“จาตุรนต์” ชี้ นายกฯ-ศบค.” ยังไม่เข้าใจข้อเสนอผ่อนปรนมาตรการโควิด หวั่นเสียโอกาสในการเปิดศก.ให้เดินหน้า

“จาตุรนต์” ชี้ นายกฯ-ศบค.” ยังไม่เข้าใจข้อเสนอผ่อนปรนมาตรการโควิด หวั่นเสียโอกาสในการเปิดศก.ให้เดินหน้า

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 22 เม.ย. 63 นายจาตุรนต์ ฉายแสง ได้เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวถึงเรื่อง “เปิดเศรษฐกิจแบบมีแผนรองรับข้อเสนอดีที่นายกฯและศูนย์โควิด-19 ยังไม่เข้าใจ” โดยมีรายละเอียดคือ

“แนวความคิดของศูนย์โควิด-19 ยังก้าวไม่พ้นเรื่องของจำนวนผู้ติดเชื้อ และนายกฯก็ไม่ได้สั่งให้ใครเตรียมแผนอะไรรองรับการเปลี่ยนผ่านนี้ หากทุกฝ่ายยังไม่รู้จะเตรียมแผนอย่างไร เราก็อาจเสึยโอกาสในการ การเปิดเศรษฐกิจให้เดินได้ไปอย่างน่าเสียดาย”

เมื่อต้นสัปดาห์นี้มีข่าวที่น่ายินดี (ในความเห็นของผม)ที่ทำให้เห็นว่าประเทศไทยมีทางออกในการรับมือกับโควิด-19 พร้อมๆกับการรับมือกับปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมได้อย่างมีความสมดุลย์ แต่น่าเสียดายที่ข้อเสนอที่ดีๆนั้นยังไม่เป็นที่เข้าใจของนายกฯและศูนย์โควิด-19

ข่าวที่ว่านั้นคือเรื่องที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประชุมผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ จากในและนอกกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งผู้แทนคณบดีจากคณะแพทยศาสตร์ หารือเพื่อจัดทำร่างข้อเสนอแนวทางการผ่อนปรนมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 ในด้านสาธารณสุข เสนอต่อศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.

Advertisement

ข้อเสนอของคณะผู้เชี่ยวชาญนักวิชาการนี้ถูกเผยแพร่อยู่บ้าง แต่ดูเหมือนไม่เป็นที่รับรู้หรือเข้าใจกว้างขวางสักเท่าใด ทั้งๆที่เป็นข้อเสนอที่ดีมาก

ขอเสนอนี้มาจากนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขก็จริง แต่ไม่ได้พูดถึงแต่รื่องสาธารณสุขอย่างเดียว หากได้แสดงความเข้าใจถึงความเชื่อมโยงกับปัญหาทางเศรษฐกิจและความเดือดร้อนของประชาชนด้วย
พูดอย่างย่อมากๆเอกสารนี้ได้เสนอฉากทัศน์ 2 แบบให้เลือก

ฉากทัศน์ที่หนึ่งคือการทำให้ประเทศปลอดจากเชื้อโควิด-19 โดยการปิดเมืองหรือล็อคดาวน์เป็นระยะยาวเช่นสองหรือสามเดือนและทำการค้นหาผู้ติดเชื้อทั้งที่มีอาการและไม่มีอาการแบบเคาะประตูบ้าน มาแยกรักษา แต่การทำแบบนี้ได้ต้องใช้ทรัพยากรมหาศาล และต้องใชบริบททางสังคมการเมืองที่สามารถ บังคับใช้กฎระเบียบอย่างเข้มแข็งได้ในขณะเดียวกันก็จะมีต้นทุนทางสังคมและเศรษฐกิจที่สูงมากทางเลือกนี้ ไม่เหมาะที่จะทำทั้งประเทศแต่อาจนามาใช้ในพื้นที่หรือชุมชนเล็กๆท่ีมีการติดเชื้อสูง ดังนั้นความคิดที่ว่า คนไทยทั้งประเทศควรยอมทนเจ็บครั้งเดียวเป็นเวลาสสักสามเดือนให้จบปัญหาโควิด-19แล้วกลับไปมีชีวิต ปกติจึงไม่อาจเป็นจริงได้

