มองผ่านเลนส์ รัชกาลที่ 9 “ภาพถ่าย” เพื่อทรงงาน (ชมภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ในหลวงร.9)

ภาพโดย ​กำธร เสริม​เกษม​สิน

ว่ากันว่า “ภาพหนึ่งภาพสามารถถ่ายทอดเรื่องราวแทนตัวอักษรได้มากกว่าร้อยพันคำพูด” ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ดูจะเป็นสิ่งที่สื่อแทนพระราชหฤทัยของพระองค์ที่ทรงห่วงใยพสกนิกรไทยได้ดีที่สุดเช่นกัน

นั่นเพราะไม่เพียงแต่จะเป็นภาพถ่ายบันทึกความทรงจำ แต่พระอัจฉริยภาพด้านภาพถ่ายนี้ยังเป็นสิ่งสำคัญในการทรงงานของพระองค์ด้วย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระปรีชายิ่งในศิลปะแขนงนี้ ไม่ว่าจะเป็นกล้องธรรมดาหรือกล้องถ่ายภาพยนตร์ และการถ่ายภาพสไลด์ก็เป็นงานอดิเรกที่ทรงโปรดมาก ความสนพระราชหฤทัยด้านการถ่ายภาพ นับได้ว่าเกิดขึ้นตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ เนื่องด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนีทรงซื้อกล้องถ่ายรูปยี่ห้อ Coronet Midget ให้ทรงศึกษาด้วยพระองค์เอง

กล้องตัวแรก เมื่อครั้งทรงพระเยาว์
กล้องตัวแรก เมื่อครั้งทรงพระเยาว์

เมื่อพระชนมพรรษาราว 8 พรรษา และเพราะเป็นกล้องที่ไม่มีเครื่องวัดแสงในตัวเอง ผู้ถ่ายจึงต้องมีความชำนาญมากในการวัดแสงให้แม่นยำ และเมื่อทรงดำรงพระฐานันดรศักดิ์เป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ไม่ว่าตามเสด็จสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช นิวัติประเทศไทยคราวใด ก็จะเห็นพระองค์ทรงสะพายกล้องถ่ายรูปบันทึกภาพเหตุการณ์ต่างๆ ทุกแห่งที่ได้เสด็จพระราชดำเนินไป

เช่นเดียวกับเมื่อทรงขึ้นครองราชย์ กล้องถ่ายรูปถือเป็นอุปกรณ์ทรงงานคู่กาย ที่ทรงใช้ฉายพระรูปสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ และทรงใช้บันทึกภาพประชาชนและภาพเหตุการณ์ต่างๆ มากมาย เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานประกอบงานที่ได้ทรงปฏิบัติ นอกจากเป็นภาพถ่ายที่มีศิลปะและความงดงามแล้ว ยังเป็นการเก็บข้อมูลเพื่อการพัฒนาชั้นดี เช่น สภาพภูมิประเทศที่เหมาะกับการสร้างเขื่อนและฝายต่างๆ

Advertisement

หรืออย่างเช่นเมื่อครั้งน้ำท่วมกรุงเทพฯ พระองค์ได้ทรงถ่ายภาพจุดสำคัญๆ ไว้เป็นข้อมูลในการวางแผนป้องกันน้ำท่วมครั้งต่อไป นับได้ว่าภาพถ่ายฝีพระหัตถ์เหล่านี้ใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนและแก้ไขปัญหาบ้านเมืองได้อย่างดี

2065

ในช่วงหนึ่ง ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ยังได้ปรากฏให้เห็นในหนังสือสแตนดาร์ดของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร จนพระองค์มีรับสั่งด้วยพระราชอารมณ์ขันแก่ผู้ใกล้ชิดว่า “ฉันเป็นกษัตริย์ก็จริง แต่ฉันก็ยังมีอาชีพเป็นช่างภาพของหนังสือพิมพ์สแตนดาร์ด ได้เงินเดือนเดือนละ 100 บาทตั้งหลายปีมาแล้ว จนบัดนี้ก็ยังไม่เห็นเขาขึ้นเงินเดือนให้สักที เขาก็คงถวายเดือนละ 100 บาทอยู่เรื่อยมา”

Advertisement

ซึ่งการจะถ่ายภาพให้ดีนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานคำแนะนำให้แก่คณะกรรมการบริหารสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ไว้ว่า

