้ว จึงร่วมกันทำพิธีขอขมาเลี้ยงผีที่สิงในเครื่องมือเครื่องใช้ของทุกครัวเรือน โดยยกไปรวมกันกลางลานบ้านที่จะมีพิธีกรรม ตั้งแต่ขนาดใหญ่ เช่น ไถ, คราด ฯลฯ และขนาดไม่ใหญ่ เช่น ครก, สาก, กระบุง, กระด้ง, กระจาด, มีด, พร้า, ขวาน, สิ่ว ฯลฯ

คนแต่ก่อนเชื่อว่าผีมีอำนาจเหนือธรรมชาติ บังคับบัญชาได้เพื่อให้มีความอุดมสมบูรณ์ต่อชุมชน ขณะเดียวกันก็ควบคุมเครื่องมือเครื่องใช้ให้มีประสิทธิภาพ ดังนั้น เมื่อถึงช่วงว่างหลังฤดูเก็บเกี่ยวพืชพันธุ์ธัญญาหารประจำปีแล้ว จึงร่วมกันทำพิธีขอขมาเลี้ยงผีที่สิงในเครื่องมือเครื่องใช้ของทุกครัวเรือน โดยยกไปรวมกันกลางลานบ้านที่จะมีพิธีกรรม ตั้งแต่ขนาดใหญ่ เช่น ไถ, คราด ฯลฯ และขนาดไม่ใหญ่ เช่น ครก, สาก, กระบุง, กระด้ง, กระจาด, มีด, พร้า, ขวาน, สิ่ว ฯลฯ

พิธีกรรมเลี้ยงผีขอขมา

พิธีเลี้ยงผีขอขมา มี 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่ เลี้ยงผี, เลี้ยงคน, เล่นเสี่ยงทาย

  1. เลี้ยงผี คือ จัดเครื่องเซ่นรวมกันบนลานพิธี แล้วขับลำคำคล้องจองร้องเชิญผีให้กินเครื่องเซ่น
  2. เลี้ยงคน คือ ถอนเครื่องเซ่นจากผี ไปเลี้ยงคนที่มาในพิธี แล้วกินร่วมกัน
  3. เล่นเสี่ยงทาย คือ เชิญผีลงทรง แล้วเข้าทรง มีการละเล่นต่างๆ สุดท้ายมีคำทำนายฤดูกาลข้างหน้า จะมีอุปสรรคขวากหนามใดๆหรือไม่? จะได้เตรียมรับสถานการณ์

[สรุปจากการละเล่นและพิธีกรรมในสังคมไทย โดย ปรานี วงษ์เทศ ในหนังสือวัฒนธรรมพื้นบ้าน : คติความเชื่อ จัดพิมพ์โดย โครงการไทยศึกษา และโครงการเผยแพร่ผลงานวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2528 หน้า 225-324]

เล่นผีนางด้ง หรือผีกระด้ง
เล่นผีนางด้ง หรือผีกระด้ง
เล่นผีลอบผีไซ
เล่นผีลอบผีไซ
เล่นผีข้อง
เล่นผีข้อง
เล่นผีลิงลม เป็นการละเล่นเข้าทรงผีในเครื่องมือทำมาหากิน ราว พ.ศ. 2543 อ. บ้านลาด จ. เพชรบุรี
เล่นผีลิงลม เป็นการละเล่นเข้าทรงผีในเครื่องมือทำมาหากิน ราว พ.ศ. 2543 อ. บ้านลาด จ. เพชรบุรี

ไหว้ครู ครอบครู

พิธีเลี้ยงผีขอขมา ถูกปรับเปลี่ยนเป็นพิธีไหว้ครู ครอบครู

นาฏศิลป์และดนตรีในไทย ครูที่ตายไปแล้วคือผีบรรพชน ได้สิงอยู่ในเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น เทริด, หน้ากาก, เครื่องดนตรีต่างๆ ฯลฯ เมื่อใช้ประกอบอาชีพทำมาหากินได้ปีหนึ่ง ต้องมีพิธีเลี้ยงผีขอขมา ที่สมมุติชื่อเรียกใหม่ว่าไหว้ครู ครอบครู

