โฆษกรบ.เคลียร์ชัด ยอดผู้ติดเชื้อทะลุ 2 พัน การันตีสิ้นปีฉีดอย่างน้อย 50 กว่าล้านคน

โฆษกรบ.เคลียร์ชัด ยอดผู้ติดเชื้อทะลุ 2 พัน ผู้ป่วยนอนรอเตียงจนดับคาบ้าน ฉีดวัคซีนมีอาการคล้ายอัมพฤกษ์ การันตีสิ้นปีฉีดอย่างน้อย 50 กว่าล้านคน

รายการโหนกระแสวันที่ 23 เมษายน 2564 “หนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย” ในฐานะผู้ดำเนินรายการ ผลิตในนามบริษัท ดีคืนดีวัน จำกัด ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.35 น. ทางช่อง 3 กดเลข 33 สัมภาษณ์ “อนุชา บูรพชัยศรี” โฆษกรัฐบาล และะ “นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ” ที่ปรึกษาระดับกระทรวงและโฆษกกระทรวงสาธารณสุข กรณียอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทะลุ 2 พันคนในวันนี้ รวมทั้งเรื่องเตียงและการรับตัวผู้ป่วยเพื่อนำตัวส่งรพ. ที่ล่าสุดมีคนเสียชีวิตคาบ้าน เกิดอะไรขึ้น

ขอถามท่านโฆษกฯ ก่อน ยังยืนยันคำเดิมในมุมภาครัฐ ที่มีการประกาศออกมาว่าคนที่เป็นโควิด-19 จำเป็นต้องเข้าไปสู่กระบวนการ การรักษาที่รพ.?

อนุชา : ถูกต้องครับ ถ้าเกิดวันนี้ รู้ว่าตัวเองติด ไม่ว่าจะไปตรวจเชื้อที่ไหน สิ่งแรกที่ต้องทำ คือติดต่อหน่วยงานรัฐให้เร็วที่สุด เพื่อให้ได้รับการดูแลโดยเร็ว แต่ตอนนี้ที่ทุกคนทราบกันดีอยู่ เรื่องการรอจัดหาเตียงต่างๆ อย่างแรกเลยต้องทำความเข้าใจว่าเตียงมีพอ แต่ส่วนศบค. มีการจัดเรื่องความรุนแรงของผู้ติดเชื้อ เป็นส่วนสีเหลือง สีเขียว สีแดง ผู้ที่ไม่มีอาการก็อยู่ในส่วนสีเขียว ทางแพทย์ก็จะไปรับเพื่อไปรพ.สนาม สีเหลืองคืออาจมีอาการ แต่ไม่มีปัญหาเรื่องการหายใจต่างๆ ก็เตรียมตัวไปรพ.เช่นกัน ส่วนสีแดง คือโทรมาแล้วมีอาการหายใจไม่ออกอะไรต่างๆ ก็จะรีบเอาเข้ารพ.โดยเร็วที่สุด ใน 2 พันกว่าคน ก็ต้องจำแนกผู้ป่วยออกไป หลายคนอาจจะมองว่าทำไมไม่มารับ ไม่สนใจ ทำไมต้องโทรมาถามอาการ เพราะใน 2 พันกว่าคน อาจมีคนอยู่ในเกณฑ์สีแดง ที่ต้องเรียกรพ.ให้ไปรับเลย และมีหลักร้อยคน เขาต้องเอาทรัพยากรบุคลากรทางแพทย์ไปดูคนที่สาหัสอยู่ หลังจากนี้พยายามเพิ่มมาตรการอีกมามาย แล้วเรื่องสายด่วนไม่ใช่เป็นเหมือนคอลเซ็นเตอร์นะ สายด่วนต่างๆ รับโดยแพทย์พยาบาล ฉะนั้นการพูดคุยไม่ใช่โทรมาปุ๊บจะวางสายได้ภายใน 1-2 นาที บางครั้งใช้เวลาเป็น 10 กว่านาที ซึ่งที่เห็นคือสายด่วนที่กรมการแพทย์จัดหามา ตรงนี้แต่ละท่านได้รับการฝึกมาว่ารับสายแล้วต้องดูแลผู้ป่วยอย่างไรบ้าง ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และเตรียมตัวเข้าไปในส่วนการคัดกรองแบบไหน สีเหลือง สีเขียวหรือสีแดง

