เปิดแผนที่ทรงงาน ‘ในหลวง ร.9’ อาวุธปราบทุกข์เข็ญราษฎร (มีคลิป)

“ศาสตราวุธ” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เพื่อดูแลและปกป้องประเทศ หาใช่พระแสงดาบ พระแสงปืน เหมือนเช่น “สมเด็จพระบูรพกษัตริย์” เมื่อครั้งในอดีต ทว่ากลับเป็น “กล้องถ่ายรูป แผนที่ วิทยุสื่อสาร และดินสอดำ” ศาสตราวุธที่ทรงใช้เพื่อเอาชนะความทุกข์ยากขาดโอกาสของราษฎรทั่วแผ่นดิน เป็นที่ประจักษ์แก่หัวใจปวงชนอย่างไทยว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระอัจฉริยภาพด้าน “แผนที่”

พระปรีชาสามารถด้านนี้ได้นำประมวลและถ่ายทอดให้ประชาชนได้ร่วมน้อมรำลึกถึงใน “ห้องแผนที่เทิดพระเกียรติ” ตั้งอยู่ชั้น 1 อาคารภักดีภูธร กรมแผนที่ทหาร ถนนกัลยาณไมตรี เขตพระนคร กรุงเทพฯ โดยได้เชิญ “แผนที่ส่วนพระองค์” ส่วนหนึ่งมาจัดแสดงด้วย

พล.ท.กฤษฎิ์ ยิ้มสู้ เจ้ากรมแผนที่ทหาร (ผท.) เล่าว่า กรมแผนที่ทหารมีหน้าที่ทำแผนที่ให้ถูกต้องและทันสมัย เพื่อให้หน่วยงานราชการและประชาชนนำไปใช้ ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงสนพระราชหฤทัยแผนที่กับการทรงงาน ไม่ว่าจะเสด็จฯไปทรงงานที่ไหน สิ่งที่จะขาดไม่ได้เลยคือ แผนที่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นแผนที่มาตราส่วน 1 : 50,000 ที่ กรม ผท.ผลิต โดยพระองค์มีพระราชดำรัสถึงเหตุผลการใช้แผนที่ทรงงานว่า “ใช้แผนที่มาตั้งแต่ยังเด็ก เพราะแผนที่ช่วยได้มากที่จะทำให้ได้คิดงาน วางแผนช่วยเหลือ บำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่ราษฎร”

“สมัยก่อนเวลาไปไหนจะต้องกำหนดพิกัดบนแผนที่ จากนั้นนำมาประกอบกับลักษณะภูมิประเทศ แล้วใช้เข็มทิศอ่านค่าออกมา จะได้ค่าเหมือนจีพีเอสในปัจจุบัน แต่กระบวนการยากกว่ากันเยอะ ซึ่งพระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถในการใช้แผนที่มากที่สุดพระองค์หนึ่ง เพียงทอดพระเนตรลักษณะภูมิประเทศก็ทรงนำมาเทียบกับแผนที่ได้แล้ว ต่างจากบางคนมองแผนที่แล้วเทียบกับภูมิประเทศไม่ได้ จึงทำให้ประโยชน์ของแผนที่ลดลง จุดนี้ทำให้พระองค์ทรงใช้ประโยชน์จากแผนที่ นำไปพัฒนาในจุดต่างๆ เช่น การเกษตร ความเป็นอยู่ชาวบ้าน” 

Advertisement

ไม่เพียงทอดพระเนตรแผนที่และทรงเข้าพระทัยอย่างทะลุปรุโปร่ง แต่ยังทอดพระเนตรแล้วทรงรู้ว่าแผนที่นั้นมีข้อผิดพลาดอย่างไรด้วย อย่างแผนที่มาตราส่วน 1 : 50,000 และ 1 : 250,000 ที่ทำให้พระองค์เสด็จฯเป็นการส่วนพระองค์มายังกรมแผนที่ฯ เพื่อทรงบอกกับเจ้าหน้าที่ให้แก้ไขความผิดพลาดด้วยพระองค์เอง โดยมี พล.ท.ชุมพร กุลเกษม เจ้ากรมแผนที่ทหาร ในขณะนั้นเฝ้าฯรับเสด็จในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ.2520 ซึ่งถือเป็นครั้งที่ 2 ที่เสด็จฯกรม ผท. ด้วยเหตุนี้ภายหลังกรม ผท.จึงได้ส่งนายทหารแผนที่ตามถวายงานใกล้ชิดพระองค์เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2521 เป็นต้นมา และด้วยความเกี่ยวข้องทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาให้กรม ผท.จัดทำห้องแผนที่เทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2554