เครื่องมือเครื่องใช้ร้องรำทำเพลง (ปัจจุบันเรียกนาฏศิลป์และดนตรี) ล้วนมีผีสิง เพราะคนได้รับถ่ายทอดความรู้สิ่งเหล่านั้นจากผีบรรพชน คือแถน พบร่องรอยคำบอกเล่าอยู่ในพงศาวดารล้านช้าง ว่าแถนหลวงบันดาลให้มี “เครื่องอันจักเล่นจักหัวและเสพลำคำขับ”      มีความตอนหนึ่งดังนี้

“เมื่อนั้นพระยาแถนหลวงจึงให้ศรีคันธพะเทวดา ลาลงมาบอกสอนคนทั้งหลายให้เฮ็ดฆ้องกลองกรับ เจแวงปี่พาทย์พิณเพี้ยะเพลงกลอนได้สอนให้ดนตรีทั้งมวล และเล่าบอกส่วนครูอันขับฟ้อนฮ่อนนะสิ่งสว่าง ระเมงละมางทั้งมวลถ้วนแล้ว” 

ร่องรอยเลี้ยงผีบรรพชนที่เชื่อว่าเป็นครูคนแรกสอนร้องรำ ยังมีเค้ามูลอยู่ในคำกลอนไหว้ครูละครชาตรี กล่าวขอขมาแม่นวนสำลี, แม่สีมาลา

 

พิธีกรรม ผี พราหมณ์ พุทธ

ราชสำนักกรุงรัตนโกสินทร์ รับประเพณีเลี้ยงผีขอขมาแบบบ้านบ้าน ไปปรับเปลี่ยนให้ศักดิ์สิทธิ์ขึ้น

โดยจำลองอุปกรณ์และขั้นตอนพิธีถือน้ำพระพัทธ์ (ของพราหมณ์พื้นเมือง) เคลือบพิธีเลี้ยงผีแบบบ้านบ้าน แล้วเพิ่มพิธีพุทธ มีสวดมนต์เย็น ฉันเช้า และให้มีเพลงสาธุการเป็นเพลงแรก (สัญลักษณ์บูชาพระรัตนตรัย) เมื่อบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ประกอบอ่านโองการ

หลักฐานสนับสนุนกรณีนี้มีเก่าสุดสมัย ร.4 คือ สำเนาหมายรับสั่งเรื่องไหว้ครูละครหลวง พ.ศ. 2397 และพระตำราครอบโขนละคร ฉบับหลวง [มีรายการอย่างละเอียดอยู่ในหนังสือ พิธีไหว้ครู ตำราครอบโขนละคอน พร้อมด้วยตำนานและคำกลอนไหว้ครูละคอนชาตรี กรมศิลปากร พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2494 (ดูใน www.sujitwongthes.com)]

อุปกรณ์ในพิธีถือน้ำพระพัทธ์ที่ถูกปรับใช้ในพิธีไหว้ครู ครอบครู มีหลายรายการ เช่น

ตั้งเครื่องบวงสรวงสังเวยบูชา เลือกเฉพาะที่สำคัญ เช่น เชือกบาศ, บายสี, หญ้า แพรก, ใบมะตูม, ขันสาคร (หรือบาตรน้ำมนต์) ฯลฯ

เชิญเทวดาโดยตั้งเทวรูปเป็นสัญลักษณ์์เหมือนพิธีอินทราภิเศก (มีในกฎมณเฑียรบาล)

อ่านโองการเชิญเทพยดาอารักษ์ฯมาในมณฑลพิธี ด้วยทำนองศักดิ์สิทธิ์ของภาษาร่าย (ที่พราหมณ์ได้จากหมอผีพื้นเมืองดั้งเดิม)

พิธีถือน้ำพระพัทธ์ (เดิมเรียกพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา) มีหลักฐานเก่าสุดบนภาพสลักที่ปราสาทนครวัด ในกัมพูชา ราว พ.ศ. 1650 แล้วส่งแบบแผนเข้าสู่ราชสำนักละโว้-อโยธยา และกรุงศรีอยุธยา อยู่ในโองการแช่งน้ำ ราวหลัง พ.ศ. 1800 [มีคำอธิบายอย่างละเอียดในหนังสือภาษาและวรรณคดีในสยามประเทศ ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2546 หน้า 159-249 (ดูบางตอนใน www.sujitwongthes.com)]

