โฆษกแถลงยัน ยังไม่เลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน แจงไทม์ไลน์ลดบทบาท ‘ศบค.’ เริ่มตุลาคมนี้

ศบค.ยังไม่เลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน แจงไทม์ไลน์ลดบทบาทศบค. ดีเดย์ ต.ค.เริ่มประกาศโรคระบาดรายพื้นที่ จับตา 44 จังหวัดยอดติดเชื้อพุ่ง

เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.แถลงภายหลังการประชุมศบค.ชุดใหญ่ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการศบค. เป็นประธาน ว่า กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) รายงานภาพรวมการติดเชื้อรายใหม่ทั่วโลกลดลง ส่วนของไทยจะเห็นภาพคล้ายกัน การรักษาตัวที่โรงพยาบาลและการเสียชีวิตลดลง ไม่มีนัยะสำคัญ ติดเชื้อรายใหม่ ผู้ป่วยรายใหม่ (รักษาตัวใน รพ.) จำนวน 2,110 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 อยู่ที่ 2,406,875 ราย หายป่วยวันนี้ 2,028 ราย หายป่วยแล้ว 2,409,797 ราย เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 27 ราย เสียชีวิตสะสมตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 10,273 ราย

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้หารือการลดตัวเลขผู้เสียชีวิตลง ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันโดยการใช้วัคซีน อย่างไรก็ตามสำหรับการติดเชื้อรายสัปดาห์ อยู่ที่ 15,293ราย จำนวนปอดอักเสบและใส่ท่อช่วยหายใจลดลง แต่การเสียชีวิตสะสมรายสัปดาห์เพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อดูข้อมูลงทะเบียนผู้ป่วย ตรวจด้วย ATK รายงานผู้ป่วยในสัปดาห์ที่ 32 อยู่ที่ 218,042 ราย เฉลี่ยติดเชื้อวันละประมาณ 31,000 ราย ใกล้เคียงกับตัวเลขเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา หมายความว่า ยังมีการระบาดในกลุ่มประชากร ซึ่งโดยส่วนใหญ่อาการไม่มากนัก

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวต่อว่า เมื่อมาดูรายละเอียดจำนวนผู้เสียชีวิต ส่วนใหญ่ย้อนกลับไป พบว่า กลุ่ม 608 หรือกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่ไม่ได้รับวัคซีน เสียชีวิต 117 ราย คิดเป็น 51% กลุ่มที่ไม่ใช่ 608 เสียชีวิต 4 ราย คิดเป็น 3% ได้รับวัคซีน 1 เข็ม เสียชีวิต 7 ราย คิดเป็น 3% วัคซีนเข็ม 2 ไม่ได้รับเข็มกระตุ้น มีโรคประจำตัว อายุมาก 62 ราย ซึ่งทั้งหมดจะต้องลงไปดูรายละเอียดเพื่อหาแนวทางป้องกัน โดยค่าอายุเฉลี่ยผู้เสียชีวิต จะอยู่ที่ 77.5 ปี แม้จะเป็นกลุ่มสูงอายุ แต่ก็ไม่อยากให้ผู้สูงอายุเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เพราะฉะนั้นปัจจัยสำคัญในการป้องกันซึ่งทั่วโลกยอมรับ คือการฉีดวัคซีน ดังนั้นจึงต้องรณรงค์ให้ประชาชนที่ดูแลผู้สูงอายุ พามาฉีดวัคซีนโดยเฉพาะเข็มกระตุ้นที่จะช่วยได้มาก ขณะที่ อัตราการครองเตียงอยู่ที่ 14.8% ไม่เกินศักยภาพการดูแลของสธ. ทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอชน ที่ยังสามารถดูแลได้ ทั้งนี้ขอชื่นชม 33 จังหวัดที่สามารถควบคุมโรคได้ลดลง อาทิ เชียงราย กำแพงเพชร พิษณุโลก พะเยา เพชรบูรณ์ ศรีสะเกษ เป็นต้น