Advertisement

ที่คุยมาหมดแล้ว อธิบดีกรมการแพทย์ อธิบดีกรมควบคุมโรค คุณหมอ ทุกคนพูดเหมือนกันหมดว่ามีเตียง แต่ภาพความเป็นจริง สิ่งที่พูดกับสิ่งที่เห็นแตกต่างกัน ตอนนี้มีอาม่าคนนึงเสียชีวิตคาบ้านแล้ว เพราะเขารอไม่ไหว บางคนต้องคุกเข่ายกมือไหว้กราบ ขอเถอะให้ใครมาช่วยได้มั้ย มันเกิดอะไรขึ้น?

อนุชา : อย่างที่เกริ่นขึ้นมาว่ามันต้องมีการจำแนกผู้ป่วยเป็น 3 ระดับ ถ้าไม่มีอาการรุนแรงมากขนาดนั้น แต่ช่วงขณะเดียวกัน มีผู้มีอาการรุนแรงแจ้งเข้ามา ต่อให้แจ้งทีหลัง ถ้ามีใครแจ้งมาเมื่อวานบอกว่าหายใจได้ปกติ ไม่มีอาการ ก็อาจบอกว่าให้เตรียมตัวที่จะไปรับเพื่อเตรียมตัวไปรพ.สนาม แต่ถ้า 5 นาทีที่แล้วมีผู้ป่วยคนนึงโทรมาบอกว่าไปตรวจมาแล้วหายใจไม่ออก เราก็ต้องให้ความสำคัญคนที่มีอาการหนัก คนที่โทรมาก่อนเมื่อวานนี้อาจต้องรอ เราต้องเร่งเอาทรัพยากรไปดูแลคนที่อาการหนักมากๆ

Advertisement

จะกลายเป็นช่องว่างมั้ย สุดท้ายแล้วทุกคนโทรมาตอนนี้จะบอกว่าตัวเองหายใจไม่ออกหมดเลย จะประเมินจากตรงไหน เพราะอย่างที่เห็นอยู่กัน 3 คนติดกันหมดเลย คนนึงเสียชีวิต อีกสองคนก็แก่มากแล้ว ความเสี่ยงสูงมาก รอหลายวันมาก?

อนุชา : อย่างที่เรียนตอนแรก ด้านผู้สูงอายุ 3 ท่าน อยู่ในการกำกับดูแลของกรุงเทพฯ ที่ต้องทำการรักษา เบื้องต้นพูดคุยกันอาการไม่สาหัสขนาดนั้น กรุงเทพฯ ตอนแรกได้จัดส่งบุคลากรไปตรวจหาเชื้อให้ผู้สูงอายุอีก 2 ท่านที่ตอนแรกไม่ได้บอกว่ามีปัญหา ส่งบุคลากรไปตรวจถึงที่บ้านพักเลย ตอนแรกที่ตรวจยังไม่ได้มีอาการสาหัสอะไรต่างๆ แต่ผู้เสียชีวิตล่าสุดมีอายุ 80 กว่าขึ้นไปอยู่แล้ว อาการอาจมาด้วยความรวดเร็วมาก จนไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือได้ทัน ตรงนี้ยังไงต้องปรับปรุง เพราะทุกชีวิตมีความหมายทั้งนั้น อะไรก็แล้วแต่ ตอนนี้เราเห็นใจทุกท่าน เราคงต้องดำนินการ ในส่วนของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงสาธารณสุขเอง หรือกรุงเทพมหานคร พอมีเหตุเกิดแบบนี้ ก็เป็นอุทาหรณ์ว่าต้องทำงานให้หนักขึ้น ที่ผ่านมาแพทย์บุคลากรทำงานหนักแล้ว ก็แสดว่าทำงานหนักไม่พอ ต้องทำงานให้หนักมากกว่าเดิม สิ่งที่คิดว่าทำดีแล้วต้องทำให้ดีมากขึ้นกว่าเดิม ทุกอย่างต้องขันน็อตทั้งหมด แล้วข้อมูลต่างๆ ที่แจ้งเข้ามา ข้อเสนอแนะ พยายามปรับปรุงให้ทุกอย่างดีขึ้น

ตอนนี้หลายรพ. ปฏิเสธรับตัวผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นทั้งเอกชนและภาครัฐเอง ต้องแก้ไขปัญหายังไง?

