คณะหลก จี ฟู่ จากฮ่องกงเชิดมังกรถวาย’ในหลวง’ เพื่อความเป็นสิริมงคลในเทศกาลตรุษจีน ที่ศิริราช

เมื่อเวลา 16.30 น.วันที่ 8 กุมภาพันธ์ ที่ลานพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก โรงพยาบาลศิริราช นางชนิสา ชุติภัทร์ กรรมการ ผจก.ใหญ่ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด พร้อมด้วยทีมผู้บริหารศูนย์การค้าสยามพารากอน นำคณะการแสดง “หลก จี ฟู่” (Lok Chee Fu) คณะเชิดมังกรและสิงโตที่มีชื่อเสียงเก่าแก่ของเกาะฮ่องกง เดินทางมากราบสักการะ พร้อมกับนำซาลาเปาซิ่วท้อ ซึ่งเป็นผลไม้แสดงถึงความมีอายุยืน และต้นส้ม ผลไม้มงคล มาถวายราชสักการะ โดยมี ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตรศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยทีมผู้บริหารคอยต้อนรับ

IMG_0170

จากนั้นเวลา 16.15 น. คณะสิงโตหลก จี ฟู่ ไปที่ลานอุทยานสถานพิมุข ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้กับอาคารเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งเป็นที่ประทับ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จัดการแสดงเชิดมังกรและสิงโตถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี ในปี 2559 นี้ และเพื่อร่วมฉลองเทศกาลตรุษจีน ต้อนรับปีลิงมงคล โดยใช้ชื่อการแสดงว่า “7 สัตว์เทพมงคลในตำนานจีน”

IMG_0453

Advertisement

สำหรับการแสดงชุด 7 สัตว์เทพมงคลในตำนานจีน ได้นำพระบรมราโชวาทเรื่องความขยันหมั่นเพียรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นแรงบันดาลใจในการร้อยเรียงเรื่องราวตำนานแห่งความรักสัตว์เทพมงคลในตำนานจีนทั้ง 7 ได้แก่

มังกร ภาษาจีนเรียกว่า “หลง” หรือ “เล้ง” สัตว์มงคลอันเป็นสัญลักษณ์แห่งพลังอำนาจ ความยิ่งใหญ่ ซึ่งชาวจีนถือเป็นสัตว์ที่มีความเป็นมงคลสุดและเป็นสัตว์เทพศักดิ์สิทธิ์ เป็นตัวแทนแห่งความแข็งแกร่ง ความดีงาม มังกรจะช่วยนำพาสิ่งดีงามมาสู่ชีวิต และเป็นสัตว์ที่เหมาะกับผู้ที่เกิดปีระกา

หงส์ ภาษาจีนเรียกว่า “เพิ่งหวง” สัญลักษณ์แห่งจักรพรรดินี อันสื่อถึงความงามและความดี 5 ประการคือ คุณธรรม ความยุติธรรม ศีลธรรม มนุษยธรรม และสัจธรรมศาสตร์ ทางฮวงจุ้ยหงส์สื่อถึงความหมายของการเริ่มต้นใหม่ที่ดี

Advertisement

สิงโต ภาษาจีนเรียกว่า “ไซ” หรือ “จอหงวนไซ” สัตว์มงคลที่ให้คุณค่าทางด้านแคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งปวง ชาวจีนเชื่อว่า การจัดตั้งสิงห์ไว้หน้าประตู หรือปลายหัวเสา แสดงถึงอำนาจ น่าเกรงขาม เพราะสิงห์เป็นสัตว์เทพมงคล โดยเฉพาะสิงห์สีเขียวเป็นสัตว์เทพพาหนะของ มัญชุศรีมหา-โพธิสัตว์ (บุ่งชู้ผ่อสัก) ในพุทธมหายาน ดังนั้นสิงห์จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งการปกป้องคุ้มภัย และมีอำนาจขจัดภูตผีปีศาจ

กิเลน ภาษาจีนเรียกว่า “ฉีหลิน” สัตว์มงคลที่เชื่อกันว่า หากกิเลนปรากฏหมายถึงกำลังจะมีเรื่องมงคลเกิดขึ้น หรือจะมีแต่โชคดี ไม่มีเรื่องร้าย และยังเชื่อกันว่า การจัดตั้งกิเลนไว้จะช่วยกรองและขจัดสิ่งอัปมงคลต่างๆ ให้พ้นไป แต่จะนำเอาความโชคดี ข่าวดีมาให้ ปี่เซียะ สัตว์มงคลอันเป็นสัญลักษณ์ของการนำโชค ช่วยป้องกันและกำจัดสิ่งอัปมงคล หากนำปี่เซียะตั้งคู่กับกิเลน จะยิ่งช่วยเพิ่มพลังแห่งความโชคดียิ่งขึ้น

ปี่เซียะ สัตว์มงคลอันเป็นสัญลักษณ์ของการนำโชค ช่วยป้องกันและกำจัดสิ่งอัปมงคล หากนำปี่เซียะตั้งคู่กับกิเลน จะยิ่งช่วยเพิ่มพลังแห่งความโชคดียิ่งขึ้น

ปลามังกร ภาษาจีนเรียกว่า “ปลาหลี่ฮื้อ” สัญลักษณ์แห่งความมั่งมี และความสำเร็จชาวจีนนิยมใช้ปลาหลี่ฮื้อในการอวยพร ซึ่งหมายความว่าขอให้ประสบความสำเร็จในชีวิต และขอให้มั่งมี เหลือกิน เหลือใช้ เทพเจ้าเห้งเจีย หรือ “ฉีเทียนต้าเซิ่น” ซึ่งมีความหมายว่า ผู้ยิ่งใหญ่เสมอฟ้าดิน เห้งเจียเป็นเทพเจ้าที่ชาวจีนนับถือในเรื่องของปฏิภาณไหวพริบ และความกล้าหาญ

เทพเจ้าเห้งเจีย หรือ “ฉีเทียนต้าเซิ่น” ซึ่งมีความหมายว่า ผู้ยิ่งใหญ่เสมอฟ้าดิน เห้งเจียเป็นเทพเจ้าที่ชาวจีนนับถือในเรื่องของปฏิภาณไหวพริบ และความกล้าหาญ

 

IMG_0410

IMG_0204

IMG_0586

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image