วิทยาลัยปรีดี มธ.ระดมนักวิชาการ ‘ไทย-จีน-อินเดีย’ ร่วมเสนอวิจัยสาธารณะ 1 ปีหลังโควิด

วิทยาลัยปรีดี มธ.ระดมนักวิชาการไทยจีนอินเดียร่วมเสนองานวิจัย 1 ปีหลังโควิด

วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รวมนักวิชาการจากสาขาวิชาไทยศึกษา จีนศึกษา และอินเดียศึกษา ทำงานโครงการวิจัยสาธารณะ “Thailand’s One Year After Covid-19” เพื่อศึกษาผลกระทบและนำผลการศึกษาที่ได้มา นำเสนอทางออกและข้อเสนอเชิงนโยบาย อันเป็นประโยชน์ต่อคนไทยและสังคมไทย ดังนี้

Assistant Prof. Dr.Yi Lin โครงการจีนศึกษา พบว่า การจัดการท่องเที่ยวให้กับกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีนจะประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น ควรเน้นการท่องเที่ยวเชิงประเพณีทางวัฒนธรรม เพื่อให้นักท่องเที่ยวชาวจีนมีโอกาสแลกเปลี่ยนทางสังคมและวัฒนธรรมอย่างเข้มข้นกับคนไทยในท้องถิ่น โดยกุญแจสำคัญที่มีผลต่อทัศนคติเชิงบวกระหว่างไทยและจีนคือ เราต่างมีรากฐานความผสมผสานทางสังคมและวัฒนธรรมมาอย่างยาวนาน

Dr.Thomas Bruce ผู้อำนวยการโครงการไทยศึกษา เน้นการศึกษาผลกระทบของโควิด-19 ต่อร้านอาหารในกรุงเทพฯพบว่า นโยบายการจัดการสถานการณ์โควิคของภาครัฐ ส่งผลโดยตรงต่อธุรกิจร้านอาหาร และการขนส่งสาธารณะที่ยังคงเปิดและใช้งานได้สะดวก เช่น MRT มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความอยู่รอดของร้านอาหารในเยาวราช ทั้งนี้ เพราะแม้ธุรกิจย่านเยาวราชจะสูญเสียกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ แต่กลับถูกทดแทนด้วยลูกค้าชาวไทย

Advertisement

Assistant Prof. Dr. Shweta Sinha โครงการอินเดียศึกษา วิจัยผลกระทบของโควิด-19 ต่อภาคเกษตรกรรม ศึกษาเปรียบเทียบอินเดียและไทย พบตัวเลขที่น่าสนใจคือ ในภาวะโควิค อินเดียสามารถส่งข้าวออกเพิ่มขึ้น 44% เปรียบเทียบกับข้อมูลปี 2563 และเวียดนามก็ยังได้สั่งซื้อข้าวจากอินเดียเป็นครั้งแรกในรอบหลายทศวรรษ ขณะที่ประเทศไทยส่งออกข่าวลดลงถึง 31% เนื่องจากราคาข้าวไทยอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ข้อมูลจาก ธกส.ชี้เกษตรไทยมีภาระหนี้ครัวเรือนที่ 54% และ 50% ของเกษตกรไทย หรือประมาณ 4.5 ล้านคนมีหนี้มากกว่า 200,000 บาท  ส่วนอีก 20% มีหนี้มากกว่า 400,000 บาทต่อครัวเรือน

ความท้าทายที่ครัวเรือนภาคเกษตรต้องเจอคือ ปัญหาการลดลงของรายได้ และการเพิ่มขึ้นของหนี้สิน และโควิด-19 ยังเป็นปัจจัยเร่งการใช้เทคโนโลยีดิจิทับผ่านออนไลน์แพลตฟอร์มอย่างก้าวกระโดด

Dr.Mohd faheem ผู้อำนวยการโครงการอินเดียศึกษา ชี้บทเรียนช่วงการล็อกดาวน์ในอินเดีย ทำให้เกิดการโยกย้ายถิ่นครั้งใหญ่จากแรงงานเมืองเล็กไปสู่เมืองที่ใหญ่กว่า เพื่อหางานและรายได้เลี้ยงชีพ ผู้ย้ายถิ่นส่วนใหญ่ประสบปัญหาการขาดแคลนทั้งอาหาร ที่พัก และรายได้ นอกจากนี้ ยังตกอยู่ในภาวะวิตกกังวลหวาดระแวงการติดเชื้อ พร้อมเสนอแนะการดำเนินการล็อกดาวน์เมืองต่างๆ ในอนาคต ควรมีการเตรียมพร้อมล่วงหน้าจากภาครัฐและท้องถิ่น และประเด็นสำคัญที่สุดคือ กลุ่มแรงงานไม่ควรถูกละเลยจากรัฐบาลอีกต่อไป การสร้างฐานข้อมูลแรงงาน การกระจายความเจริญออกสู่ชนบท จะสามารถจัดการและลดการโยกย้ายถิ่นฐานมากระจุกตัวในเมืองใหญ่ได้

