“หมอมนูญ” ย้ำคนไทยรับมือ “โควิด-19” ระลอก2 แนะสวม “หน้ากาก” เมื่อออกจากบ้าน อยู่ในชุมชนที่แออัด
เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านโรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาล (
ทั้งนี้ นพ.มนูญ ได้แนะนำเพิ่มเติมว่า ขอให้คนไทยทุกคนเตรียมรับมือลดความรุนแรงของโรคไวรัสโควิด-19 ที่จะระบาดระลอกที่ 2 โดยสวมหน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้า เมื่อออกนอกบ้าน หรือเมื่ออยู่รวมกลุ่มกันในสถานที่แออัด เว้นระยะห่างไม่ได้ หรืออยู่ในสถานที่ปิด อากาศถ่ายเทไม่ดี และมีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ได้แก่ รถยนต์ส่วนบุคคล รถแท็กซี่ รถสองแถว รถตู้ รถโดยสาร รถไฟฟ้า รถไฟ เครื่องบิน เรือโดยสาร โรงเรียน มหาวิทยาลัย คลีนิค ร้านยา โรงพยาบาล โรงแรม โรงหนัง โรงละคร ชมคอนเสิร์ต ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ โรงงาน ศาลาวัด สถานที่ทางศาสนา ในอาคาร สถานที่ทำงาน สถานที่ราชการ ห้องประชุม สถานบันเทิง ร้องเพลง คาราโอเกะ ผับ บาร์ สนามกีฬาฟุตบอล สนามมวย สถานที่เล่นการพนันชนโค ชนไก่ กัดปลา เล่นไพ่ งานปาร์ตี้ และอื่นๆ
ข้อความดังกล่าวระบุว่า
“มีรายงานการสวมหน้ากากอนามัยลดจำนวนคนเสียชีวิตจากโรคไวรัสโควิด-19 ก่อนหน้านี้มีการศึกษาชี้ว่าหากทุกคนสวมหน้ากากอนามัย หน้ากากจะป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และถึงรับเชื้อก็จะป่วยไม่รุนแรง
ล่าสุดมีรายงานจากมหาวิทยาลัย Massachusetts Institute of Technology และ University of British Columbia ศึกษาย้อนหลังในช่วงต้นเดือนเมษายนถึงต้นเดือนมิถุนายน ถ้าคนอเมริกันมีวินัยใส่หน้ากากอนามัยทุกคน ซึ่งเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า แทนที่จะมีคนเสียชีวิตต้นเดือนมิถุนายน 99,446 คน ตัวเลขคนเสียชีวิตจะลดลงเฉลี่ย 39,779 คน (17,000-55,000 คน)(ดูรูป) เป็นที่น่าเสียดายช่วง 2 เดือนนี้ คนอเมริกันไม่สามัคคี มีความเห็นขัดแย้งกัน ประธานาธิบดีทรัมป์ไม่สนับสนุนการสวมหน้ากาก องค์การอนามัยโลกก็ไม่แนะนำให้ทุกคนใส่หน้ากาก ถ้าคนอเมริกันทุกคนสวมหน้ากาก ตัวเลขของการเสียชีวิตจะลดลง ไม่สูงขนาดนี้
คนไทยสามัคคี ไม่ขัดแย้งกัน ร่วมมือร่วมใจใส่หน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้ามากกว่าร้อยละ 90 ตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา ยอดการเสียชีวิตของประเทศไทยคงที่ 58 ศพ ไม่มีเสียชีวิตเพิ่ม 70 วันแล้ว ขอให้คนไทยทุกคนใส่หน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้าเวลาออกนอกบ้าน เวลาอยู่รวมกลุ่มกัน ในสถานที่แออัด เว้นระยะห่างไม่ได้ สถานที่ปิด อากาศถ่ายเทไม่ดี ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ รถส่วนตัว รถแท็กซี่ รถสองแถว รถตู้ รถโดยสาร รถไฟฟ้า รถไฟ เครื่องบิน เรือโดยสาร โรงเรียน มหาวิทยาลัย คลีนิค ร้านยา โรงพยาบาล โรงแรม โรงหนัง โรงละคร ชมคอนเสิร์ต ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ โรงงาน ศาลาวัด สถานที่ทางศาสนา ในอาคาร สถานที่ทำงาน สถานที่ราชการ ห้องประชุม สถานบันเทิง ร้องเพลง คาราโอเกะ ผับ บาร์ สนามกีฬาฟุตบอล สนามมวย สถานที่เล่นการพนันชนโค ชนไก่ กัดปลา เล่นไพ่ งานปาร์ตี้ และอื่นๆ เราต้องเตรียมรับมือลดความรุนแรงของโรคไวรัสโควิด-19 ที่จะระบาดระลอกที่ 2”