ศบค.แจงพ.ร.ก.ฉุกเฉินฉบับ36 เปิดชื่อ ปท.เข้าไทยไม่กักตัว ยกเลิกเคอร์ฟิวพื้นที่สีฟ้า นำร่องท่องเที่ยว 31ต.ค.

ศบค.แจงรายละเอียดพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฉบับที่ 36 เปิดชื่อ 45 ประเทศ + 1 เขตบริหารพิเศษฮ่องกง เข้าไทยได้ไม่กักตัว ยกเลิกเคอร์ฟิวพื้นที่สีฟ้า นำร่องท่องเที่ยว 31 ต.ค.

เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)แถลงสถานการณ์รายวัน ว่า เนื่องจากการประชุมวางแผนกำหนดมาตรการเปิดประเทศเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม ที่ผ่านมา มีนำสรุปข้อเสนอให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงนาม และประกาศพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ฯฉบับที่ 36 ซึ่งมีรายละเอียด สำคัญดังนี้

ข้อกำหนดตามมาตรา 9 ในพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ฉบับที่ 36 สืบเนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสคิดวิด-19 ของประเทศไทย มีสถานการณ์คลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น รัฐบาลเห็นว่า มีความจำเป็นฟื้นฟูประเทศ เพื่อประโยชน์ด้านการใช้ชีวิตความเป็นอยู่และด้านเศรษฐกิจแก่ประชาชน เบื้องต้นจึงให้มีการเปิดพื้นที่นำร่องท่องเที่ยวเพื่อเป็นปัจจัยเอื้อให้นักท่องเที่ยวเข้ามาจากต่างประเทศมากขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อระบบแศรษฐกิจการจ้างงานในภาพรวม โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว และภาคธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้จะต้องยึดหลักความปลอดภัยของประชาชน สร้างความมั่นใจให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมทั้งประชาชนในประเทศ อันจะส่งผลให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมให้สามารถดำเนินการได้ควบคู่กับมาตรการด้านสาสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งได้เริ่มปฏิบัติในหลายๆ ประเทศ ที่มีสถานการใกล้เคียงกัน

พญ.อภิสมัย กล่าวต่อว่า ข้อ 1 การกำหนดเขตพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว หรือ Sandbox เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศควบคู่กับการควบคุมป้องกันโรคในพื้นที่แบบบูรณาการ โดยการกำหนดพื้นที่นำร่องท่องเที่ยว เป็นไปตามคำสั่งศบค. ซึ่งอาจมีการปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ 2. การกำหนดมาตรการควบคุมแบบบูรณาการในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว ให้สถานที่ กิจการ หรือการดำเนินกิจกรรมในเขตพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว สามารถเปิดดำเนินการได้ภายใต้เงื่อนไข เงื่อนเวลา การจัดระบบ ระเบียบและมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนด อย่างเช่น มาตรการป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล มาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร หรือ Covid Free Setting รวมทั้งมาตรการตามกฎหมาย ว่าด้วยโรคติดต่อ ที่ผู้รับผิดชอบแต่ละพื้นที่กำหนดขึ้นเป็นการเฉพาะ

3. ยกเลิกการออกนอกเคหะสถานในพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว ซึ่งเดิมเคยกำหนดให้เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ทั้งนี้ มีผลตั้งแต่เวลา23.00 น. วันที่ 31 ตุลาคม 2564 ซึ่งคือการยกเลิกเคอร์ฟิวในพื้นที่ สีฟ้า นำร่องท่องเที่ยวในส่วนพื้นที่สีแดงเข้มในจังหวัดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 4.การห้ามจัดกิจกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรคในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว ห้ามจัดกิจกรรมที่มีการร่วมกลุ่มกันของบุคคลที่มีการร่วมกลุ่มกันมากกว่า 500 คน ในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว

Advertisement

ข้อ5.การเตรียมความพร้อมของสถานบริการหรือสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่โรคในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว ในระยะเริ่มแรกของพื้นที่สีฟ้า ยังระบุว่า สถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานประกอบการ สถานบันเทิง ผับบาร์ คาราโอเกะ แม้จะอยู่ในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยวแต่ยังคงให้ปิดบริการ ขณะเดียวกันขอให้เตรียมความพร้อมเพื่อการผ่อนคลายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 6.การปรับระดับพื้นที่สถานการณ์ย่อยในพื้นที่นำร่องด้านการท่องเที่ยว ยังมีการกำหนดมาตรการเพิ่มในแต่ละจังหวัด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สามารถพิจารณาเพิ่มเติม และสามารถสั่งปิดหรือดำเนินกิจการ กิจกรรมได้ กรณีที่มีการแพร่ระบาดในพื้นที่นั้น ๆ เพิ่มขึ้น

7.กำหนดผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพิ่มเติม เพื่อเอื้อต่อการเติมทางที่มาจากประเทศต้นทางที่ได้รับการประเมิน ตามที่สาธารณสุขกำหนด 8.มาตรการป้องกันโรคต่อผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งเป็นผู้ได้รับอนุญาติ เช่น มาจากประเทศที่ได้รับอนุญาติ หรือมีหนังสือรับรองหลักฐานการลงทะเบียนที่ชัดเจน มีการตรวจยืนยันว่า ไม่มีการติดเชื้อโควิด-19 มีหลักฐานยืนยันการฉีดวัคซีนครบ มีหลักฐานการชำระค่าที่พัก ร่วมทั้งมีหลักฐานยืนยันว่ามีกรมธรรม์ประกันภัย และประกันสุขภาพติดตัวมาด้วย