ส่วนกลุ่มที่กำลังลดลงแต่มี จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ยังมีอีก 44 จังหวัด ดังนี้ กรุงเทพฯ นนทบุรี กาฬสินธุ์ กาญจนบุรี ชัยภูมิ สมุทปราการ นครปฐาม ตาก นราธวาส ลพบุรี ฯลฯ ขอความร่วมมือทุกคนได้ช่วยกัน โดยเฉพาะการสวมใสหน้ากากอนามัย ทั้งนี้ต้องเน้นย้ำเรื่องการเสียชีวิต ขอให้ ขอให้ทุกคนรับทราบข้อมูล ซึ่งจะต้องป้องกัน แม้ผู้ที่แข็งแรงและผู้ที่มีอาการลองโควิด-19 หลังติดเชื้อ ซึ่งในต่างประเทศมีการตั้งคณะกรรมการติดตามเรื่องดังกล่าย เพราะฉะนั้นการไม่ติดเชื้อดีที่สุด

Advertisement

ส่วนสถานการณ์ยาฟาวิพิราเวียร์ ยังเหลืออยู่ 5 ล้านเม็ด โมลนูพิราเวียร์ เหลือ 6.7 ล้านเม็ด เพราะฉะนั้น ยังคงมีเพียงพอ และการใช้ยาในกลุ่มต่าง ๆ ต้องใช้อย่างมีเหตุผล ซึ่งโดยรวมแนวโน้มการใช้ยาลดลง ประชาชนมีความเข้าใจ เพราะโดยทั่วไปธรรมชาติของไวรัส จะหายเองถ้าภูมิคุ้มกันดี ก็จะเก็บยาไว้ใช้สำหรับผู้ที่มีความจำเป็นจริงๆ ส่วนการเตรียมความพร้อมเรื่องยา ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เร่งรัดเรื่องการจดทะเบียน มีการสำรองและพยายามให้กระจายยาไปยังคลินิเวชกรรมให้ได้ โดยในเดือนกันยายนนี้ หน่วยบริการนอกสังกัด สธ. จะมีการจัดซื้อยาให้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน ร้านยาสามารถจ่ายยาให้ผู้ป่วย ตามใบสั่งแพทย์ ได้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายนนี้ ตรงนี้เป็นเรื่องการกระจายบริการลงไปในระดับชุมชน สังคม ส่วนหน่วยบริหาร สธ. เริ่มจัดซื้อยาตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม นั้นหมายความว่าจะมีความคล่องตัวจัดซื้อยา ในสต็อกของตัวเองตามปริมาณผู้ป่วย

ความคืบหน้าการจัดทำกรอบนโยบายแนวทางปฏิบัติ และห้วงเวลาการดำเนินการเปลี่ยนผ่านสู่ภาวะ Post Pandemic) เพื่อการเฝ้าระวังและการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 ทางอธิบดีควบคุมโรค เสนอแนวคิดใน 2 ส่วน คือ การประเมินสถ่านะการณ์ความเสี่ยงและการป้องกัน ใน 4 ประเด็น

1.ทั่วโลกยังมีการเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้อหลังจากที่โอมิครอนสายพันธุ์ย่อน BA.5 ระบาด เนื่องจากการกลายพันธุ์ที่รวดเร็ว แต่จำนวนผู้ที่มีอาการรุนแรงและเสียชีวิตไม่สูงมาก เมื่อเทียบกับการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน BA.1/2 และเดลต้า

2.ผลการสำรวจภูมิต้านทานในประชาชนไทยเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2565 พบว่าประชาชนมากกว่า 90% ตรวจพบภูมิต้านทานต่อ

3.ข้อมูลศึกษาประสิทธิผลของวัคซีน พบว่าการฉีด 3 เข็มขึ้นไป ในทุกสูตร สามารถป้องกันอาการรุนแรงและการเสียชีวิต ได้กว่า 90% และต่อเนื่องได้ไม่น้อยกว่า 6 เดือน แต่ป้องกันการติดเชื้อได้ต่ำ