อนุชา : แน่นอน ผู้ป่วยตรวจที่ไหนต้องพยายามหาเตียงให้เขาให้ได้ ไม่ใช่ถึงเวลาติดเชื้อใเขากลับไปที่บ้าน ถ้าสามารถหาเตียงได้ก็ดำเนินการได้ ถ้าเขาไม่มีอาการไปรพ.สนาม ถ้ามีอาการรุนแรง ต้องรีบจัดหาเตียง นี่เป็นหลักที่้ต้องทำอยู่แล้ว

ก่อนหน้านี้มีเคสนึงเป็นกู้ภัยออกมาร้อง เขาบอกว่ามีผู้ป่วยติดเตียงคนนึงนอนอยู่ที่บ้าน ญาติติดต่อเขาไปรับ เขาไปรับให้ พอไปถึงถามว่าป่วยเป็นโควิดมั้ย ญาติเป็นโควิดมั้ย มีใครในบ้านเป็นโควิดมั้ย ทุกคนบอกว่าไม่มี ทุกคนปกปิด กู้ภัยก็เอาตัวไปส่งรพ. พอส่งรพ. คุณหมอถามว่าเป็นอะไรมา ญาติบอกว่าผู้ป่วยติดเตียงเป็นโควิด อันนี้ถือว่าปกปิด แต่ผมมองว่าเรื่องนี้เป็นแค่ปลายเหตุ แต่ต้นเหตุคือไม่มีใครไปรับเขา แล้วคนๆ นี้่เป็นผู้ป่วยติดเตียง ทำให้เขาจำเป็นต้องโกหกเพื่อให้มีใครไปรับเขาไปส่งรพ. เลยมีการตั้งคำถามว่าการปฏิบัติการรัฐเองล้มเหลวหรือเปล่า เพราะไม่มีการแก้ที่ต้นเหตุ สุดท้ายชาวบ้านต้องโกหกกัน ตรงนี้จะทำยังไง?

อนุชา : ต้องย้อนกลับมา ผู้ป่วยมีประมาณพันกว่าคน เรื่องการจัดหาเตียง เตียงในรพ.อาจมีประเด็นจัดคนเข้าไป เพราะต้องเป็นผู้ป่วยมีอาการรุนแรงในเบื้องต้น แต่ตอนนี้รพ.สนามมีมากมาย ฉะนั้นถ้าไม่มีอาการจริงๆ อยากให้ยอมรับว่าไปรพ.สนาม อาจไม่สะดวกสบายเหมือนรพ.ทั่วไป แต่นั่นคือการแก้ปัญหาของรัฐบาล แต่ถ้าทุกคนมองว่าตัวเองสำคัญ โดยไม่ได้มองคนอื่นอย่างที่เรียน หายใจไม่ออกแล้ว และเกิดการเสียชีวิต ถ้าทุกคนทำอย่างที่คุณหนุ่มว่า  แกล้งบอกว่าอาการเป็นแบบนั้น ทั้งที่ไม่ได้เป็น ก็เท่ากับว่าเราไปแย่งเตียงผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ซึ่งถ้าเราไม่มีอาการขนาดนั้น ไปรักษาที่รพ.สนามก็ทำให้บุคลากรทางการแพทย์สบายขึ้น ไม่ต้องมาดูแลผู้ที่ไม่มีอาการ เรื่องเตียงจะได้ไปรพ.สนาม แทนรพ.ปกติ ซึ่งอาจต้องใช้เครื่องช่วยหายใจหรือเข้าไอซียูต่างๆ