 

ชุมชนทำเลียนแบบ

ไหว้ครู ครอบครู แบบราชสำนัก จำกัดเฉพาะในแวดวงรั้ววังเจ้านายและขุนนางชั้นสูงเท่านั้น ยังไม่แพร่หลายลงสู่ชุมชนชาวบ้านนาฏศิลป์และดนตรี

หลังจากนั้นชุมชนบางแห่งค่อยๆเลียนแบบไหว้ครู แต่ยังทำไม่ครบ เพราะถือเป็นของศักดิ์สิทธิ์ชั้นสูง

ดังที่คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง เล่าว่าสมัย (ร.5) ครูสินกับครูสอน (หลวงประดิษฐไพเราะ) ทำไหว้ครู ไม่เคยเรียกเพลงหน้าพาทย์ เพราะเป็นของสูง แต่จะเริ่มมีหน้าพาทย์ตั้งแต่แผ่นดิน ร.6 [เอกสารโครงการองค์ความรู้เรื่องพิธีไหว้ครูดนตรีไทย จัดทำโดยกลุ่มดุริยางค์ไทย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ. 2522]

หลังจากนั้นอีกนานมาก จึงแพร่หลายสู่ชุมชนดนตรีไทยของราชการ และสถาบันการศึกษา แต่จำกัดเฉพาะบางกลุ่มในภาคกลาง ไม่ทำทั่วไปทั้งประเทศ เฉพาะในอีสานยังเลี้ยงผีขอขมาแบบดั้งเดิม

 

ไหว้ครู

ไหว้ครู หมายถึงพิธีกรรมที่บรรดาครูมนุษย์ (หรือครูปัจจุบัน) กับเหล่าลูกศิษย์ ร่วมกันแสดงคารวะ ครูผี, เจ้า, เทพ, เทวดา (เช่น พระอีศวร) ผู้เป็นครูในอดีตที่ตายไปแล้ว

หรืออีกนัยหนึ่งรวมกันแสดงคารวะหลักการทางนามธรรมอย่างหนึ่ง โดยยกย่องครูอาวุโสคนหนึ่งทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารระหว่างครูผีกับผู้เข้า ร่วมพิธี ด้วยภาษาร่าย คือคำคล้องจองที่ยกย่องเป็นภาษาพิเศษ

 

ครอบครู

ครอบครู หมายถึงเริ่มประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้นั้นๆ เช่น ความรู้ด้านดนตรี, นาฏศิลป์, ฯลฯ

ครูผู้ทำพิธีครอบ จะยกศีรษะพ่อแก่ (พระอีศวร) สัญลักษณ์ของครูผี หมายถึง วิชาความรู้ (หรือหลักการทางนามธรรมอย่างหนึ่ง) ครอบลงบนศีรษะของลูกศิษย์หรือผู้เรียนวิชา แสดงว่าเริ่มต้นเรียนวิชาความรู้อย่างสมบูรณ์และมั่นใจแล้ว

ครูอ่านโองการในพิธีไหว้ครู ครอบครู ต้องเข้าทรงเชิญพลังศักดิ์สิทธิ์จากครูผีมาครอบงำ หรือสิงสู่อยู่ในตัวตนครูอ่านโองการเสียก่อน ถึงจะเชื่อมพลังศักดิ์สิทธิ์จากครูผีมาครอบให้ลูกศิษย์ปัจจุบัน

การแต่งตัวของครูอ่านโองการในพิธีไหว้ครู ครอบครู ต่างจากปกติ เช่น โจงกระเบนชุดนุ่งขาวห่มขาว, ฯลฯ เป็นสัญลักษณ์แสดงว่าขณะนั้นถูกสิงด้วยพลังลี้ลับของครูผีอย่างสมบูรณ์แล้ว

รำถวายมือ หรือจับมือทำเพลงดนตรี เครื่องมือต่างๆ หมายถึงวิชาความรู้จากครูผีได้ถ่ายทอดสู่ลูกศิษย์แล้ว

[สรุปสาระสำคัญจากบทความเรื่องพิธีกรรมไหว้ครู ของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ในศิลปวัฒนธรรม (ปีที่ 6 ฉบับที่ 11) กันยายน 2528 หน้า 22-25]

