‘ศิริราช’ อัพเดตผลวิจัย ฉีดไฟเซอร์เข็ม 3 หลังรับซิโนแวค กระตุ้นภูมิสูงสู้สายพันธุ์เดลต้า

‘ศิริราช’ อัพเดตผลวิจัย ฉีดไฟเซอร์เข็ม 3 หลังรับซิโนแวค กระตุ้นภูมิสูงสู้สายพันธุ์เดลต้า

เมื่อวันที่ 10 กันยายน เฟซบุ๊กศูนย์วิจัยคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า

อัพเดตรายงานผลการวิจัยโครงการฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3 ในผู้ที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็ม ด้วยวัคซีนไฟเซอร์

หลังจากรับวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็ม เป็นระยะเวลา 8-12 สัปดาห์ ระดับภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดีชนิด IgG เฉลี่ยอยู่ที่ 45-53 หน่วยต่อมิลลิลิตร

Advertisement

+เมื่อได้รับวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 ด้วยไฟเซอร์ขนาดเต็มโดส (0.3 มิลลิลิตร) มีระดับแอนติบอดีชนิด IgG ขึ้นเฉลี่ย 5,723 หน่วยต่อมิลลิลิตร

+รองลงมาเป็นการกระตุ้นด้วยวัคซีนไฟเซอร์ขนาดครึ่งโดส (0.15 มิลลิลิตร) มีระดับแอนติบอดีชนิด IgG ขึ้นเฉลี่ย 4,598 หน่วยต่อมิลลิลิตร ซึ่งสูงกว่าการฉีดกระตุ้นด้วยวัคซีนชนิดอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

เทียบกับ 4-8 สัปดาห์หลังฉีดวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม จะมีระดับแอนติบอดีชนิด IgG เฉลี่ยที่ 1,931.3 หน่วยต่อมิลลิลิตร

Advertisement

+ส่วนการกระตุ้นเข็ม 3 ด้วยวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า มีระดับแอนติบอดีชนิด IgG ขึ้นเฉลี่ย 1,599 หน่วยต่อมิลลิลิตร เทียบกับวัคซีนซิโนฟาร์มที่มีแอนติบอดีขึ้นเฉลี่ย 218.9 หน่วยต่อมิลลิลิตร

ผลต่อการยับยั้งสายพันธุ์เดลต้า

+ไฟเซอร์ขนาดเต็มโดสมีระดับไตเตอร์สูงที่สุด (839.9) รองลงมาเป็นวัคซีนไฟเซอร์ขนาดครึ่งโดส (531.) วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า (271.2) และวัคซีนซิโนฟาร์ม (61.3)

สรุปว่า สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนซิโนแวคมาแล้ว 2 เข็ม การใช้วัคซีนไฟเซอร์ฉีดเป็นเข็มที่ 3 กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้สูงที่สุด และครึ่งโดสอาจจะเพียงพอได้ ควรมีการศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพื่อยืนยันผลภูมิคุ้มกันที่ได้จากการศึกษานี้

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image