นพ.รุ่งเรือง : อยากเรียนเสริม ถ้าเรามองภาพสถานการณ์ตั้งแต่ต้นเดือนเม.ย. จนถึงตอนนี้ ต้องแยกภาพไปก่อน มันมีภาพ 76 จังหวัดกับภาพกรุงเทพมหานคร ที่ออกมาตรการ การไม่มารวมตัวกัน เพิ่มมาตรการสุขภาพ ปิดสถานที่ต่างๆ ถ้ามอง 76 จังหวัดที่เหลือ ภาพการจัดการถือว่าอยู่ในระดับรับสถานการณ์ได้ รวมถึงจะไม่เกิดเหตุการณ์คล้ายในกรุงเทพฯ บางส่วน ณ ขณะนี้ คงต้องน้อมรับและนำมาปรับปรุงมาตรการทั้งหมด ไม่ว่าจะเรื่องการจัดการ ระบบประสานงาน และระบบเข้าถึง และส่วนสำคัญคือสร้างความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน ตอนนี้ถ้าดูข้อมูลเมื่อเช้า ต้องกราบเรียนว่า เราเห็นภาพดังกล่าว บางพื้นที่ต้องชื่นชม อย่างเชียงใหม่จัดการได้ดีมาก แต่กรุงเทพฯ สิ่งที่ต้องทำคือกลไกการจัดการต้องปรับปรุง เมื่อเช้าเราคุยกันว่าต้องเพิ่มทรัพยากรขึ้นมา ไม่ว่าเตียง หรืออะไรก็ตาม มองไปข้างหน้าทรัพยากรต้องมีเพิ่ม อันถัดมาคือเรื่องกลไก ไม่ว่าศูนย์คอลเซ็นเตอร์ต้องเพิ่มจำนวนคนเข้าไป สามคือเรื่องระบบที่จะเข้าถึง อาจต้องออกแบบเป็นโซนนิ่งขึ้นมา

ณ วันนี้เป็นไปได้มั้ย เราจะเห็นเป็นรูปธรรมมากกว่านี้ มีอะไรให้ชาวบ้านเห็นความชัดเจน ว่าโทรปุ๊บไม่เกิน 24 ชม.ไปรับปั๊บ?

อนุชา : แน่นอน ในส่วนนายกฯ ได้มีการสั่งการ ทุกเรื่องที่ได้รับข้อแนะนำเข้ามา ท่านนายกฯ ก็ไม่ได้ปฏิเสธคำแนะนำ ก็ต้องพยายามปรับปรุงทุกอย่างให้ดีขึ้นให้เห็นเป็นรูปธรรม ยกตัวอย่างอาจต้องขอความร่วมมือจากรพ.หรือหน่วยงานในบริเวณรอบกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดว่าถ้าพบผู้ป่วยไม่ต้องประสานมาในกรุงเทพฯ ให้ช่วยดูแลด้านนอก คนกรุงเทพฯ เองก็มีพอสมควร แต่บางคนอยู่ต่างจังหวัดอยากได้รับการเข้ามารักษาในกรุงเทพฯ ก็ต้องขอความรวมมือ ถ้าอยู่จังหวัดไหน ให้พาไปจังหวัดใกล้เคียง อันนี้ยกตัวอย่าง เรื่องศูนย์รับเรื่อง รวมถึงเตียง หรือบุคลากรต่างๆ ก็มีการตรวจสอบทุกวัน ท่านนายกฯ ก็อยากทราบข้อมูล

เห็นว่าท่านนายกฯ ลองโทรไปด้วย ปรากฎว่าไม่มีคนรับ?

อนุชา : ตอนนั้นได้รับทราบเหตุผล เหมือนอย่างที่ผมเรียนสักครู่ว่าเคสนึงโทรมาใช้เวลา 10 นาที ตรวจสอบเรื่องอาการทั้งหลายแหล่ และต้องจัดแยกไปว่าควรต้องไปอยู่รพ.สนาม ไอซียู หรือเข้ารักษาในรพ.

เห็นว่านายกฯ จะให้รถไปรับเพิ่ม?