พล.ท.กฤษฎิ์เล่าว่า ห้องแผนที่เทิดพระเกียรติ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจและพระอัจฉริยภาพของพระองค์ในงานแผนที่ รวมถึงกระตุ้นให้ประชาชนทั่วไปทราบถึงความสำคัญงานแผนที่การสำรวจและระบบภูมิสารสนเทศ และสืบสานอนุรักษ์เครื่องมือ และเอกสารเก่าทางแผนที่แก่คนรุ่นหลัง โดยแบ่งส่วนการจัดแสดงออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1.ประวัติศาสตร์การทำแผนที่ด้วยเครื่องมือสำรวจและทำแผนที่เก่าตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งพระองค์และพระบรมวงศานุวงศ์เคยเสด็จฯทอดพระเนตร และ 2.จัดแสดงแผนที่ทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (ฉบับสำเนาเหมือนจริง) ซึ่งได้รับพระบรมราชานุญาตให้เชิญมาจัดแสดง จำนวน 3 ชุด ซึ่งมีลายพระหัตถ์ของพระองค์ ได้แก่

1.แผนที่บริเวณโดยรอบวังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 5 ระวาง ที่ทรงกันพื้นที่อ่างเก็บน้ำด้วยดินสอดำและสี และมีข้อความว่า “2 ตร.กม.” กำกับอยู่บริเวณพื้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยวังยาว จ.เพชรบุรี และในชุดเดียวกันนี้ พระองค์ทรงกันพื้นที่ด้วยดินสอ มีข้อความว่า “9 ตร.กม. และ 3 ตร.กม.” กำกับอยู่บริเวณฝายเก็บกักน้ำห้วยสามเขา จ.เพชรบุรี

Advertisement
แผนที่ชุดที่ 1 บริเวณโดยรอบพระราชวังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 5 ระวาง (4)
แผนที่ทรงงานบริเวณโดยรอบวังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ทำสำเนาเหมือนฉบับจริง
แผนที่ชุดที่ 1 บริเวณโดยรอบพระราชวังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 5 ระวาง (1)
ทรงลงลายพระหัตถ์ความว่า “2 ตร.กม.” กำกับอยู่

 

2.แผนที่บริเวณโดยรอบพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จ.นราธิวาส จำนวน 6 ระวาง มีลายพระหัตถ์ มีข้อความว่า “ฝายเดิมชำรุด” และตัวหนังสือภาษาอังกฤษ Damsite พร้อมตัวเลข 17,500 ไร่ และนา 5,000 ไร่ กำกับอยู่บริเวณพื้นที่โครงการระบายน้ำไม้แก่น จ.ปัตตานี

แผนที่ชุดที่ 2 บริเวณโดยรอบพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จ.นราธิวาส จำนวน 6 ระวาง 2 (3)
แผนที่บริเวณโดยรอบพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จ.นราธิวาส ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ทำสำเนาเหมือนฉบับจริง
แผนที่ชุดที่ 2 บริเวณโดยรอบพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จ.นราธิวาส จำนวน 6 ระวาง 2 (1)
ทรงลงลายพระหัตถ์ความว่า “ฝายเดิมชำรุด” และตัวหนังสือภาษาอังกฤษ Damsite พร้อมตัวเลข 17,500 ไร่ และนา 5,000 ไร่ กำกับอยู่บริเวณพื้นที่โครงการระบายน้ำไม้แก่น จ.ปัตตานี

 

และ 3.แผนที่บริเวณโดยรอบพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จ.นราธิวาส จำนวน 6 ระวาง มีพระราชหัตถเลขา มีข้อความว่า “อ.ตากใบ อ.ระแงะ” และข้อความว่า “พื้นที่ 33,000 ไร่” กำกับอยู่บริเวณพื้นที่โครงการสหกรณ์บาหลง นอกจากนี้ยังจัดแสดงอุปกรณ์ที่ ผท.จัดถวายให้แด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงใช้ฝึกบินถ่ายภาพทางอากาศ ด้วยเครื่องบิน BEECHCRAFT SUPER KING AIR B200 หมายเลข 93005 ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าว ได้แก่ หูฟังและเก้าอี้ที่ประทับทำการบินถ่ายภาพ บริเวณพรุแฆแฆ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2536

