สธ.ปรับ “การแพทย์วิถีใหม่” จัดผู้ป่วย 3 กลุ่มสี “เขียว-เหลือง-แดง” รักษาตนเองไม่ต้องไป รพ.

สธ.ปรับ “การแพทย์วิถีใหม่” จัดผู้ป่วย 3 กลุ่มสี “เขียว-เหลือง-แดง” รักษาตนเองไม่ต้องไป รพ.

แพทย์วิถีใหม่- เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการ สธ.แถลงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ว่า จากการที่ทุกฝ่ายรับมือกับโควิด-19 ร่วมกัน ส่งผลให้ประเทศไทยชนะโควิด-19 ในยกแรกได้ เนื่องจากพบผู้ป่วยยืนยันรายใหม่ในจำนวนหลักหน่วยมาเป็นระยะเวลาต่อเนื่องกันหลายวัน ซึ่งถือเป็นชัยชนะของประชาชนคนไทยทุกคน ประเทศไทยทำการป้องกันการแพทยระบาดเชื้อจนกระทั่งการรักษา และถือว่าการรักสาของประเทศไทยพบว่ามีผู้ป่วยเพียงอยู่ในโรงพยาบาล(รพ.)น้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่น สิ่งเหล่านี้จึงเป็นที่มาสู่การแพทย์ วิถีใหม่ (New norm)

นายสาธิต กล่าวว่า จากการเรียนรู้เมื่อเกิดวิกฤติโควิด-19 และส่งผลกระทบทางการแพทย์ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1 โรคโควิด-19 เป็นการติดต่อง่าย มีอัตราติดเชื้อสูงบางรายรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต ด้านที่ 2 หากจำนวนผู้ป่วยที่มีมากส่งผลให้ทรัพยากรไม่เพียงพอในการให้บริการและประชาชนเข้าไม่ถึงการให้บริการ และ ด้านที่ 3 ผู้ป่วยทั่วไป ที่ไม่ได้เป็นผู้ติดเชื้อโควิด-19 เกิดผลกระทบคือ ถูกลด เลื่อน ปรับบริการ เช่น การผ่าตัดผู้ป่วยในสถานการณ์ช่วงนี้มีความยากมากยิ่งขึ้น ผู้ป่วยที่จะต้องทำทันตกรรม พบว่าการให้บริการเบื้องต้น การทำทันตกรรม เล็กน้อยก็จะถูกระงับไป เนื่องจากการทำทันตกรรมมีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อ
“แต่จากผลกระทบเหล่านี้ทำให้เราทราบว่าประเทศไทยมีจุดแข็ง ในทุกวิกฤต สังคมไทยความเชื่อมั่นในบุคลากรทางการแพทย์ เชื่อถือระบบสาธารณสุขของเมืองไทย ปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลให้คำแนะนำ สิ่งเรานี้ไม่เกิดขึ้นง่ายๆ แต่ในสถานการณ์โควิด-19 ทำให้มันเกิดขึ้นแล้ว และในสถานการณ์เช่นนี้เราจำเป็นต้องเดินต่อ และยังคงต้องยึดจุดแข็งเหล่านี้ เพื่อไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของประเทศไทยเรา คือการแพทย์วิถีใหม่ที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลง ” นายสาธิต กล่าว

Advertisement

นายสาธิต กล่าวต่อไปว่า การเปลี่ยนแปลงการแพทย์วิถีใหม่ อย่างเป็นรูปธรรมจะต้องมีเป้าหมายการดำเนินงาน 3 ประเด็นได้แก่

ประเด็นที่ 1 ความปลอดภัย ด้านโครงสร้างเช่น การพัฒนาห้องฉักเฉิน/ห้องผ่าตัด เช่น ด้านระบบการทำงาน เช่น การจองคิวพบแพทย์ล่วงหน้า และ ด้านบุคลากร เช่น คำนึงถึงความปลอดภัยของบุคลากรเป็นสำคัญ

Advertisement

ประเด็นที่ 2 ลดแออัด ด้านการจัดกลุ่มประเภทผู้ป่วยให้ชัดเจน เช่น จัดระดับผู้ป่วยแบ่งออกเป็นสีตามความรุนแรง สีเขียว=ผู้ป่วยที่ยังไม่มีอาการรุนแรง สีเหลือง=มีอาการปานกลาง สีแดง= อาการรุนแรง ด้านจัดบริการให้เหมาะสมกับแต่ละกลุ่ม เช่น ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว/เหลือง อาจจะไม่ต้องมา รพ.ใช้คำปรึกษาผ่านระบบทางไกล เพื่อให้ผู้ป่วยกลุ่มสีแดง ที่มีความเสี่ยงมากจะต้องมาพบแพทย์ ที่ รพ. และ ด้านการแก้ปัญหาด้วยระบบดิจิตอล เช่น การให้คำปรึกษาผ่านระบบออนไลน์ ประหยัดเวลา ลดความแออัด ใน รพ.

ประเด็นที่ 3 ลดเหลื่อมล้ำ เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้ป่วยอื่นเข้าถึงการบริการที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ ผู้ป่วยในกลุ่มที่ไม่รุนแรง มีอาการป่วยเบื้องต้น สามารถดูแลตนเองได้โดยไม่ต้องพบแพทย์ ที่ รพ. เพิ่มการเข้าถึงและยกระดับคุณภาพของบริการทางการแพทย์ และระบบจัดการข้อมูลภาพรวมทั้งประเทศเพื่อนำมาวิเคราะห์แก้ไขปัญหา

“สิ่งที่เกิดขึ้นในสถานการณ์โควิด-19 คือ คนไทยส่วนใหญ่รับทราบแล้วว่า ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างเช่นประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเป็นผู้ป่วยติดโควิด-19 แล้ว ไปพบแพทย์ก็ได้ยาพาราเซตามอนกลับมาเม็ดเดียว ไม่สามารถพบแพทย์ได้ ไม่สามารถนอน รพ.ได้ หากมาเปรียบเทียบกับบ้านเราจะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน” นายสาธิต กล่าว

ทั้งนี้ นายสาธิต กล่าวว่า เป้าหมายการดำเนินงานในกลุ่มประชาชน 3 ประเด็นคือ ประเด็นที่ 1 ทำให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ ประเด็นที่ 2 เพิ่มระยะห่างทางสังคม โดยลดความแออัดของการให้บริการที่ รพ. และ ประเด็นที่ 3 เพิ่มการเข้าถึงบริการแก่ประชาชน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม

“โดยมุ่งเน้นให้ผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวที่มีอาการเบา เรียนรู้และศึกษาตนเองเมื่อมีอาการป่วยและสามารถติดต่อไปยังสถานพยาบาลหรือหน่วยบริการเพื่อขอรับคำปรึกษากับแพทย์โดยที่ไม่ต้องเดินทางมายัง รพ.ได้ เพื่อรักษาตนเองเบื้องต้น ได้ตามแนวทางการแพทย์วิถีใหม่” นายสาธิต กล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image