อนุชา : ตอนนี้มีเพิ่ม จริงๆ ประเด็นไม่ใช่เรื่องการขนส่งผู้ป่วยหรอก ประเด็นคือจะรับจากที่พักไปรพ.ไหน ตอนนี้เตียงในรพ.มีจำกัดอยู่ ฉะนั้นต้องประสาน ผู้มีอาการดีขึ้น อาจไม่ต้องรักษาทั้ง 14 วันในรพ. อาจต้องแยกไปรพ.สนามในช่วงท้ายๆ การรักษา อันนี้อาจทำให้ช่วยได้

นพ.รุ่งเรือง : ตั้งแต่กลไกโทรศัพท์คงต้องปรับปรุง เมื่อเช้าคุยกันว่าต้องปรับแนอน โดยเหนึ่งพิ่มจำนวน สองเมื่อโทรเข้าไปต้องประเมินสถานการณ์ก่อนว่ารายนี้ฉุกเฉินหรือไม่ฉุกเฉิน รับเรื่องไว้ก่อน เช่นชื่อนี้ เบอร์โทรนี้ ถ้าไม่มีภาวะต้องคุยต่อ เรารับเรื่องไว้

ประเมินยังไง?

นพ.รุ่งเรือง : ประเมินด้วยการสอบถามอาการ อาการเป็นยังไง

ถ้ามีคนอยากรีบไปรพ. แล้วบอกว่าหายใจไม่ออก ไอเป็นเลือด ไม่ไหวแล้ว?

นพ.รุ่งเรือง : อันนี้ต้องขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนด้วย เราขอข้อมูลข้อเท็จจริง ถ้าท่านตอบมาแบบนี้ แน่นอนเราจะส่งสายไปทีมที่ดูแลฉุกเฉินให้ปปประเมินต่อ คำถามต่อไปจะสามารถตอบได้ แต่ขณะเดียวกันถ้าไม่ปรับอะไรเลย มันก็จะรับไม่ได้ สายก็จะโทรเข้ามา เราเพิ่มจำนวนเท่าไหร่มันก็ไม่เพียงพอ ต้องนี้สำคัญที่ต้องปรับสองส่วน อีกส่วนเรียกว่าการเข้าถึงระบบการรักษา ผมเรียนว่า ณ วันนี้ต้องเพิ่มการเข้าถึง เช่นอาจแบ่งเป็นโซนต่างๆ ในรุงเทพมหานครเป็น 6 โซนใหญ่ๆ ท่านเข้าถึงจุดไหนได้ก็เข้าไปจุดนั้น เป็นรพ.สนามใหญ่ๆ ณ จุดนั้น หรือรพ.ใหญ่ๆ ณ จุดนั้น คล้ายๆ ศูนย์ วันสต็อปเซอร์วิส ในภาพ 76 จังหวัดเราจัดการได้ แต่ในภาพกรุงเทพมหานคร วันนี้มีหลายบทเรียนที่เราต้องปรับระบบการจัดการ

เรากำลังพูดถึงบางคนไม่รู้อิโหน่อิเหน่ เขาไม่ได้ไปเที่ยว เขาอยู่บ้านแต่เชื้อกระจายออกไป ไปซื้อผักซื้อของในตลาดแล้วรับเชื้อมา ไปโทษเขาก็คงไม่ได้ มองประเด็นนี้ยังไง เรื่องปลายเหตุกับต้นเหตุ?

อนุชา : ต้องมีความเข้าใจตรงกันว่า ตอนนี้เราไม่ได้ทิ้งผู้ป่วย เพียงแต่ต้องจัดสรรผู้ป่วยตามอาการ ความสาหัส รพ.เตรียมไว้สำหรับผู้ป่วยอาการหนัก หายใจไม่ออก ถ้าผู้ป่วยไม่มีอาการ ไม่ต้องการให้ดูแลตัวเองอยู่บ้าน แต่จะจัดรพ.สนามให้ ถ้าท่านได้รับการวิเคราะห์แล้วว่าต้องไปอยู่รพ. สนาม ก็อยากให้ช่วยรัฐนิดนึง ในการให้ความร่วมมือไปรพ.สนาม ทางเจ้าหน้าที่การแพทย์จะดูแลท่านอย่างดี แต่ถ้าท่านอาการสาหัสขึ้นมาก็ให้พูดควาจริง อย่าพยายามหาเตียงด้วยการให้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความจริง จะทำให้คนอื่นที่สาหัสจริงๆ ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง

นพ.รุ่งเรือง : ณ วินาทีนี้สำคัญ วินาทีนี้เราคงไม่มาปกป้องตัวเองว่าทำไม่ถูกต้องยังไง ฝ่ายผู้ดูแล ไม่ว่ากระทรวงสาธารณสุขหรือทุกหน่วยงานก็จะเข้ามาพิจารณาว่าสิ่งใดพัฒนาปรับปรุงได้ ขณะเดียวกันภาคส่วนพี่น้องประชาชน ณ เวลานี้ต้องอาศัยความร่วมมือที่จะผ่านไปได้ด้วยกัน ยกตัวอย่างว่าติดต่อกลับไปแล้วได้รพ.สนาม แต่พี่น้องบางท่านไม่สะดวก ไม่อยากไป ขอเข้ารพ. หรือฮอสพิเทล หรือโรงแรม ตรงนี้ต้องเรียนว่า ณ นาทีนี้ขอให้เข้าสู่ระบบ เราจะพยายามดูแลท่านอย่างดีที่สุด  ยกตัวอย่าง่นถ้าไปรพ.สนาม ตรงนั้นจะมีหมอ พยาบาล มีอุปกรณ์กู้ชีพพร้อม รวมถึงระบบส่งต่อ

ล่าสุดมีคนร้องมาว่าเป็นโรคหัวใจ อยู่รพ.สนาม หาหมอไม่เจอสักคน?

อนุชา : ตรงนี้มีมาตรการเพิ่มเติมขึ้นมาเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้นกว่าเดิม คือจะมีการเพิ่มอุปกรณ์เข้าไปเหมือนกับไอซียู เพิ่มเข้าไปในรพ.สนามมากขึ้น

ก่อนหน้านี้ไม่มีจริงๆ ยอมรับ แต่ ณ วันนี้มีแล้ว?

อนุชา : ณ วันนี้มี เรื่องเครื่องช่วยหายใจเรามีพออยู่แล้ว เปลี่ยนจากผู้ป่วยที่ต้องรับการรักษาทั้งหมด อาจต้องเพิ่มเติมว่าตรงไหนทำเป็นรพ.สนามไอซียู เครื่องมือระดมเต็มที่

นพ.รุ่งเรือง : ปัจจุบัน กรุงเทพฯ มีทรัพยากรสูงสุดในประเทศ จุดไหนปรับได้ อย่างการเข้าไปขยายในบางจุดทั้งเรื่องปริมาณและคุณภาพ ขณะนี้ขอนำมาปรับปรุง และพัฒนา ใช้เวลาไม่นาน

ในมุมตัวแทนรัฐบาล คิดว่ารัฐบาลตัดสินใจช้ามั้ย อย่างกรณีปล่อยให้กลับบ้านไปเที่ยวสงกรานต์ ไม่มีการหยุด ทำให้เชื้่อยิ่งกระจาย?

อนุชา : สถานการณ์ตรงนั้นที่ไม่ได้ล็อกดาวน์หรือเคอร์ฟิว ก็คิดว่าเหมาะสม เพราะตอนนั้นตัวเลขไม่ถึง 2 พันกว่า และกระทบเศรษฐกิจอีก แต่เรื่องทั่วๆ ไปตอนนี้คือว่าเดี๋ยว ณ วันนี้จะมีการประชุมกับศบค. เพิ่มขึ้นว่าถึงเวลาหรือยังที่จะต้องปรับมาตรการให้เข้มข้นขึ้น ปัจจุบันถ้าปรับให้เข้มข้นขึ้น ผมเชื่อว่าประชาชนจะเข้าใจว่าเพราะเหตุใด แต่ก่อนหน้านี้ช่วงก่อนสงกรานต์ก็มีหลายคน แค่ปิดผับ บาร์ ร้านอาหารไม่ให้ดื่มแอลกอฮอล์ ปิดไม่เกิน 3 ทุ่ม ก็มีคนตำหนิเราเยอะมากว่าทำไมต้องมาปิดกั้นแบบนี้

ทำก็โดนไม่ทำก็โดน?