ส่วนการเดินทางเข้าประเทศไทย ดังนี้ การเดินทางเข้าประเทศไทยโดยไม่จำเป็นต้องมีการกักตัว จะมี 45 ประเทศ บวก 1 เขตบริหารพิเศษฮ่องกง มีข้อจำกัดว่าผู้ที่เดินทางจะต้องพำนักในประเทศนั้นๆ ที่กำหนดต่อเนื่องอย่างน้อย 21 วันก่อนเดินทางเข้าประเทศไทย ยกเว้นผู้ที่เพิ่งเดินทางออกจากประเทศไทย ตรงนี้ไม่จำเป็นต้องอยู่ในประเทศที่เดินทางไป 21 วัน สำหรับคนไทย หรือคนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย กลุ่มแรกที่เดินทางเข้าประเทศไทยโดยไม่จำเป็นต้องกักตัว ดังนี้ ออสเตรเลีย ออสเตรีย บาห์เรน เบลเยี่ยม ภูฏาน บรูไนดารุสซาราม บัลแกเรีย กัมพูชา แคนาดา ชิลี จีน ไซปรัส สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยรมนี กรีซ ฮีงการี ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิสราเอล อิตาลี ญี่ปุ่น ลัตเวีย ลิทัวเนีย มาเลเซีย มอลตา เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ โปแลนด์ โปรตุเกส กาตาร์ ซาอุดิอาระเบีย สิงค์โปร์ สโลวิเนีย สาธารณรัฐเกาหลี สเปน สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ สหรัฐอาหรับเอมิเรต สหรัฐอเมริกา และฮ่องกง

“โดยผู้ที่จะเดินทางมาจะต้องได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม อย่างน้อยต้องฉีดเข็ม 2 แล้ว 14 วันก่อนวันเดินทาง และต้องมีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี RT-PCR ภายใน 72 ชั่วโมงก่อนการเดินทางและมีผลเป็นลบ มีประกันสุขภาพอย่างน้อย 50,000 เหรียญสหรัฐ เมื่อมาถึงต้องได้รับการตรวจด้วย RT-PCR ทันที การเข้าพักโรงแรม หรือสถานที่ที่ราชการกำหนด เมื่อครบ 1 คืน มีผลตรวจโควิด-19 เป็นลบ กลุ่มนี้จะสามารถไปพื้นที่อื่นได้โดยไม่ต้องกักตัว แต่ต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่นทันทีที่มาถึง และจะต้องติดตามได้ว่าเดินทางไปที่ใด รวมทั้งต้องร่วมมือมาตรการเฝ้าระวังการติดเชื้อ มีการสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา มีการเว้นระยะห่าง ล้างมีเป็นต้น กรณีคนไทยและชาวต่างชาติที่อยู่ในประเทศไทยเดินทางมาจากกลุ่มประเทศเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องมีหลักประกันสุขภาพ 50,000 เหรียญสหรัฐ โดยอนุญาตเฉพาะการเดินทางทางอากาศเท่านั้น มีการระบุท่าอากาศยาน คือ สุวรรณภูมิ ดอนเมือง เชียงใหม่ ภูเก็ต สมุย อู่ตะเภา และบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นการเช่าเหมาลำเท่านั้น กรณีที่ไม่เข้าเกณฑ์กลุ่มที่ 1 สามารถเลือกเข้าโปรแกรม Sandbox ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนนอกจาก ภูเก็ตแล้ว จะมี กระบี่ สมุย พังงา เป็นต้น โดยใช้หลักการเดียวกัน “พญ.อภิสมัย กล่าว

พญ.อภิสมัย กล่าวต่อว่า กลุ่มคนที่อาจจะไม่เข้าเกณฑ์ทั้ง 2 ประเภท เช่น คนที่ได้รับวัคซีนยังไม่ครบ คนที่ยังไม่ได้รับวัคซีน ฉีดเข็ม2 แต่ยังไม่ถูง 14 วัน หรือมาจากประเทศอื่นที่ไม่ได้กำหนด กลุ่มนี้สามารถเดินทางเข้าประเทศไทยได้ ภายใต้เงื่อนไขการกักกันในพื้นที่ที่ทางราชการกำหนด เช่น กลุ่มนักกีฬา เดินทางเข้ามาในประเทศไทยเพื่อเข้ารับการรักษาพยาบาล เป็นต้น ส่วนสถานการณ์ผู้ติดเชื้อวันที่ 22 ตุลาคม ยังคงต่ำลงต่อเนื่อง รวม 9,810 ราย หายป่วยกลับบ้าน 10,513 ราย เสียชีวิต 66 ราย รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล อาการหนัก 2,585 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 583 ราย จะเห็นทิศทางที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งผู้ป่วยปอดอักเสบลดลง ผู้ใช้เครื่องช่วยหายใจลดลง ผู้เสียชีวิตลดลง ทั้งนี้ กลุ่มจังหวัดที่มีการติดเชื้อและเสียชีวิตสูง ยังคงอยู่ในภาคใต้ 19% กรุงเทพฯและปริมณฑล ลดลงอย่างต่อเนื่อง อยู่ที่ 16% ครัสเตอร์ที่ติดตามในจังหวัดภาคใต้ เริ่มมีการกระจายไปยังพื้นที่ชุมชนและตลาด ดังนั้น ต้องฝากประชาชนให้เฝ้าระมัดระวังอย่างเข้มงวด

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image