 

แผนที่ชุดที่ 3 บริเวณโดยรอบพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จ.นราธิวาส จำนวน 6 ระวาง (1)
แผนที่บริเวณโดยรอบพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จ.นราธิวาส ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ทำสำเนาเหมือนฉบับจริง

แผนที่ชุดที่ 3 บริเวณโดยรอบพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จ.นราธิวาส จำนวน 6 ระวาง (2)

แผนที่ชุดที่ 3 บริเวณโดยรอบพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จ.นราธิวาส จำนวน 6 ระวาง (3)
ทรงลงลายพระหัตถ์ความว่า “อ.ตากใบ อ.ระแงะ” และ “พื้นที่ 33,000 ไร่”

 

“เวลาพระองค์ทรงงานเสร็จจะลงลายพระหัตถ์ว่าจุดใดต้องแก้ไขอย่างไร เช่น จะสร้างฝาย จะทรงลงลายพระหัตถ์ว่าพื้นที่โครงการมีกี่ไร่ สามารถรับน้ำได้กี่ลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่ที่ได้รับประโยชน์จากฝายเท่าใด โดยทรงคำนวณพื้นที่กับปริมาณน้ำฝน หรือบางโครงการขนาดใหญ่ เช่น ขุดคลองระบายน้ำ กินพื้นที่หลายๆ อำเภอ ซึ่งในแผนที่ไม่ได้บอกไว้ว่าเป็นพื้นที่อำเภอใด พระองค์จะทรงลงลายพระหัตถ์ชัดเจนว่าโครงการอยู่ในอำเภอใดบ้าง โดยใช้ดินสอในการลงลายพระหัตถ์ บันทึกด้วยพระอักษรที่ตัวใหญ่อ่านง่าย”

ทั้งนี้ ห้องแผนที่เทิดพระเกียรติขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการปรับปรุง คืบหน้าไปร้อยละ 70 แล้ว เหลือเพิ่มเติมเรื่องความสวยงาม เบื้องต้นกองทัพไทยได้ให้งบประมาณมา ฉะนั้นคาดว่าจะปรับปรุงแล้วเสร็จและเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาศึกษาเที่ยวชมตามรอยพระราชดำริได้ปลายปี พ.ศ.2560

พล.ท.กฤษฎิ์เล่าทิ้งท้ายว่า เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2550 พระองค์พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เจ้ากรมแผนที่ทหาร และข้าราชการกรมแผนที่ทหารเข้าเฝ้าฯ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายระบบข้อมูลแผนที่และภูมิสารสนเทศ ครั้งนั้นมีพระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะผู้เข้าเฝ้าฯ ซึ่ง ผท.น้อมนำเป็นแนวทางปฏิบัติงานจวบจนปัจจุบัน ความว่า

“คนเขาหาว่าฉันบ้าแผนที่ ยังดีนะที่ช่วยกันทำแล้วช่วยพัฒนา การทำแผนที่ ถ้าแผนภูมิพัฒนาท้องถิ่นเราได้กำไร ในทางความเป็นอยู่ของประชาชน ทางราชการก็ได้กำไร ฉะนั้นต้องไม่เสียกำลังใจเมื่อทำดี ทำประโยชน์จริงๆ”

 

ในหลวง ร.9 พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เจ้ากรมแผนที่ทหาร และข้าราชการกรมแผนที่ทหารเข้าเฝ้าฯ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายระบบข้อมูลแผนที่และภูมิสารสนเทศ เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2550
ในหลวง ร.9 พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เจ้ากรมแผนที่ทหาร และข้าราชการกรมแผนที่ทหารเข้าเฝ้าฯ เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายระบบข้อมูลแผนที่และภูมิสารสนเทศ เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ.2550
201611211340186-20061002145636
พล.ท.กฤษฎิ์ ยิ้มสู้ เจ้ากรมแผนที่ทหาร
201611211345372-20061002145636
แผนที่โบราณ
ยานพาหนะในการทำแผนที่
ยานพาหนะในการทำแผนที่
แผนที่โบราณ
แผนที่โบราณ
เข็มทิศ
เข็มทิศ
IMG_9731
ภายในห้องนิทรรศการ

IMG_9724 IMG_9632

 

ขอบคุณข้อมูล ภาพ และวิดีโอกรมแผนที่ทหาร

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image