อนุชา : เราไม่โทษประชาชน ตราบใดที่รัฐบาลสามารถดำเนินการให้ทันสถานการณ์อันนั้นสำคัญมากกว่า รัฐบาลไม่ต้องการกล้บไปพูดว่าใครผิดใครถูก เราพยายามแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น ช่วงนี้ส่วนหนึ่งท่านนายกฯ พูดอยู่ตลอดเวลา คือขอความร่วมมือจากพี่น้องประชาชน ไม่ใช่เรื่องการแพร่เชื้ออย่างเดียว แต่เป็นเรื่องการลงโซเชียลก็ดี หรือพูดจา อยากให้เป็นในลักษณะการเสนอแนะ รัฐบาลยินดีรับฟังและปรับปรุง ถ้าออกมาในลักษณะตำหนิกัน ผมคิดว่าตอนนี้คงไม่ใช่เวลา แต่พอถึงเวลาถ้าเราเอาตัวเลขลงได้ จะมาตำหนิ ถกเถียงกันยังไง ไม่เป็นไร ยินดี แต่ ณ เวลานี้อย่าให้แพทย์ บุคลากรทุกๆ คนหมดกำลังใจ ถ้าหมดกำลังใจเดี๋ยวจะยิ่งไปกันใหญ่ ตอนนี้ช่วยให้กำลังใจทุกคน อย่าขยายความเรื่องข้อมูลข่าวสารที่ไม่เป็นจริง

เท่าที่ทราบ คนไทยไม่ได้ตำหนิบุคลากรทางการแพทย์ ส่วนใหญ่ตำหนิเรื่องประเด็นที่ไม่มีเตียง ไม่มีรพ. ความช้าต่างๆ นานา แต่ฝั่งรัฐบาลบอกว่าคนเยอะจริงๆ การคุย 10-20 นาที คนไม่พอ อาจต้องขยายสายให้มากขึ้น ขอย้อนถามเรื่องวัคซีน ซิโนแวค อาจารย์หมอหลายท่านบอกว่าอาการเส้นเลือดหดเกร็ง และทำให้คนเป็นอัมพฤกษ์ หลายคนเป็นแบบนั้น?

นพ.รุ่งเรือง : ต้องอธิบายให้ฟังว่าด้วยระบบ สิ่งสำคัญที่สุด เราเอาวัคซีนมาให้พี่น้องประชาชน วัคซีนต้องมีความปลอดภัย ปลอดภัยคือก่อนมา ขณะที่มา และหลังจากนั้น  ยกตัวอย่างการจัดหาเข้ามาต้องผ่านมาตรฐานองค์การอนามัยโลกก่อน พอเข้ามาในประเทศ การตรวจสอบ ที่ห้องปฏิบัติการกรมการแพทย์ พอหลังจากนั้นก่อนฉีดผู้ป่วยก็ต้องดูแลเช่นคัดกรอง ซักประวัติ พี่น้องที่เข้ามาฉีด บุคลากรทางการแพทย์จะได้รับการคัดกรอง เช่นถ้ามีความเสี่ยง ความดันสูงนิดนึงก็ไม่ได้ฉีดนะครับ ตอนฉีดต้องเฝ้าระวัง 30 นาที และเฝ้าติดตามต่อ เหตุการ์ที่เกิดขึ้น คนไข้ที่ระยอง 6 คน และที่ลำปางอีก 1 ที่ บางรายก็ใช่ บางรายก็ไม่ใช่ ผลออกมาเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นหลังได้รับการวัคซีน

ยอมรับว่าจริง?

นพ.รุ่งเรือง : ในส่วนที่เกิดขึ้น ถามว่าผิดปกติไปจากมาตรฐานมั้ย ยกตัวอย่างว่าในนานาประเทศมีรายงานมาว่าลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นได้ ไม่ได้เกิดที่วัคซีนนะครับ แต่เกิดจากกระบวนการการให้วัคซีนในคนจำนวนมาก

ยอมรับว่าอาจมีบ้างที่คนมีอาการแบบนี้ ตอนนี้ลำปาง 40 ที่ระยอง 6?