ฉากทัศน์ที่สองคือการยอมรับว่าเราไม่สามารถหยุดการแพรข่องเชื้อโควิด-19ได้แต่เราสามารถ ควบคุม ให้มีการแพร่ในระดับที่ต่ำ ( low transmission) มีการสญูเสียชีวิตน้อยเพราะโรงพยาบาลรองรับได้ทัน ในขณะเดียวกันก็เริ่มเปิดให้ผู้คนทำมาหาเลี้ยงชีพ ทำธุรกิจ ทำการผลิต นักเรียนไดเรียนหนังสือ คนได้ทำงาน และสังคมไม่หยดุนิ่งมีการพัฒนาท่ีสมดลุย์ทั้งการควบคมุโรคและการประกอบกิจการและกิจกรรมต่างๆเป็น การกลับสู่ชีวิตปกติแต่ด้วยวิถีแบบใหม่ (New Normal)

ความหมายของข้อเสนอคือเราไม่อาจคาดหวังที่จะทำให้โควิด-19 หมดไปอย่างสิ้นเชิงในเวลาอีกนานพอสมควร แต่จะต้องยอมรับและหาทางที่จะอยู่กับสภาพที่ควบคุมโควิด-19 ได้ ก็คือเสนอให้เปิดให้มีการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมได้โดยมีมาตรการรองรับ

เอกสารนี้ได้เสนอองค์ประกอบไว้ 5 ข้อคือ

1.เพิ่มความเข้มข้นในมาตรการทางสาธารณสุขและการแพทย์

2. ทำให้ทุกคน ทุกสังคม และทุกพื้นที่เข้าใจและปฎิบัติตามมาตรการสุขลักษณะ
3.เปิดให้ธุรกิจเริ่มเดินหน้า
4.การปิดแหล่งแพร่โรคที่สำคัญ

5.มีระบบเฝ้าระวังตรวจจับและคาดการณ์ความรวดเร็วของการแพร่ระบาดในระดับพื้นที่และระดับประเทศ
ในองค์ประกอบ 5 ข้อนี้มีรายละเอียดที่น่าสนใจ ต่อด้วยข้อเสนอให้เริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคานี้ใน 32 จังหวัดและอาจดำเนินการในบางจังหวัดได้ในเดือนเมษายนนี้เลยด้วย
จุดสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือมีข้อเสนอให้มีการเตรียมแผนเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจและสังคมในรายละเอียด
ซึ่งก็หมายถึงต้องมีการเตรียมการอย่างจริงจังตั้งแต่บัดนี้ เพื่อจะเปิดให้เศรษฐกิจเดินได้ในเร็วๆนี้

น่ายินดีที่รมว.สธ.ได้จัดให้มีการหารือจนได้ข้อเสนอที่วงประชุมเห็นพ้องต้องกันและได้นำเสนอต่อนายกฯและศูนย์โควิด-19 ไปแล้ว

แต่ก็น่าเสียดายที่ดูเหมือนนายกฯและศูนย์โควิด-19 จะยังไม่เข้าใจข้อเสนอนี้ จึงยังพูดชี้แจงกันอยู่เหมือนกับยังไม่ได้อ่านเอกสารนี้กันเลย แนวความคิดของศูนย์โควิดยังก้าวไม่พ้นเรื่องของจำนวนผู้ติดเชื้อ และนายกฯก็ไม่ได้สั่งให้ใครเตรียมแผนอะไรรองรับการเปลี่ยนผ่านนี้ หากทุกฝ่ายยังไม่รู้จะเตรียมแผนอย่างไร การเปิดเศรษฐกิจให้เดินได้ก็อาจจะอยู่ในสภาพโกลาหลได้

ก็เป็นเรื่องที่ต้องช่วยกันทำให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจคิดอะไรเป็นมากขึ้น อย่างน้อยเราก็มีสารตั้งต้นคือเอกสารของคณะผู้เชี่ยวชาญคณะนี้

สำหรับผู้ที่อาจตั้งคำถามว่าผู้ที่จัดทำข้อเสนอนี้คือใครกัน ผมไม่สามารถค้นคว้าหาคำตอบทั้งหมดได้ทัน แต่เท่าที่ทราบท่านเหล่านี้ล้วนเป็นผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในเรื่องระบาดวิทยา การควบคุมโรคและเรื่องที่เกี่ยวข้องอยู่ในระดับต้นๆของประเทศทีเดียวครับ

พูดถึงมาตรการรองรับการเปิดให้เศรษฐกิจเดินหน้า ก็เลยขอเชิญชวนให้อ่านสิ่งที่ผมเคยเสนอไว้สักระยะหนึ่งแล้วประกอบไปด้วย อาจมีประโยชน์อยู่บ้างครับ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image