หวั่น “แรงงานต่างด้าว” แหล่งรังโรค สธ.รุกส่งทีมลงพื้นที่ค้นหาผู้ติดเชื้อ “โควิด-19”

หวั่น “แรงงานต่างด้าว” แหล่งรังโรค สธ.รุกส่งทีมลงพื้นที่ค้นหาผู้ติดเชื้อ “โควิด-19”

โควิด-19 เมื่อวันที่ 26 เมษายน ที่ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล “โควิด-19” ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) กล่าวในระหว่างแถลงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ว่า สถานการณ์ในประเทศไทย ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 2,922 ราย พบใน 68 จังหวัด กรมควบคุมโรคได้ จัดอันดับจังหวัดที่มีอัตราป่วยสะสมสูงสุด 10 ลำดับแรกของประเทศไทย ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ผู้ที่อยู่ในระหว่างการกักกัน 7 ราย รวม 1,48 ราย ภูเก็ต 205 ราย นนทบุรี 156 ราย สมุทรปราการ 111 ราย ยะลา ผู้ที่อยู่ในระหว่างการกักกัน 8 ราย รวม 108 ราย ชลบุรี ผู้ที่อยู่ในระหว่างการกักกัน 4 ราย รวม 87 ราย ปัตตานี ผู้ที่อยู่ในระหว่างการกักกัน 12 ราย รวม 79 ราย สงขลา ผู้ที่อยู่ในระหว่างการกักกัน 61 ราย รวม 44 ราย เชียงใหม่ 40 ราย ปทุมธานี 39 ราย และ อยู่ในระหว่างสอบสวนโรค 39 ราย

นอกจากนี้ นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า อัตราการป่วยต่อประชากรแสนคน จำแนกตามจังหวัดที่รับรักษา ในจำนวน 2,922 ราย 68 จังหวัด โดยนับผู้ที่อยู่ในสถานที่กับการของรัฐบาลจัดให้ สามารถจำแนกได้ดังนี้ ภูเก็ต อัตราส่วน 49.59(คนต่อแสนประชากร) กรุงเทพฯ มีผู้ที่อยู่ในระหว่างการกักกัน 7 ราย อัตราส่วน 26.24 ยะลา มีผู้ที่อยู่ในระหว่างการกักกัน 8 ราย อัตราส่วน 21.71 ปัตตานี มีผู้ที่อยู่ในระหว่างการกักกัน 12 ราย อัตราส่วน 12.61 นนทบุรี อัตราส่วน 12.42 สมุทรปราการ อัตราส่วน 8.31 สงขลา มีผู้ที่อยู่ในระหว่างการกักกัน 19 ราย/แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย 42 ราย อัตราส่วน 7.32 ชลบุรี มีผู้ที่อยู่ในระหว่างการกักกัก 4 ราย อัตราส่วน 5.88 สตูล มีผู้ที่อยู่ในระหว่างการกักกัน 18 ราย อัตราส่วน 5.58 (ในจำนวนนี้ไม่มีผู้ป่วยในพื้นที่)
และ ชุมพร อัตราส่วน 4.11

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า หากแบ่งจังหวัดตามสี 5 สีทั่วประเทศไทย พบว่า

Advertisement

1.พื้นที่สีแดง จังหวัดที่มีรายงานผู้ป่วยช่วง 7 วันที่ผ่านมา มี 14 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ ชลบุรี นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สมุทรปราการ กระบี่ ชุมพร นราธิวาส ปัตตานี ภูเก็ต ยะลา และสงขลา

2.พื้นที่สีส้ม จังหวัดที่มีรายงานผู้ป่วยในช่วง 7-14 วัน มีจำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ เลย ขอนแก่น นครพนม นครศรีธรรมราช พังงา และสตูล

3.พื้นที่สีเหลือง จังหวัดที่มีรายงานผู้ป่วยในช่วง 14-28 วันที่ผ่านมา มีจำนวน 37 จังหวัด ได้แก่ เพชรบุรี กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี ระยอง สมุทรสงคราม สระแก้ว สระบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ตาก นครสวรรค์ พะเยา พิษณุโลก ลำปาง ลำพูน อุตรดิตถ์ กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี อุบลราชธานี ตรัง พัทลุง และสุราษฎร์ธานี

4.พื้นที่สีเขียวอ่อน จังหวัดที่ไม่มีรายงานผู้ป่วยในช่วง 28 วันที่ผ่านมา มีจำนวน 11 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ราชบุรี ลพบุรี เพชรบูรณ์ แพร่ สุโขทัย อุทัยธานี มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด

5.พื้นที่สีเขียวเข้ม จังหวัดที่ไม่มีรายงานผู้ป่วยมาก่อน มีจำนวน 9 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร ชัยนาท ตราด น่าร บึงกาฬ พิจิตร ระนอง สิงห์บุรี อ่างทอง และสตูล ไม่มีผู้ป่วยในจังหวัด แต่มีผู้ป่วยที่อยู่ในระหว่างการกักกันในพื้นที่ที่รัฐบาลจัดไว้ให้(State quarantine)

“ขณะนี้ลำดับต่างๆในประเทศไทยมีสถานการณ์ที่ขยับดีขึ้น ในสัดส่วน 5 พื้นที่นี้ มีความแตกต่างกันเพียง จ.สมุทรสาคร ที่ลงมาจากกลุ่มสีส้มมาอยู่ในกลุ่มสีเหลืองอ่อน และ จ.อุดรธานี ขึ้นจากสีเขียวอ่อนไปอยู่ในสีเหลืองอ่อน” นพ.ทวีศิลป์ กล่าว

นอกจากนี้ นพ.ทวีศิลป์ กล่าวถึงกลุ่มแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายว่า รัฐบาลจะมีการเข้าไปดูแล โดยเป็นหน้าที่หลักของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อค้นหาผู้มีความเสี่ยงสูงด้วยการค้นหาเชิงรุก โดยทีมระบาดวิทยาเพื่อเข้าไปตรวจ ทีมจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รวมถึงกรมอนามัยก็จะมีหน้าที่เข้าไปตรวจเชิงรุกในเรื่องของสิ่งแวดล้อมและสุขอนามัย เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งรังโรค แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ ประชาชน แรงงานต่างด้าว และผู้ประกอบการ จะต้องให้ความร่วมมือ แม้รัฐบาลจะมีมาตรการเชิงรุก แต่ความร่วมมือจากประชาชนในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ในภาวะปัจจุบัน รวมถึงสังเกตอาการและขอความช่วยเหลือเมื่อพบว่ามีอาการป่วย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image