ศูนย์จีโนมฯ เผยไทยพบโอมิครอน BA.2.75.2 รายที่ 2 เป็นหญิง ชี้เชื้อดื้อยาทุกชนิด

ศูนย์จีโนมฯ เผยไทยพบโอมิครอน BA.2.75.2 รายที่ 2 เป็นหญิง ชี้เชื้อดื้อยาทุกชนิด

เมื่อวันที่ 19 กันยายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล อัพเดตสถานการณ์การพบเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน BA.2.75.2 ในประเทศไทย ซึ่งเมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาพบผู้ติดเชื้อในประเทศไทยแล้ว 1 ราย ว่าจากข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดโลก หรือจีเสด “GISAID” พบผู้ติดเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย “BA.2.75.2” รายที่ 2 ในไทย เป็นเพศหญิง

สำหรับโอมิครอน BA.2.75.2 ข้อมูลจากทีมวิจัยสหราชอาณาจักร พบสมรรถนะการหลบหลีกภูมิคุ้มกันได้ดีกว่า BA.5 ถึง 5 เท่า และดีกว่า BA.4.6 ถึง 4 เท่า ดื้อต่อแอนติบอดีที่ใช้รักษาโรคโควิด-19 แทบทุกชนิด รวมทั้งภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป หรือ Long Acting Antibody (LAAB) หรืออิวูชิลด์/Evusheld แต่ไม่จำเป็นต้องตระหนก พบ BA.2.75.2 พบเพียง 464 ราย ในฐานข้อมูลโควิดโลก ในจำนวนนี้ ประเทศไทยพบ 2 ราย มูฟออนจากโควิด-19 ได้ แต่ต้องตระหนัก การ์ดไม่ตก เพื่อมิให้ BA.2.75.2 มีโอกาสระบาดมาแทนที่ BA.4.6 และ BA.5

ทั้งนี้ ศูนย์จีโนมฯระบุว่า จากข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดโลก “GISAID” พบผู้ติดเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย “BA.2.75.2” รายที่สองในไทยเป็น “หญิง” โอมิครอน BA.2.75.2 :- ข้อมูลจากทีมวิจัยสหราชอาณาจักร พบสมรรถนะการหลบหลีกภูมิคุ้มกันได้ดีกว่า BA.5 ถึง 5 เท่า และดีกว่า BA.4.6 ถึง 4 เท่า ดื้อต่อแอนติบอดีที่ใช้รักษาโรคโควิด-19 แทบทุกชนิด รวมทั้ง “เอวูเชลด์/Evusheld”

ไม่จำเป็นต้อง “ตระหนก” พบ BA.2.75.2 เพียง “464 ราย” ในฐานข้อมูลโควิดโลก “GISAID” (ในไทยพบสองราย) มูฟออนจากโควิด-19 ได้ แต่ต้องตระหนักการ์ดไม่ตก เพื่อมิให้ ฺBA.2.75.2 มีโอกาสระบาดมาแทนที่ BA.4.6 และ BA.5

Advertisement

การกระจายทางภูมิศาสตร์ (คลิก เพื่ออ่าน)

อินเดีย
143
0.489%
สหรัฐ
112
0.014%
สิงคโปร์
43
0.500%
ออสเตรเลีย
20
0.032%
เกาหลีใต้
20
0.054%
ออสเตรีย
19
0.027%
ญี่ปุ่น
18
0.013%
อิสราเอล
13
0.019%
ประเทศอังกฤษ
13
0.003%
แคนาดา
13
0.014%
เยอรมนี
8
0.003%
เนเธอร์แลนด์
7
0.026%
เดนมาร์ก
6
0.004%
นิวซีแลนด์
5
0.042%
เบลเยียม
4
0.011%
ไอร์แลนด์
3
0.012%
ฝรั่งเศส
3
0.002%
สเปน
2
0.006%
สโลวีเนีย
2
0.020%
==================
ประเทศไทย
2 ราย
พบในผู้ติดเชื้อรายใหม่ 0.030%
==================
สวิตเซอร์แลนด์
2
0.014%
สวีเดน
2
0.008%
ลักเซมเบิร์ก
1
0.006%
ฮ่องกง
1
0.030%
ชิลี
1
0.009%
เนปาล
1
0.304%

