ศบค. ย้ำแผนกระจาย ‘ไฟเซอร์’ เน้นกลุ่มแพทย์ ผู้สูงอายุ ป่วย7กลุ่มโรค หญิงตั้งครรภ์

ศบค. ย้ำแผนกระจาย ‘ไฟเซอร์’ เน้นบูสเตอร์โดสกลุ่มแพทย์ ฉีดผู้สูงอายุ ป่วย7กลุ่มโรค หญิงตั้งครรภ์ ขณะที่อีสานระบาดหนัก ติดเชื้อจากกทม.เดินทางกลับบ้าน

เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019(โควิด-19)(ศบค.) แถลงสถานการณ์ประจำวันว่า สถานการณ์โลกมีผู้ป่วยใหม่เพิ่มจำนวนกว่า 564,000 ราย ทำให้ยอดรวมอยู่ที่ 193 ล้านราย เสียชีวิตทั่วโลก กว่า 4 ล้านราย ประเทศไทยรายงานผู้ติดเชื้ออยู่ในอันดับที่ 49 ในส่วนของเพื่อบ้านค่อนข้างขยับสูงขึ้น มาเลเซียกว่า 13,000 ราย เมียนมาร์ 6,700 ราย เวียดนาม 6,100 อัตราการเสียชีวิตของประเทศไทยอยู่ที่ 10 : 1 ล้านคนของจำนวนประชากร ขณะที่รายงานการฉีดวัคซีน ทั่วประเทศ ยอดรวมตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ ฉีดวัคซีนไปแล้ว 15,388,939 โดส จำนวน ผู้ฉีดวัคซีน เข็มที่ 1 จำนวน 11,805,180 ราย เข็มที่ 2 จำนวน 3,585,759 ราย

ในส่วน วัคซีนไฟเซอร์ ที่ได้รับบริจาคจากต่างประเทศ ที่ประชุมศบค.ชุดเล็กได้ย้ำ การกระจายจะเน้นไปที่บุคลากรทางการแพทย์เพื่อเป็นบูสเตอร์โดสกระตุ้นภูมิคุ้มกัน กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง หญิงมีครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไป กลุ่มชาวต่างชาติ โดยเน้นไปที่ผู้สูงวัย และ 7 โรค และกลุ่มคนไทยที่จำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศ ได้แก่ นักเรียน นักศึกษา นักกีฬาและนักการทูต โดยสามารถติดต่อลงทะเบียนฉีดได้ที่ โรงพยาบาลบางรัก และโรงพยาบาลบำราษนราดูร

พญ.อภิสมัย กล่าวต่อว่า ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 วันที่ 23 กรกฎาคม รวม 14,575 ราย จำแนกเป็น ติดเชื้อใหม่ 13,503 ราย ติดเชื้อภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 1,072 ราย ผู้ป่วยสะสม 438,844 ราย ตั้งแต่ 1 เมษายน หายป่วยกลับบ้าน 7,775 รายหายป่วยสะสม 292,726 ราย ตั้งแต่ 1 เมษายน เสียชีวิต 114 ราย ยอดรวมเสียชีวิต อยู่ที่ 3,717 คน คิดเป็น ร้อยละ 0.85 หายป่วยกลับบ้าน 7,775 ราย ยอดหายป่วยสะสม 292,726 ราย ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรักษา 143,744 ราย ในโรงพยาบาล 81,808 ราย โรงพยาบาลสนาม 61,936 ราย อาหารหนัก 3,984 ราย ในเครื่องช่วยหายใจ 900 ราย รายงานผู้เสียชีวิต อันดับหนึ่งอยู่ที่ กทม. 49 คน และกระจายไปทุกจังหวัด ภาคกลางอายุ 64 ปี อายุน้อยที่สุด 14 ปี และสูงสุด 94 ปี เสียชีวิตที่บ้าย 3 ราย ห้องฉุกเฉิน 1ราย 47 รายเสียชีวิตในเวลาไม่เกิน 6 วันนับจากวันที่ทราบผลการติดเชื้อ คิดเป็นร้อยละ 41 กลุ่มความเสี่ยงยังเป็นผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดติดเชื้อในครอบครัว โดยเฉพาะครอบครัวที่มีผู้สูงอายุและเด็กอายุน้อย ต่างจังหวัดมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น จากรายงานของกรมควบคุมโรคระบุว่า หลายจังหวัด โดยเฉพาะในภาคอีสาน เป็นการรายงานผู้ติดเชื้อที่เดินทางกลับจากกทม. ปริมณฑล และไปเกิดการสัมผัสติดเชื้อกับครอบครัวและเพื่อน ได้แก่ อุบลราชธานี สระบุรี ตาก ขอนแก่น อุตรดิตถ์ สระแก้ว สุราษฎรธานี กระบี่ สตูล ขณะที่ลำบากติดเชื้อจากโรงการรับผู้ป่วยกลับบ้าน 36 ราย เป็นต้น โดยได้มีการรายงานด้วยว่า หลังมีการประกาศใช้มาตรการควบคุมยังมีประชาชนเดินทางข้ามพื้นที่ อยู่กว่าแสนราย