“การถ่ายรูปนี้ ตอนถ่ายรูปก็ต้องอาศัยความรู้เบื้องต้นที่ได้มาจากหนังสือคู่มือ ต่อจากนั้นก็ต้องมีความรู้ในด้านวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์บ้าง คือหมายถึงว่า จะใช้เลนส์อย่างไร ยาวแค่ไหน จะได้รูปอย่างไร หรือบิดเบี้ยวอย่างไร ซึ่งเมื่อผู้ที่่ถ่ายรูปเล่นๆ โดยไม่รู้เรื่องก็ไม่เข้าใจ ขั้นต่อไปก็ต้องดูว่าใช้ฟิล์มชนิดไหน จะได้รูปที่ชัดหรือไม่ชัด หรือที่จะมีรูปภาพนิ่ง จะมีการเคลื่อนไหวหรือไม่ แล้วแต่ความรู้ว่าจะใช้ฟิล์มอะไร ต่อจากนั้นก็ส่งไปให้ที่ร้านให้ล้าง ก็ไม่รู้เรื่องทีเดียว นอกจากถึงขั้นตอนที่ผู้ได้สนใจในการถ่ายรูปลึกซึ้งเข้าไปอีกทราบถึงวิธีการ กรรมวิธีต่างๆ ของการถ่าย เช่น การถ่ายและล้างรูป และอัดรูป ก็จะได้สามารถแจ้งให้ผู้ที่จะล้างรูปหรืออัดรูปปฏิบัติตามความรู้สึกหรือความต้องการ ยิ่งลึกเข้าไป คือผู้ที่ปฏิบัติการล้างรูปเอง และได้สามารถที่จะนำวิทยาการต่างๆ มาประสมประเสในรูปนั้นออกมาคนละอย่าง แม้จะได้ถ่ายออกมาอย่างหนึ่งแล้วมาประสมประเส หรือมาใช้วิธีการต่างๆ ก็ออกมาอีกอย่างหนึ่ง ต่างกับที่ออกมาเดิม นั่นก็เป็นวิทยาการในห้องมืดทั้งหมด นี่ก็รวมเป็นศิลปะการถ่ายภาพ”

ทรงใช้วิธีตั้งกล้องไว้แล้วทรงกะเวลาให้กล้องลั่นชัตเตอร์ขณะทรงเป่าแตร
ทรงใช้วิธีตั้งกล้องไว้แล้วทรงกะเวลาให้กล้องลั่นชัตเตอร์ขณะทรงเป่าแตร

และนี่ยังเป็นหนึ่งความสุขที่พระองค์พระราชทานให้ผู้รับชม ดังพระราชดำรัสที่พระราชทานไว้เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2537 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ที่ว่า

“รูปที่ถ่ายเราก็ตัดไปให้เลือกพิมพ์ขึ้นมาเป็นหนังสือ ก็เป็นสิ่งที่ให้ความสุข ให้ความสบายใจ เพราะว่าการถ่ายรูปนั้น ไม่ได้ตั้งใจที่จะถ่ายรูปให้เป็นศิลปะ หรือจะเป็นเทคโนโลยีชั้นสูงอะไร เป็นเพียงแต่กดชัตเตอร์ไว้สำหรับเก็บให้เป็นที่ระลึก แล้วก็ถ้ารูปนั้นดี มีคนได้มาเห็นรูปเหล่านั้นและก็พอใจ ก็ทำให้เป็นการแผ่ความสุขไปให้กับผู้ที่ได้ดู เพราะว่าเขาชอบ หมายความว่าได้ให้เขามีโอกาสได้เห็นทัศนียภาพที่เขาอาจไม่ค่อยได้เห็น หรือในมุมที่เขาไม่เคยเห็น ก็แผ่ความสุขไปให้เขาอีกทีหนึ่ง ซึ่งเป็นจุดประสงค์ของการถ่ายรูป…”

นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชยังทรงเชี่ยวชาญแม้กระทั่งการล้างฟิล์ม การอัดขยายภาพด้วยพระองค์เอง ทั้งภาพขาวดำและภาพสี นับเป็นพระปรีชาสามารถที่ยากจะหาใครเสมอเหมือน พระองค์ทรงจัดทำห้องมืดขึ้นในบริเวณชั้นล่างของตึกที่ทำการสถานีวิทยุ อ.ส. ด้วยมีพระราชประสงค์ที่จะทรงสร้างสรรค์ภาพให้เป็นศิลปะที่ถูกต้องและรวดเร็วด้วยพระองค์เอง และยังทรงเป็นนักคิดค้นเทคนิคใหม่ๆ ในการถ่ายภาพ ครั้งหนึ่งทรงใช้แผ่นกรองแสงเป็นแผ่นใส ส่วนบนเป็นสีฟ้า ส่วนด้านล่างเป็นสีแสด ทำให้เมื่อถ่ายภาพออกมาได้ภาพที่งดงามแปลกตา และการคิดค้นนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ยังไม่มีบริษัทผลิตกล้องและอุปกรณ์ถ่ายรูปใด คิดค้นแผ่นกรองแสงดังกล่าวขึ้นใช้มาก่อน

ทำให้สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทยฯ ได้ทูลเกล้าฯถวายเข็มทองคำศิลปะภาพถ่ายแด่พระองค์ เช่นเดียวกับราชสมาคมถ่ายภาพแห่งสหราชอาณาจักร ได้กราบบังคมทูลเชิญให้ทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ของราชสมาคม และสมาคมสหพันธ์ศิลปะการถ่ายภาพนานาชาติ ทูลเกล้าฯถวายเกียรติบัตรสูงสุด เพื่อเป็นการสดุดีพระเกียรติคุณว่าทรงเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ที่มีพระปรีชาสามารถเป็นเลิศในศิลปะการถ่ายภาพ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ขณะเสด็จเยี่ยมราษฎร สมุทรปราการ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ขณะเสด็จเยี่ยมราษฎร สมุทรปราการ

กล้องถ่ายภาพของพระราชา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงมีกล้องส่วนพระองค์นับ 20 ตัว บางกล้องทรงซื้อด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์อย่างไม่เจาะจงว่าจะต้องเป็นกล้องใหม่อยู่เสมอ และในระยะหลังบริษัทกล้องหลายแห่งได้นำขึ้นทูลเกล้าฯถวายเนื่องในโอกาสต่างๆ บ้าง เก็บไว้เป็นกล้องคู่พระราชหฤทัย บ้างพระราชทานให้บุคคลและหน่วยงานต่างๆ นำไปใช้ประโยชน์ในการถ่ายภาพต่อไป อาทิ

– กล้อง Coronet Midget ของฝรั่งเศส ซึ่งสมเด็จพระบรมราชชนนีพระราชทานให้ศึกษานับแต่มีพระชนมพรรษาราว 8 พรรษา มีสีเขียวปะดำ ของฝรั่งเศส ราคาเพียง 2 ฟรังก์สวิส และยังมีฟิล์มราคาถูก

– กล้อง Elax Lumie”re ผลิตขึ้นในฝรั่งเศส ซึ่งทรงใช้บันทึกภาพระหว่างตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จนิวัติกลับเมืองไทย

– กล้อง Contax II ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงได้มาจากสิงคโปร์ โดยทรงใช้เลนส์ Zeiss-opton No.821255 กับ Zeiss-opton No.885584 Sonar 1:2 f.50 mm. เป็นที่พอพระราชหฤทัยมาก เพราะเป็นกล้องที่นำสมัยในสมัยนั้น ปัจจุบันพระราชทานไว้ที่สวนหลวง ร.9

– กล้อง Canon A-1 เป็นกล้องญี่ปุ่นตัวที่ 2 นับแต่เริ่มทดลองใช้เมื่อปี พ.ศ.2514 ซึ่งเคยมีพระราชปรารภกับผู้ใกล้ชิดว่า “เขาว่ากันว่า ตัวกล้องญี่ปุ่นใช้ไม่ทน แต่ทรงลองใช้ดูแล้ว ทรงเห็นว่าใช้ได้ ไม่เห็นมีอะไรเสียหาย” สำหรับกล้องแคนนอนรุ่นนี้ มีพระราชปรารภว่า “ใช้ง่ายเกินไป และไม่ค่อยเหมาะกับพระหัตถ์นัก”

– กล้อง Minolta Weather Matic 35DL เป็นกล้องรุ่นใหม่ในขณะนั้น สะท้อนภาพเลนส์เดี่ยวแบบถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงทดลองใช้เพื่อศึกษาความก้าวหน้าของกล้องถ่ายภาพ ในขณะเดียวกันพระองค์ทรงทดลองใช้กล้องคอมแพกต์แบบต่างๆ หลายรุ่น อาทิ Canon Autoboy Tele 6 Lens 35-60 mm. f/3.5-5.6.