Advertisement

ปรับปรุง 19/9/2565 เวลา 23.30

ข้อมูลล่าสุดจากทีมวิจัยในสหภาพยุโรป (European Union: EU) เมื่อ 16/กย/2565 ได้รายงานในวารสารวิชาการแสดงข้อมูลทางห้องปฏิบัติการให้เห็นว่าโอมิครอน BA.2.75.2 และ BA.4.6 (ภาพ 1) สามารถหลบเลี่ยง “ยาแอนติบอดีที่ใช้เดี่ยว” และ “ยาแอนติบอดีแบบผสม” รวมทั้ง “เอวูเชลด์/Evusheld” ซึ่งมีส่วนผสมระหว่างแอนติบอดีซิกเกวิแมบ/cilgavimab และทิกเกจวิมาบ/tixagevimab ทำให้ผู้ที่ติดเชื้อโอมิครอน 2 สายพันธุ์ดังกล่าวจะรักษายากขึ้นเนื่องจากดื้อต่อ “ยาแอนติบอดี” เป็นส่วนใหญ่ เหลือแอนติบอดีสังเคราะห์เพียงไม่กี่ประเภท เช่น “เบบเทโลวิแมบ/bebtelovimab” ที่ยังสามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของโอมิครอน BA.2.75.2 และ BA.4.6 ได้ (ภาพ 2)

ข้อมูลจากทีมวิจัยสหราชอาณาจักร พบสมรรถนะการหลบหลีกภูมิคุ้มกัน ของโอมิครอน BA.2.75.2 ดีกว่า BA.5 ถึง 5 เท่า และ ดีกว่า BA.4.6 ถึง 4 เท่า (ภาพ 2.1)

https://www.biorxiv.org/content/10.1101/2022.09.16.508299v1

ข้อมูลเหล่านี้ทำให้ผู้เชี่ยวชาญเกิดความกังวลว่าโอมิครอน BA.2.75.2 และ BA.4.6 อาจหลีกเลี่ยงภูมิคุ้มกันทางร่างกายเกิดการระบาดในกลุ่มประชากรขึ้นได้ โดยเฉพาะประเทศในซีกโลกเหนือที่กำลังย่างเข้าสู่ฤดูหนาวซึ่งประชาชนจะรวมตัวกันอยู่ในที่พักเพื่อเลี่ยงอากาศหนาว ทำให้โรคติดต่อทางอากาศและการสัมผ้สใกล้ชิด ติดต่อกันได้มากขึ้น

ยาแอนติบอดีแบบผสม “เอวูเชลด์” ทาง EU เพิ่งอนุมัติให้ใช้รักษาโรคโควิด-19 เนื่องจากสามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของ BA.1, BA.2, BA.4/BA.5 และ BA.2.75 ในร่างกายผู้ป่วยได้ดีในระดับหนึ่ง โดยขณะที่อนุมัตินั้นยังไม่มีข้อมูลการ “กลายพันธุ์ของโอมิครอน BA.4 มาเป็น BA.4.6” และ “การกลายพันธุ์ของโอมิครอน BA.2.75 มาเป็น BA.2.75.2” ซึ่งดื้อต่อยาเอวูเชลด์ (ภาพ 3)

พบสมรรถนะการหลบหลีกภูมิคุ้มกันได้ดีกว่า BA.5 ถึง 5 เท่า และดีกว่า BA.4.6 ถึง 4 เท่า (ภาพ 3.1) (คลิก เพื่ออ่าน)

การใช้ “ยาแอนติบอดีแบบผสม” ในประเทศไทยมีข้อบ่งใช้สำหรับการรักษาโรค COVID-19 ในผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป โดยมี “อาการน้อยถึงปานกลาง” ไม่ต้องให้ออกซิเจนอัตราการไหลสูง หรือเป็นผู้ป่วยกลุ่มเปราะบางที่มีความเสี่ยงสูงที่โรคจะดำเนินไปสู่อาการรุนแรง จากการวิจัยทางคลินิกพบว่า การรักษาด้วยยาแอนติบอดีแบบผสมสามารถลดปริมาณเชื้อไวรัสในกระแสเลือดและยับยั้งการติดเชื้อของร่างกาย รวมทั้งลดระยะเวลาการรักษาในโรงพยาบาล
—————————————
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ ตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ต่างๆ ให้ได้อย่างรวดเร็ว ภายใน 24-48 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นเดลต้า หรือโอมิครอน สายพันธุ์ย่อย BA.2, BA.4, BA.4.6, BA.5, BA.2.12.1, BA.2.75, BA.2.75.1, BA.2.75.2 ฯลฯ เพราะการรักษาโควิด-19 เริ่มมีลักษณะของการแพทย์แม่นยำ และมุ่งเป้า (precision medicine) มากขึ้นเป็นลำดับ ต่างจากการรักษาในช่วงต้นของการระบาดในปี 2019 ซึ่งผู้ป่วยทุกรายรักษาเหมือนกัน (One-size-fits-all) เนื่องจากปัจจุบันพบว่าเวชภัณฑ์ อาทิ วัคซีน (เข็มหลัก และเข็มกระตุ้น) ยาต้านไวรัส และแอนติบอดีสำเร็จรูปที่ใช้รักษาโรคโควิด-19 หลายประเภทมีประสิทธิภาพในการป้องกันหรือรักษาไวรัสโคโรนา 2019 แต่ละสายพันธุ์ ที่แตกต่างกัน อย่างเช่นกรณีของโอมิครอน BA.4.6 และ BA.2.75.2 เหลือยาแอนติบอดีสังเคราะห์ “เบบเทโลวิแมบ/bebtelovimab” ที่ยังสามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของโอมิครอน BA.4.6 และ BA.2.75.2 ได้