และ 4.คาดว่าโควิด-19 จะมีลักษณะการเกิดโรคในประชากรคล้ายคลึงกับการเกิดโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งจะพบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี แต่อาจมีการระบาดในบางช่วงเวลา โดยการป่วยที่รุนแรงและเสียชีวิตส่วนใหญ่จะเกิดกับกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีน และกลุ่มผู้สูงอายุ หรือกลุ่ม 608 ที่มีโรคร้ายแรงที่ได้รับวัคซีนไม่ครบ

ด้านการรักษา จะประเมินผู้ป่วยที่มีแนวโน้มไม่รุนแรง ยกเว้น กลุ่ม 608 และกลุ่มที่มีปัจจัยเสียงต่อโรค การใช้จ่ายต้านไวรัส ควรให้เฉพาะกลุ่มที่มีความจำเป็น หรือมีปัจจัยเสี่ยงต่ออาการรุนแรง การบริหารจัดการด้านการรักษาพยาบาล พิจารณาอาการผู้ป่วย ถ้าไม่มีอาการให้รักษาที่บ้าน ถ้ามีอาการอื่น ๆ จากโรคประจำตัวร่วมกับปัจจัยเสี่ยงหรือกลุ่ม 608 หรือกลุ่มที่มีออกซิเจนในเลือกต่ำกว่า 94% ให้รับไว้ในโรงพยาบาล ระยะเวลาในการแยกกักตัว กรณีที่ไม่มีอาการหรือมีเพียงเล็กน้อย ให้แยกกักหลังตรวจพบ อย่างน้อย 5 วัน จากนั้นให้ปฏิบัติตนแบบ DMH อย่างเคร่งครัดอย่างน้อยอีก 5 วัน เป้าหมายที่วางไว้คือให้ประชาชนอยู่ร่วมกับโควิด-19 อย่างปลอดภัยและสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ

“ส่วนไทม์ไลน์กรอบแนวปฏิบัติด้านต่างๆ ตามห้วงเวลา ดังนี้ ช่วงเดือนสิงหาคม- กันยายน ยังคงใช้ระบบที่ทำอยู่ ส่วนเดือนตุลาคม จะมีการประกาศเป็นโรคระบาดเฉพาะพื้นที่ เมื่อมีเหตุจำเป็น โดยบทบาทของ ศบค.ก็จะโทนดาวน์ลง และทางอีโอซี สธ. และคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ /คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม. จะเป็นผู้นำไปสู่การทำงานที่ทำกันอยู่เป็นประจำ ทั้งนี้ ยังไม่มีการพูดคุยว่าจะยกเลิก พ.ร.ก. บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 หรือไม่ อยู่ระหว่างการประเมินเพราะยังมีเวลาถึงเดือนกันยายน ที่ประชุมรับทราบและรอดูสถานการณ์ต่อไปอีกระยะ หากทุกคนต้องการให้มีการผ่อนปรนคงต้องคงสภาพการติดเชื้อให้อยู่ในระดับสีเขียว เพื่อจะได้เปลี่ยนผ่านตรงนี้ได้ ที่ประชุมมอบให้ผู้เกี่ยวข้องทำแผนการเปลี่ยนผ่านดังกล่าว เกณฑ์การพิจารณาระดับความรุนแรงการระบาดโควิด-19 ตามสี ยังใช้เกณฑ์เดิม โดยเรายังเป็นสีเขียวอยู่ ที่ประชุมรับทราบเรื่องดังกล่าว และมอบให้หน่วยงานเกี่ยวข้อง อย่างคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือกรุงเทพมหานคร (กทม.) ให้ทำแผนการเตรียมผ่านให้สอดคล้องระหว่างที่ยังมี ศบค.อยู่ ต้องประเมินความเข็มแข็ง และมอบให้กรมประชาสัมพันธ์สื่อสารประชาชน กระตุ้นรับวัคซีน ช่วงเปลี่ยนผ่าน” นพ.ทวีศิลป์ กล่าว

ย้อนอ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image