พญ.อภิสมัย กล่าวต่อด้วยว่า ที่ประชุมยังมีการลงรายละเอียดดูแลผู้ติดเชื้อ ในส่วนของกทม. ซึ่งมีผู้ติดเชื้ออยู่ที่ 3,104 ราย ในจำนวนนี้ยังไม่รวมการตรวจด้วย Antigen Test Kit (ATK) อีกกว่า 2,000 ราย ภายใน 1-2 วันนี้กทม.จะรวบรวมตัวเลขเพื่อรายงานให้ที่ประชุมได้รับทราบ รวมทั้งจะมีการประกาศให้ประชาชนรับทราบว่า แต่ละพื้นที่ จะมีจุดให้สามารถไปตรวจเชื้อได้ที่ไหนอย่างไรบ้าง ทั้งนี้จากตัวเลขรายงานผู้ติดเชื้อ พบว่า จากการตรวจเชิงลุก พบว่ามีการติดเชื้อสูงถึงร้อยละ 11 และหากมีประวัติเป็นผู้สัมผัส จะมีการรายงานผลการติดเชื้อตามมาสูงถึงร้อยละ 15 ตรงนี้เป็นสิ่งที่กทม. และกรมควบคุมโรคย้ำว่า ให้พยายามสังเกตุตัวเอง และเข้าสู่ระบบการตรวจ หากเป็นผู้ติดเชื้อก็จะสามารถเข้าสู่ระบบการรักษาโดยเร็วที่สุด ในแง่ของการรับผู้ป่วยดูแล กรมการแพทย์ ได้รายงานผลการทำงานของอนุกรรมด้านการรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ โดยปัจจุบันมีผู้ป่วยรอเตียงเพิ่ม 868 ราย ซึ่งจะต้องได้รับการจัดสรรโดยเร็ว ผู้ป่วยระดับความรุนแรงสีแดง 40 ราย ในจำนวนนี้จะเร่งเข้าสู่โรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด และเร็วๆ นี้จะมีการจัดทำแผนผังข้อมูล ผู้ป่วยแต่ละระดับ ว่าอยู่ในเขตพื้นที่ใดบ้าง

Advertisement

“จากการรายงาน พบว่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่ อยู่ในกลุ่มสีเขียว ตรงนี้ ย้ำว่า เมื่อได้รับการยืนยันว่า เป็นผู้ติดเชื้อหากอยู่ในระดับสีเขียว อาจไม่จำเป็นต้องเข้าโรงพยายาบาล ตอนนี้แนวทางเน้นให้แยกกักตัวที่บ้าน หรือ Home Isolation สิ่งสำคัญคือต้องประเมินตัวเองว่า มีอาการระดับใด เช่น จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ถ่ายเหลว แต่ไม่มีอาการในระบบทางเดินหายใจ พบว่าการแยกรักษาโดยการดูแลที่บ้านได้ผลดี ซึ่งเมื่อได้รับการตรวจและทราบว่าติดเชื้อ สามารถขอเข้ารับการกักตัวได้ที่โรงพยาบาลที่ไปตรวจ ตอนนี้หลายโรงพยาบาลเริ่มทีระบบ Home Isolation มีคู่มือให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยแยกกักตัวที่บ้าน แต่หากไปตรวจที่แลปเอกชน หรือจุดรับตรวจ สามารถติดต่อที่หมายเลข 1330 กด 4 สปสช.จะเพิ่มคู่สายบริการจาก 100 สาย เป็น 200 สาย ขณะที่กสทช. จัดหมายเลข ของสำนักงานเขต 50 หมายเลขเพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่ายขึ้น โดยหมายเลข 1330 กด 14จะมีระบบดูแลเพื่อเข้าสู่ Home Isolation และจะได้รับกล่องรอดตาย ซึ่งจะมีทั้งที่วัดอุณหภูมิ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ให้ความช่วยเหลือ ในแง่การเบิกจ่าย สปสช. ย้ำ ว่าแม้จะแยกกักอยู่ที่บ้าน ยังสามารถเบิกจ่ายได้ตามปกติ ทั้งค่ารถ ค่าอาหารกลางวัน 3มื้อ เป็นต้น ทั้งนี้เมื่อเข้าสู่การดูแล รับการประเมิน จะเข้าสู่การพิจารณาจ่ายยาโดยเร็ว ที่สุด การให้ยาฟาวิพิราเวียร์ ไม่ได้เป็นข้อห้ามในการให้ยาที่บ้าน กรณีมีข้อจำกัด อยู่ในครอบครัวมที่มีคนจำนวนมาก Community Isolation การดูแลตนเองในระบบชุมชน หรือศูนย์พักคอยจะช่วยได้ มีคนเข้าระบบแล้ว 1,682 คน กทม. เปิดศูนย์พักคอยแล้ว 22 เขต กำลังจะเปิด 14 เขต และกำลังเตรียมสถานที่อีก 14 เขต” พญ.อภิสมัย กล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image