 

พ่อแก่, อีศวร, ศิวะ

พ่อแก่ คือพระอีศวรหรือพระศิวะ ประธานของไศวศาสน์ (กลายคำเป็น ไสยศาสตร์ สืบถึงปัจจุบัน) สุนทรภู่พรรณนาไว้ในหนังสือรำพันพิลาปว่า

ขอเดชะพระสยมบรมนาถ                             เจ้าไกรลาศโลกามหาสถาน

ทรงวัวเผือกเงือกหงอนสังวรสังวาล                ถือพัดตาลตาไฟประลัยกัลป์

นักแสดงละคร, ลิเก เคารพนับถือ พ่อแก่ มักทำศีรษะ พ่อแก่ ไว้บูชาประจำโรงละคร, ลิเก

พ่อแก่และตะโพน สัญลักษณ์ครูเทวดาของร้องรำทำเพลง ดนตรีและนาฏศิลป์ (ภาพจากหนังสือของศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ พ.ศ. 2525)
พ่อแก่และตะโพน สัญลักษณ์ครูเทวดาของร้องรำทำเพลง ดนตรีและนาฏศิลป์ (ภาพจากหนังสือของศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ พ.ศ. 2525)
พระอีศวร สำริด ฝีมือช่างแบบสุโขทัย พบที่ จ. สุโขทัย
พระอีศวร สำริด ฝีมือช่างแบบสุโขทัย พบที่ จ. สุโขทัย
พระอีศวร สำริด ฝีมือช่างยุคอยุธยา พบที่ จ. กำแพงเพชร
พระอีศวร สำริด ฝีมือช่างยุคอยุธยา พบที่ จ. กำแพงเพชร

เพลงหน้าพาทย์

เพลงหน้าพาทย์ หมายถึงเพลงที่บรรยายกิริยาอาการเคลื่อนที่ไปมาของผี, เจ้า, เทพ, เทวดา หรือของกษัตริย์

ในพิธีไหว้ครู เพลงหน้าพาทย์เป็นสัญลักษณ์ว่าเทวดากำลังเสด็จมาในพิธีไหว้ครู ครอบครู

ตระ เป็นภาษาเขมร แปลว่า เพลง (เพลงก็ยืมมาจากคำเขมร) ถือเป็นคำศักดิ์สิทธิ์ ใช้เรียกทำนองหน้าพาทย์ แทนคำว่าเพลง เช่น ตระนารายณ์บรรทมสินธุ์ บรรยายกิริยาอาการของพระนารายณ์ที่บรรทมอยู่เกษียรสมุทร ทรงตื่นบรรทม แล้วทรงครุฑเสด็จมาถึงบริเวณพิธีไหว้ครู ฯลฯ เป็นต้น

วงปี่พาทย์

ในพิธีไหว้ครู ครอบครู ต้องมีวงปี่พาทย์บรรเลงเพลงหน้าพาทย์เพื่อเชิญเทวดาและผู้มีฤทธิ์มีอำนาจอื่นๆ มาเป็นสักขีพยาน

ปี่พาทย์ หมายถึงเครื่องประโคมอย่างหนัก มีเครื่องตี (คือ ฆ้อง, กลอง) และเครื่องเป่า (คือ ปี่) เป็นหลัก ในเอกสารโบราณเรียก ปี่พาทย์ฆ้องวง 

เครื่องตี มีฆ้องวง (ใหญ่, เล็ก), กลองทัด (ผู้, เมีย), ระนาด (เอก, ทุ้ม) เป็นเครื่องดนตรีมีขึ้นในสุวรรณภูมิอุษาคเนย์เท่านั้น ไม่มีในอินเดียและจีน ส่วนตะโพนรับจากอินเดีย

เครื่องเป่า มีปี่ มีพัฒนาการจากแคนในสุวรรณภูมิอุษาคเนย์ ไม่มีในอินเดียและจีน

 

ยกมือไหว้เครื่องดนตรี

เครื่องดนตรีทุกอย่างเชื่อว่ามีครูผี, ครูเทวดา สิงอยู่ ถือเป็นเครื่องมือศักดิ์สิทธิ์