—————————————
วัคซีนเจเนอเรชั่นที่ 2 ที่สามารถป้องกันไวรัสโคโรนา-19 ที่ปัจจุบันมีการกลายพันธุ์ต่างไปจากไวรัสดั้งเดิม หรือวัคซีนเจเนอเรชั่น 3 ที่สามารถยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสที่มีการกลายพันธุ์ในอนาคตทุกสายพันธุ์ (Universal coronavirus vaccine) จึงมีความจำเป็น
—————————————
โอมิครอน “BA.2.75.2” อันเป็นโควิด-19 “เจเนอเรชั่น 3” ทางศูนย์จีโนมเพิ่งรายงานพบในไทย 1 ราย อ่านรายละเอียดได้จาก (คลิก) จากข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดโลก “GISAID” ล่าสุดพบผู้ติดเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย “BA.2.75.2” รายที่สองในไทยเป็น “หญิง” เก็บตัวอย่างเมื่อวันที่ 18 ก.ย.2565 จาก รพ.เอกชนใน กทม. (ภาพ 0)
—————————————
ในขณะที่ BA.4.6 ตรวจพบครั้งแรกเดือนมกราคม พ.ศ.2565 ในประเทศแอฟริกาใต้ แม้จะยังไม่พบในประเทศไทย แต่จากรายงานของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐอเมริกกา (U.S. CDC) พบโอมิครอน BA.4 มีการกลายพันธุ์มาเป็น BA.4.6 และกำลังเพิ่มจำนวนเข้ามาแทนที่ BA.5 อย่างช้าๆ โดยขณะนี้ร้อยละ 10.3 ของผู้ติดเชื้อรายใหม่ในสหรัฐอเมริกาเป็นโอมิครอน BA.4.6 (ภาพ 4) และเริ่มกระจายไปอีกหลายแห่งทั่วโลก อาทิ อังกฤษตรวจพบร้อยละ 3.3 ในผู้ติดเชื้อรายใหม่

โอมิครอน BA.4.6 กลายพันธุ์มาจาก BA.4 โดยมีการกลายพันธุ์ต่างจากไวรัสดั้งเดิม (อู่ฮั่น) ประมาณ 85 ตำแหน่ง (ภาพ 1)

ความรุนแรง การติดเชื้อ และการหลีกเลี่ยงภูมิคุ้มกันของโอมิครอน BA.4.6

โชคดีที่การติดเชื้อโอมิครอนส่วนใหญ่มักไม่มีอาการเจ็บป่วยที่รุนแรง มีอัตราผู้ติดเชื้อเสียชีวิตน้อยกว่าสายพันธุ์รุ่นก่อนๆ ปัจจัยหนึ่งอาจเป็นเพราะประชาชนส่วนใหญ่ของโลกได้รับการฉีดวัคซีนและติดเชื้อตามธรรมชาติ แต่โอมิครอน BA.4.6 มีความสามารถเฉพาะตัวที่แพร่ติดต่อได้รวดเร็วกว่าโอมิครอน BA.5 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) ประมาณ 19% เมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์ BA.5 ที่ระบาดอยู่ทั่วโลกในปัจจุบัน (ภาพ 5)
—————————————
โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2.75.2 ที่มีการกลายพันธุ์เพิ่มเติมจาก BA.2.75 บนหนาม 3 ตำแหน่งคือ R346T, F486S และ D1199N
โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4.6 มีการกลายพันธุ์บนหนามเพิ่มเติมจาก BA.4 เพียงตำแหน่งเดียวคือ R346T
โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2.75.2 ที่มีการกลายพันธุ์เพิ่มเติมจาก BA.5 บนหนามถึง 13 ตำแหน่ง
โอมิครอน BA.2.75.2 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) ประมาณ 71% เมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์ BA.5 ที่ระบาดอยู่ทั่วโลกในปัจจุบัน (ภาพ 7)
ส่งผลให้ทั้ง B A.2.75.2 และ ฺBA.4.6 มีการเติมโต แพร่ระบาดได้รวดเร็วที่สุดในปัจจุบัน (ภาพ 6, 7) (คลิก เพื่ออ่าน)

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image