‘โควิด’ โคม่า 4.5 พันราย ใส่เครื่องช่วยหายใจพันราย เสียชีวิตในบ้านพุ่ง พบ ‘บุคลากรการแพทย์’ ดับ 2 ราย

‘โควิด’ โคม่า 4.5 พันราย ใส่เครื่องช่วยหายใจพันราย เสียชีวิตในบ้านพุ่ง พบ ‘บุคลากรการแพทย์’ ดับ 2 ราย

เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2564 ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) รายงานสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลก มียอดผู้ติดเชื้อรวม 196,692,497 ราย เพิ่มขึ้น 659,109 ราย อาการรุนแรง 86,542 ราย รักษาหายแล้ว 178,102,533 ราย เสียชีวิตรวม 4,203,599 ราย

  • ‘โควิดไทย’ อันดับ 44 ของโลก อันดับ 3 เอเชีย

ประเทศมีผู้ติดเชื้อสูงสุด ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จำนวน 35,487,490 ราย อินเดีย จำนวน 31,526,622 ราย บราซิล จำนวน 19,797,516 ราย รัสเซีย จำนวน 6,195,232 ราย และฝรั่งเศส จำนวน 6,054,049 ราย

ส่วนประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 44 จำนวน 561,030 ราย (ผู้ป่วยยืนยันสะสมตั้งแต่ปี 2563) เพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน (28 กรกฎาคม) อยู่อันดับที่ 45 ของโลก

Advertisement

ขณะที่สถานการณ์โควิดของประเทศในทวีปเอเชีย มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ อันดับ 1 ประทศอินเดีย 43,211 ราย อันดับ 2 อินโดนีเซีย 44,791 ราย อันดับ 3 ประเทศไทย 17,669 ราย อันดับ 4 มาเลเซีย 17,405 ราย อันดับ 5 บังคลาเทศ 16,230 ราย

  • โคม่า 4,511 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 1,001 ราย

สำหรับสถานการณ์ในประเทศระลอกใหม่เมษายน มีผู้ติดเชื้อเพิ่ม 17,669 ราย ติดเชื้อในประเทศ 17,391 ราย จากเรือนจำ/ที่ต้องขัง 261 ราย จากต่างประเทศ 17 ราย

Advertisement

มีผู้ป่วยยืนยันสะสม 532,167 ราย หายป่วยแล้ว 9,798 ราย หายป่วยสะสม 343,066 ราย เสียชีวิต 165 ราย เสียชีวิตสะสม 4,468 ราย

กำลังรักษาอยู่ 185,976 ราย ในโรงพยาบาล 69,152 ราย โรงพยาบาลสนามและอื่นๆ 116,824 ราย อาการหนัก 4,511 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 1,001 ราย

สถานการณ์ผู้ติดเชื้อรายใหม่และเสียชีวิต ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลอยู่ที่ 7,875 ราย เสียชีวิต 125 ราย พื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้ 858 ราย เสียชีวิต 10 ราย จังหวัดอื่นๆ 8,658 ราย เสียชีวิต 28 คน และเรือนจำ/ห้องขัง 261 ราย เสียชีวิต 2 ราย

  • ยอดเสียชีวิตที่บ้านพุ่ง-บุคลากรแพทย์ดับ 2 ราย

โดยผู้เสียชีวิต 165 ราย กระจาย 23 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ 58 ราย สมุทรปราการ 32 ราย ปทุมธานี 17 ราย นนทบุรี 9 สย สมุทรสาคร 6 ราย นครปฐม 5 ราย ปัตตานี 5 ราย นราธิวาส 4 ราย สงขลา 1 ราย ระนอง 1 ราย นครราชสีมา2 ราย ร้อยเอ็ด 2 ราย บุรีรัมย์ 1 ราย อุบลราชธานี 1 ราย นครสวรรค์ 3 ราย กาญจนบุรี 4 ราย ฉะเชิงเทรา 4 ราย เพชรบุรี 3 ราย ชลบุรี 2 ราย ระยอง 2 ราย ตราด 1 ราย สมุทรสงครมา 1 ราย อุทัยธานี 1 ราย

เป็นชาย 94 ราย หญิง 71 ราย ชาวไทย 162 ราย เมียยมา 1 ราย กัมพูชา 1 ราย จีน 1 ราย ค่ากลางอายุ 62 ปี ตั้งแต่ 22-99 ปี ค่ากลางเวลาเสียชีวิต 9 วัน นานสุด 29 วัน พบเสียชีวิตที่บ้าน 21 ราย ที่สมุทรปราการ 12 ราย ปทุมธานี 7 ราย ร้อยเอ็ด 1 ราย ฉะเชิงเทรา 1 ราย

โดยมีโรคประจำตัวและปัจจัยเสี่ยงต่อความรุนแรงของโรค เช่น ความดันโลหิตสูง 74 ราย เบาหวาน 55 ราย ไขมันในเลือดสูง 33 ราย โรคไต 15 ราย โรคอ้วน 19 ราย หลอดเลือดสมอง 5 ราย โรคปอด 4 ราย โรคหัวใจ 9 ราย ตั้งครรภ์ 1 ราย ปฎิเสธโรคประจำตัว 9 ราย

ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อส่วนใหญ่มาจากคนในครอบครัว 39 ราย เพื่อนร่วมงาน 33 ราย อาศัยหรือไปพื้นที่ระบาด 70 ราย พื้นที่แออัด เช่น ตลาด แคมป์คนงาน เรือนจำ โรงพยาบาล 8 ราย บุคลากรทางการแพทย์ 2 คน อาชีพเสี่ยง 5 ราย เช่น ค้าขาย รถสาธารณะ และระบุไม่ชัดเจน 8 ราย

  • ต่างชาติเที่ยว ‘ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์’ ติด 3 ราย

สำหรับผู้ติดเชื้อจากต่างประเทศ 17 ราย ได้แก่ รัสเซีย 1 ราย สหรัฐอเมริกา 1 ราย โคลัมเบีย 1 ราย สหรัฐอเมริกา 1 ราย จากโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ เป็นเพศชายอายุ 57 ปี สหราชอาณาจักร 2 ราย จากโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ เป็นหญิงทั้ง 2 ราย อายุ 9 ปี และ11 ปี เมียนมา 7 ราย ผ่านช่องทางธรรมชาติ 6 ราย มาเลเซีย 4 ราย

10 จังหวัดติดเชื้อสูงสุด ‘กทม.’ พุ่ง 3,963 ราย

สำหรับ 10 จังหวัดมีผู้ป่วยรายใหม่สูงสุด ได้แก่ กรุงเทพฯ 3,963 ราย ยอดสะสม 145,223 ราย สมุทรสาคร 1,172 ราย ยอดสะสม 28,144 ราย นครปฐม 984 ราย ยอดสะสม 11,670 ราย ชลบุรี 982 ราย ยอดสะสม 23,504 ราย สมุทรปราการ 810 ราย ยอดสะสม 36,315 ราย

นนทบุรี 633 ราย ยอดสะสม 22,794 ราย ฉะเชิงเทรา 589 ราย ยอดสะสม 9,481 ราย ระยอง 394 ราย ยอดสะสม 6,554 ราย ปทุมธานี 313 ราย ยอดสะสม 18,823 ราย และอุดรธานี 303 ราย ยอดสะสม 3,382 ราย

สำหรับจังหวัดพบติดเชื้อไม่ถึง 10 ราย มี 2 จังหวัด คือ จังหวัดลำพูน 6 ราย ยอดสะสม 543 ราย และแม่ฮ่องสอน 7 ราย ยอดสะสม 138 ราย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image