– กล้อง Ricoh EF-94 เป็นกล้องที่ทรงจับสลากได้ และในปีต่อมาจึงได้พระราชทานกล้อง Pentax AF ZOOM 35-70 mm. กับ Minolta Weather Matic 35DL และ Nikon TW Zoom ให้เป็นของขวัญจับสลาก

– กล้อง Cannon EOS 30D เป็นกล้องที่พระองค์ทรงใช้ถ่ายรูปประชาชน เมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับจากโรงพยาบาลศิริราช เมื่อปี พ.ศ.2552

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ เรือนรับรองค่ายเสนาณรงค์
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ณ เรือนรับรองค่ายเสนาณรงค์
ทรงถ่ายภาพเงาของพระองค์เองที่สะท้อนในบ่อสรงน้ำ
ทรงถ่ายภาพเงาของพระองค์เองที่สะท้อนในบ่อสรงน้ำ
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ขณะตามเสด็จเยี่ยมราษฎรในถิ่นทุรกันดาร
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เมื่อครั้งทรงพระเยาว์ ขณะตามเสด็จเยี่ยมราษฎรในถิ่นทุรกันดาร
ทรงบันทึกเรื่องราวจากปากคำผู้เฒ่า นราธิวาส
ทรงบันทึกเรื่องราวจากปากคำผู้เฒ่า นราธิวาส

2046

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯไปทรงเยี่ยมราษฎร
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯไปทรงเยี่ยมราษฎร
2 เจ้าฟ้า เสด็จฯไปทรงเยี่ยมราษฎรทางภาคเหนือ
2 เจ้าฟ้า เสด็จฯไปทรงเยี่ยมราษฎรทางภาคเหนือ
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตามเสด็จดูงานส่งเสริมอาชีพในชนบท
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตามเสด็จดูงานส่งเสริมอาชีพในชนบท

ทูลกระหม่อม 4 พระองค์ทรงวางพระหัตถ์ขวาเรียงเทียบขนาดกันไว้เสมือนเป็นความสามัคคีพีน้อง
ทูลกระหม่อม 4 พระองค์ทรงวางพระหัตถ์ขวาเรียงเทียบขนาดกันไว้เสมือนเป็นความสามัคคีพีน้อง

2047

2048

2055

2060

2062

2063

เด็กชาวบ้านสองคนริมทาง หัวหิน
เด็กชาวบ้านสองคนริมทาง หัวหิน
ทรงถ่ายภาพท่ามกลางฝนตกหนัก ขณะเสด็จเยี่ยมชาวไทยภูเขา จ.เชียงใหม่
ทรงถ่ายภาพท่ามกลางฝนตกหนัก ขณะเสด็จเยี่ยมชาวไทยภูเขา จ.เชียงใหม่
ทรงทักทายประชาชนที่มารอรับเสด็จ
ทรงทักทายประชาชนที่มารอรับเสด็จ
ภาพจากเครื่องบินพระที่นั่ง ขณะเสด็จไปเชียงใหม่
ภาพจากเครื่องบินพระที่นั่ง ขณะเสด็จไปเชียงใหม่
ภาพรามเกียรติ์ จิตรกรรมฝาผนังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ภาพรามเกียรติ์ จิตรกรรมฝาผนังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
มุมมองจากรถยนต์พระที่นั่ง
มุมมองจากรถยนต์พระที่นั่ง
มุมมองส่วนพระองค์ จากพระที่นั่งในพระบวนพยุหยาตราทางชลมารคพระราชพิธีกฐินหลวง
มุมมองส่วนพระองค์ จากพระที่นั่งในพระบวนพยุหยาตราทางชลมารคพระราชพิธีกฐินหลวง
วิลล่าวัฒนา
วิลล่าวัฒนา
สถานีอวกาศ Vandenberg ที่สหรัฐฯ
สถานีอวกาศ Vandenberg ที่สหรัฐฯ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เชียงใหม่
หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เชียงใหม่

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image