นพ.รุ่งเรือง : ที่ลำปางต้องถามว่าอาการทั้งหมดใช่หรือไม่ใช่ก่อน เราเข้าไปสอบสวน อาการทั้งหมดเป็นกลุ่มพออธิบาย เป็นกลุ่มอาการคล้ายอัมพฤกษ์ คือเส้นเลือดไปเลี้ยงสมองมีการหดตัว แต่หลังจากนี้่หายเป็นปกติ วิธีการรักษาดูแลเบื้องต้น มีการให้ยา ใหสารน้ำต่างๆ ขยายหลอดเลือด

เห็นว่าที่ลำปางถึงขั้นต้องสอดสาย?

นพ.รุ่งเรือง : อันนั้นเราเข้าไปเพื่อตรวจพิเศษ เป็นการตรวจยืนยัน ซึ่งทำได้โดยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งปรากกฎว่าไม่พบพยาธิสภาพ เราตรวจเข้าไปเจอภาวะที่หลอดเลือดมีการหดตัวชั่วคราว

ถ้าอาการแบบนี้ไปเกิดที่รพ.ไกลปืนเที่ยง?

นพ.รุ่งเรือง : ต้องเรียนก่อนว่าที่เราตรวจสอบ ดูแลอย่างดี เรามีระบบกู้ชีพ ประสานการส่งต่อ และดูแลอย่างดี ใน 6 รายเราดูแลเต็มที่ ปรากฎว่าทุกรายหายเป็นปกติ ไม่มีอาการเลย ตรงนี้มีข้อมูลรายงานจากนานาชาติ ว่าเหตุการณ์อย่างนี้ วัคซีนตัวอื่นมีมั้ย สิ่งสำคัญ ณ ขณะนี้คือสร้างความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน ว่าสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ได้มากจนผิดปกติ

ไฟเซอร์มามั้ย?

อนุชา : มาครับ ตอนนี้พูดคุยกันไปแล้ว และกำลังหาข้อตกลงว่าจะมาได้เร็วที่สุดเมื่อไหร่ อย่างพรุ่งนี้ วันเสาร์จะมีซิโนแวคเข้ามาอีก 5 แสนโดส กำลังจะเข้ามาในเดือนพ.ค.อีกอย่างน้อย 5 แสนโดส ตอนนี้ฉีดแล้วล้านกว่าโดส วัคซีนไม่ได้หายไปไหนนะ เนื่องจากว่าซิโนแวคเราเจรจา ไม่เหมือนแอสตร้าเซนเนก้าที่จะเข้ามาเยอะ ดังนั้นการฉีดอาจต้องสต็อกไว้สำหรับให้คนที่ฉีดไปแล้วเข็มแรก

มีตัวอื่นอีกมั้ย?

อนุชา : สปุตนิก ท่านนายกฯ ได้พูดเมื่อวานนี้ ได้คุยกับประธานาธิบดีปูตินเรียบร้อย ไฟเขียวให้ส่งออกมาประเทศไทยได้ ก็ขึ้นอยู่กับกระทรวงสาธารณสุขว่าจากนี้ไปจะมาได้เร็วมากน้อยแค่ไหน

ในฐานะเป็นตัวแทนรัฐบาล คนไทยจะได้ฉีดวัคซีนเอาสักครึ่งประเทศมื่อไหร่?

อนุชา : ภายในสิ้นปีนี้ จะมีเข้ามาทั้งสิ้น ตอนนี้มี 100 ล้านโดส ให้ประชากรอย่างน้อย 50 กว่าล้านคนภายในสิ้นปีนี้

เอาสัก 10 ล้านคนก่อน จะได้ประมาณเดือนไหน?

อนุชา : ประมาณเดือน ก.ค. เพราะภายในเดือนนี้จะเข้ามาอีกล้านกว่าโดส มิ.ย. 6 ล้านโสด ก.ค. 10 ล้านโสด จะเป็นเรื่องประสิทธิภาพในการฉีดมากกว่า

นพ.รุ่งเรือง : เรียนเน้นย้ำเรื่องความปลอดภัย กระทรวงสาธารณสุขไม่ยอมเด็ดขาดที่จะเอาความเสี่ยงไปให้พี่น้องประชาชน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image