ดร.อุษณีย์ เลิศรัตนานนท์ ผู้อำนวยการโครงการจีนศึกษา พบว่า ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19 เทคโนโลยีไลฟ์สตรีมมิ่ง กลายเป็นกุญแจสู่ความเร็จของหลายธุรกิจ นอกจากนี้ การไลฟ์สตรีมยังกลายเป็นวิธีการและช่องทางเพื่อการเข้าสังคมของผู้คนอีกด้วย มีเว็บไซต์และแอพพลิเคชั่นจีน เช่น Lazada Shopee Tikkok เข้าสู่ตลาดไทยและสร้างความสำเร็จได้เป็นอย่างดี ดังนั้นภาวะโควิด-19 จึงเป็นทั้งโอกาสและความท้าทายของการอยู่รอดในธุรกิจ

ข้อสังเกตประการหนึ่งสำหรับประเทศไทยคือ เราได้เตรียมรับมือและกำหนดมาตรการที่จำเป็นสำหรับป้องกันการทะลักเข้ามาของสินค้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจีนที่จะมาเป็นคู่แข่งกับสินค้าไทย และส่งเสริมการจัดทำแพลทฟอร์มค้าขายบันเทิงสัญชาติไทยแล้วหรือยังทั้งนี้ นักวิจัยยังชี้ให้เห็นโอกาสการส่งเสริมและศักยภาพการเติบโตของสินค้าออแกนิกส์ไทยในประเทศจีนอีกด้วย

ดร.อรธิชา ดวงรัตน์ อาจารย์ประจำโครงการไทยศึกษา เน้นการวิจัยดูคู่อำนาจความขัดแย้งมหาอำนาจจีนและสหรัฐอเมริกาว่า ภาวะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้การแข่งขันระหว่างมหาอำนาจทวีความรุนแรงขึ้น และวิฤตนี้ยังเปิดวิถีใหม่ในการขยายอิทธิพลของมหาอำนาจออกไป โดยมีวัคซีนเป็นตัวนำ จากบทเรียนของเวียดนาม และฟิลิปปินส์ ทั้งสองชาติต้องปรับตัวเพื่อถ่วงดุลขั้วอำนาจ สำหรับประเทศไทยเองก็เช่นกันประเทศไทยควรหาลู่ทางเพิ่มเติมในการจัดหาวัคซีน ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ จากความร่วมมือระดับภูมิภาคอาเซียน

นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ประเทศไทยเผชิญวิกฤตการณ์โควิด-19 ระบาดมาแล้วถึง 1 ปีประสบการณ์นี้เราควรเรียนรู้ว่าจะเผชิญหน้าและควบคุมวิกฤตการระบาดได้อย่างไร เพื่อให้ประชาชนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ

เรื่องสำคัญของสังคมไทยวันนี้คือ การฉีดวัคซีน และการจัดหาชุดตรวจหาชุดตรวจเชื้อไวรัสโควิค ( Rapid Test Kit) ที่สามารถอ่านค่าแสดงผลอย่างรวดเร็ว เพื่อรองรับการเปิดประเทศทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ความพยายามและความหวังของคนทั้งประเทศสูญเปล่า ความสามารถหาผู้ติดเชื้อได้อย่างรวดเร็วทำให้ประเทศไทยปลอดภัย และการไม่ต้องกักกันผู้เดินทางเข้าประเทศจะสามารถเพิ่มการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวสู่ประเทศไทยชุดตรวจ Rapid Test ราคาไม่แพง มีคนไทยเก่งๆ กำลังพัฒนาอยู่ ผมอยากเห็นความใส่ใจของรัฐบาลกับประเด็นนี้มากขึ้น

ภาวะโควิด-19 ส่งผลกระทบในหลายมิติ โควิดเป็นมากมากกว่าวิกฤตสุขภาพ เพราะได้กระทบเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้างวิกฤตครั้งนี้ท้าทายและได้เปลี่ยนแปลงโลก แต่วิกฤตครั้งนี้ก็ทำให้โลกเราเรียนรู้ เติบโต และเผชิญความท้าทายไปพร้อมๆ กัน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image