คุณใหม่ ชวนชม “วังหน้านฤมิต” เข้าใจประวัติศาสตร์ ผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่

คุณใหม่ ชวนชม “วังหน้านฤมิต” เข้าใจประวัติศาสตร์ ผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่

วังหน้านฤมิต – เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 3 มีนาคม กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร โครงการการศึกษาสันนิษฐานรูปแบบพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) จัดงานแถลงข่าวนิทรรศการพิเศษ เรื่อง “วังหน้านฤมิต ในมิติแห่งกาลเวลา” ซึ่งมี นายอรุณศักดิ์ กิ่งมณี รองอธิบดีกรมศิลปากร เป็นประธานในพิธี คุณสิริกิติยา เจนเซ่น พระธิดาในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ผู้อำนวยการโครงการฯ ตลอดจนผู้บริหาร ข้าราชการกรมศิลปากรเข้าร่วมในพิธี ณ ศาลาสำราญมุขมาตย์พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

นายอรุณศักดิ์ กิ่งมณี รองอธิบดีกรมศิลปากร กล่าวในการเป็นประธานเปิดนิทรรศการฯว่า พระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้า เป็นพระราชวังที่มีความสำคัญยิ่ง เนื่องด้วยเป็นที่ประทับของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือพระมหาอุปราช ผู้ทรงเป็นกำลังสำคัญในการสร้างบ้านสร้างเมืองให้เป็นปึกแผ่น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาตำแหน่งนี้ขึ้น พร้อมกับการตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี เมื่อพ.ศ. 2325 ตราบจนกระทั่งสิ้นสุดลงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพ.ศ.2428

ทั้งนี้ วังหน้าในอดีตมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร โรงละครแห่งชาติ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ และพื้นที่บางส่วนทางด้านทิศเหนือของสนามหลวง อาคารก่อสร้างที่ยังลงเหลืออยู่นปัจจุบัน ได้แก่ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ หมู่พระวิมาน พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ ซึ่งอยู่ภายในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร รวมถึงพระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาส ในบริเวณสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ในปัจจุบัน ซึ่งมีความสำคัญในฐานะโบราณสถาน หลักฐานทางประวัติศาสตร์และแหล่งศิลปกรรมที่เป็นมรดกศิลปวัฒนธรรมสำคัญของชาติ

Advertisement

ฉะนั้นกระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมศิลปากร จึงได้จัดนิทรรศการนี้เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี สถาปัตยกรรมและศิลปกรรมของพระราชวังบวรสถานมงคล ผ่านการตีความและสื่อความหมายด้วยรูปแบบงานศิลปกรรมร่วมสมัย เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้เข้าใจยิ่งขึ้น โดยมีคุณสิริกิติยา เจนเซน ข้าราชการกรมศิลปากร เป็นผู้ควบคุมการจัดนิทรรศการ

Advertisement

จากนั้น คุณสิริกิติยา เจนเซ่น พระธิดาคนเล็กในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ผู้อำนวยการโครงการการศึกษาสันนิษฐานรูปแบบพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) กล่าวในการนำสื่อมวลชนชมนิทรรศการว่า นิทรรศการนี้จะทำให้ผู้ชมได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์อย่างเข้าใจ เกิดการตั้งคำถาม การกลับไปสืบค้น การพูดคุยและความคิดสร้างสรรค์ ด้วยการนำเสนอผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่และมุมมองอันหลากหลายของศิลปินจากหลากหลายแขนง อาทิ นักดนตรี เชฟ ที่มาเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ ถือเป็นการพลิกบทบาทของพิพิธภัณฑ์ไม่เพียงมีแต่การอนุรักษ์ แต่ยังให้การศึกษา ให้ผู้ชมได้มีส่วนร่วม และความสนุก จนผู้ชมเกิดความรู้สึกว่าประวัติศาสตร์ไม่ใช่เรื่องไกลตัว และรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์

สำหรับนิทรรศการพิเศษ “วังหน้านฤมิต ในมิติแห่งกาลเวลา” เปิดให้ประชาชนเข้าชมระหว่างวันที่ 6 มีนาคม – 28 เมษายน 2562 เวลา 09.00-16.00 น. (ปิดวันจันทร์ – อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ณ พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย และมุขกระสัน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

งานภาพยนตร์ 16 มม.ผ่านการทำงานของคนสวนประจำโรงละครแห่งชาติ ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า)ผู้ชมมองเห็นมือคนสวนกำลังขูดลอก พืชพรรณออกจากร่องระหว่างแผ่นปูพื้นคอนกรีต จากร่องหนึ่งไปอีกร่องหนึ่งศิลปินมองเห็นการกระทำที่ อาศัยช่องว่างที่อยู่ระหว่าง เป็นเหมือนการสัมผัสกับพืชพรรณที่เกิดขึ้นซ้ำๆ เปรียบเสมือนการผลัดเปลี่ยนของสิ่งที่อยู่บนพื้นผิวชั้นนอก
ห่วงโลหะทั้ง 2 วง ที่สลักเนื้อเพลงลาวแพน ภาษาไทยและภาษาลาว ที่บอกเล่าถึงชีวิตชาวลาวในสมัยรัชกาลที่ 3
พัฒนาแอปพลิเคชันที่รวมสภาพแวดล้อมจริงกับวัตถุเสมือนเข้าด้วยกัน (Augmented Reality Mobile Application) โดยออกแบบให้โต้ตอบกับผู้ใช้งานผ่าน “ลับแล” (วัตถุสะสมของพิพิธภัณฑ์) จำนวน ๒ บาน ในอดีต “ลับแล” นี้ทำหน้าที่ สองประการด้วยกัน คือใช้ขับไล่วิญญาณร้าย และใช้เป็นฉากกั้นเขตส่วนพระองค์ เมื่อแอปพลิเคชันนี้ถูกใช้ร่วมกับลับแล ภาพตัวละครที่ถูกสร้าง จะปรากฏขึ้นรำพึงรำพันสะท้อนเรื่องราวการสำรวจและค้นหาตัวตน
พัฒนาแอปพลิเคชันที่รวมสภาพแวดล้อมจริงกับวัตถุเสมือนเข้าด้วยกัน (Augmented Reality Mobile Application) โดยออกแบบให้โต้ตอบกับผู้ใช้งานผ่าน “ลับแล” (วัตถุสะสมของพิพิธภัณฑ์) จำนวน ๒ บาน ในอดีต “ลับแล” นี้ทำหน้าที่ สองประการด้วยกัน คือใช้ขับไล่วิญญาณร้าย และใช้เป็นฉากกั้นเขตส่วนพระองค์ เมื่อแอปพลิเคชันนี้ถูกใช้ร่วมกับลับแล ภาพตัวละครที่ถูกสร้าง จะปรากฏขึ้นรำพึงรำพันสะท้อนเรื่องราวการสำรวจและค้นหาตัวตน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image