ฉะนั้น เมื่อจะใช้งาน หรือใช้งานแล้ว ต้องยกมือไหว้เครื่องดนตรีนั้นๆ เพื่อแสดงความนอบน้อมเคารพเครื่องมือทำมาหากินอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นความเชื่อสืบเนื่องจากผีสิงในเครื่องมือเครื่องใช้ทำมาหากินยุคดึกดำบรรพ์

 

เคยเชื่อว่าไหว้ครู ครอบครู ได้จากอินเดีย

ไม่เคยพบหลักฐานตรงๆ สนับสนุนตามที่เชื่อต่อๆ กันมา ว่าไหว้ครู ครอบครู ได้จากอินเดีย เป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมฮินดูในศาสนาพราหมณ์ มีแต่อ้างตามความเชื่อส่วนบุคคล จะยกเฉพาะที่สำคัญมาดังต่อไปนี้

ตำราพราหมณ์

ครูมนตรี ตราโมท (ศิลปินแห่งชาติ) บอกไว้ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2481) ว่า “พิธีไหว้ครูของเราเอาแบบอินเดียมาใช้ เพราะชื่อเทพเจ้าทุกๆ องค์ตรงตามตำราแห่งศาสนาพราหมณ์ทั้งสิ้น”

[ดุริยางคศาสตร์ไทย ภาควิชาการ โดย มนตรี ตราโมท (นามเดิม บุญธรรม ตราโมท) พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2481, สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งที่สอง พ.ศ. 2540 หน้า 81-82]

 

ห้ามผู้หญิงทำพิธีครอบครู

นายธนิต อยู่โพธิ์ (อดีตอธิบดีกรมศิลปากร) ไม่บอกว่าพิธีไหว้ครูมาจากไหน? แต่บอกว่าผู้ครอบครูต้องเป็นครูผู้ชายเท่านั้น ครูผู้หญิงทำไม่ได้

“พิธีไหว้ครูและตำราครอบโขนละคอน คงเป็นของเก่า มีสืบเนื่องมาแต่โบราณ ซึ่งยังไม่พบหลักฐานให้สามารถทราบได้ว่ามีขึ้นตั้งแต่ครั้งใด แต่สังเกตเห็นเรียกหัวโขนเป็น ‘หน้าโขน’ บางทีจะมีมาตั้งแต่หัวโขนยังทำเพียงหน้ากากปิดข้างหน้า เช่น หน้ากากพรานของละคอนชาตรี— มิใช่ทำเป็นหัวสวมใส่ลงไปทั้งศีรษะ เช่น หัวโขนของเราในตอนหลังนี้”

[พิธีไหว้ครู ตำราครอบโขนละคอน พร้อมด้วยตำนานและคำกลอนไหว้ครูละคอนชาตรี กรมศิลปากร (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2494) พิมพ์ครั้งที่สาม พ.ศ. 2503 หน้า 78]

“ครูศิลปินผู้หญิงนั้น แม้จะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิก็เป็นแต่ผู้นำทำพิธีไหว้ครู จะเป็นผู้ครอบครูหาได้ไม่ เพราะถือกันว่า “ครอบไม่ขึ้น”

และเชื่อกันว่าถ้าครูผู้หญิงทำพิธีครอบ จะมีอันเป็นไปในทางข้างร้าย ไม่ตัวครูเองก็ศิษย์จะได้รับสิ่งร้าย หรือด้วยกันทั้งสองฝ่าย”

[โขน โดย ธนิต อยู่โพธิ์ คุรุสภา พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2508 หน้า 247]

 

พิธีฮินดู

ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช (ศิลปินแห่งชาติ) บอกว่า พิธีไหว้ครูและครอบโขนละคร “แต่ก่อนเป็นพิธีของศาสนาฮินดูโดยแท้”, “หนักไปในทางไสยศาสตร์หรือศาสนาฮินดู” แต่ “พิธีสงฆ์ที่มีเข้ามาอยู่ด้วยนั้น คงจะได้เริ่มมีตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4”

[ลักษณะไทย 3 ศิลปะการแสดง ธนาคารกรุงเทพ พิมพ์ครั้งที่สอง พ.ศ. 2551 หน้า 59]

 

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image