ธนชาตžกับทีเอ็มบีž ควบรวมžสู้แบงก์นอก

จบอย่างสวยงาม สำหรับการดีลควบรวมระหว่างธนาคารทหารไทย หรือทีเอ็มบี กับธนาคารธนชาต

ในสัญญาการรวมกิจการตกลงชื่อใหม่ภาษาไทยว่า ธนาคารทหารไทยธนชาตŽ และชื่ออังกฤษ TMBThanachart BankŽ (ทีเอ็มบีธนชาตแบงก์) แต่ก็ยังต้องรอขออนุมัติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน ว่าจะคงเดิมกับชื่อดังกล่าวหรือไม่

ตามกระบวนการจากนี้ เมื่อ 2 ธนาคารสามารถบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการควบรวมได้ตามแผนที่วางไว้ว่า ต้องดำเนินการในทางปฏิบัติการควบรวมให้แล้วเสร็จภายในปี 2562 เพื่อสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีที่กระทรวงการคลังยกเว้นให้ กำหนดหมดอายุมาตรการภาษีถึงปลายปีนี้

การดีลครั้งนี้มีมูลค่าสูงถึง 1.6 แสนล้านบาท

Advertisement

หลังจากการควบรวมผลักดันให้ธนาคารแห่งใหม่มีขนาดใหญ่อันดับที่ 6 มีทรัพย์สิน 2 ล้านล้านบาท มีฐานลูกค้าอยู่ที่ 10 ล้านคน จากก่อนหน้านี้ทั้ง 2 แบงก์มีสถานะเป็นเพียงธนาคารขนาดกลาง

เรื่องนี้ถือว่าเป็นการคงค้างตั้งแต่รัฐบาลก่อนหน้านี้ ต้องการให้แบงก์ของไทยควบรวมกัน เพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการ และให้สามารถแข่งขันกับธนาคารต่างประเทศ

หลังเพิ่มทุนทำให้กระทรวงการคลังถือหุ้นในธนาคารแห่งใหม่อันดับที่ 3 ในสัดส่วน 18% จาก 20% รองจากไอเอ็นจีเหลือสัดส่วนถือหุ้น 21% จาก 29% และทุนธนชาต (TCAP) ถือหุ้นในสัดส่วน 20%

Advertisement

แม้ว่ากระทรวงการคลังถือหุ้นเป็นอันดับ 3 แต่มีอำนาจในการแต่งตั้งประธานบอร์ด ตรงนี้เป็นข้อตกลงระหว่างผู้ถือหุ้นเดิมและผู้ถือหุ้นใหม่

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ระบุว่า การควบรวมดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อระบบสถาบันการเงิน ทำให้ระบบของสถาบันการเงินของไทยเข้มแข็งมากขึ้น สามารถสู้กับแบงก์ต่างชาติได้ โดยกระทรวงการคลังต้องใช้เงินจากกองทุนวายุภักษ์เข้าไปซื้อหุ้นเพิ่มทุนธนาคารแห่งใหม่ 1.5 หมื่นล้านบาท

นายอุตตมยืนยันว่ากระทรวงการคลังจะถือหุ้นในธนาคารแห่งใหม่ต่อไป ไม่มีแนวคิดจะขายหุ้นทิ้ง แม้ว่าหลายปีผ่านมากระทรวงการคลังเคยศึกษา รวมถึงมีแนวคิดขายหุ้นของธนาคารทหารไทย เพราะธนาคารดังกล่าวไม่ใช่รัฐวิสาหกิจที่กระทรวงการคลังต้องไปดูแล แต่ราคาหุ้นที่จะขายนั้นไม่คุ้มต้นทุนซื้อมา ทำให้ต้องถือหุ้นดังกล่าวไว้ก่อน

และหลังเพิ่มทุนทำให้ต้นทุนของกระทรวงการคลังลดลงเหลือ 2 บาทต่อหุ้น จากที่ซื้อมา 3.84 บาทต่อหุ้น

นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ระบุว่า ธนาคารธนชาตและธนาคารทหารไทย ควบรวมกิจการตามแนวคิดภาครัฐในการส่งเสริมการรวมกิจการเพื่อเพิ่มขนาดกิจการและศักยภาพทางการแข่งขัน โดยปรับโครงสร้างของธนาคารธนชาต การเพิ่มทุนของธนาคารทีเอ็มบี เพราะธนาคารระดับโลกในปัจจุบันมีการขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ หากธนาคารยังมีขนาดเล็กและยังแยกกันอยู่อย่างนี้ จะไม่เป็นผลดีต่อธุรกิจธนาคารในไทยและทำให้สู้ธนาคารต่างประเทศได้ยากมากขึ้น

ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลให้ทั้ง 2 ธนาคารเกิดการควบรวมดังกล่าวขึ้น เพื่อหวังสร้างขนาดของธุรกิจให้ใหญ่และแข็งแรงมากขึ้น

แต่อย่างไรก็ตาม เวลาที่เริ่มทำธุรกิจขนาดใหญ่ จะต้องศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการประหยัดจากขนาดธุรกิจทางการเงินสำคัญ เช่น การเก็บข้อมูลลูกค้ายิ่งมีการควบรวมและจำนวนลูกค้ามากขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนการทำอีคอมเมิร์ซ หรือการพัฒนาระบบต่างๆ คงที่ ส่งผลดีต่อธุรกิจ เป็นต้น

นายสมชัยสะท้อนมุมมองต่อภาพรวมของธุรกิจธนาคารหลังจากนี้ไว้ว่า การที่ธนาคารมีน้อยลงก็เกิดการแข่งขันในธุรกิจนี้น้อยลง แต่ขึ้นอยู่กับว่าปัจจุบันมีการแข่งขันในรูปแบบต่างๆ เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะรูปแบบธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบดิจิทัล เช่น เฟซบุ๊ก ที่ผลิตสกุลเงินดิจิทัล หรือลิบรา เป็นของตัวเอง สามารถใช้จ่ายได้โดยไม่ต้องผ่านบริการธนาคาร เป็นต้น หากมองการแข่งขันในรูปแบบข้ามขอบเขตของธุรกิจ โดยภาพรวมการแข่งขันยังไม่ลดลง และการที่ควบรวมธุรกิจจะทำให้สามารถแข่งขันในเรื่องของการให้บริการที่หลากหลายได้ ไม่ใช่เรื่องน่ากังวลเท่าไหร่ ในมุมกลับกันจะทำให้เกิดการประหยัดต้นทุน

อนาคตจะเกิดการควบรวมในลักษณะนี้อีกไหม ต้องดูว่าผลของการควบรวมในครั้งนี้เป็นอย่างไร หากผลออกมาว่าในแง่ของธุรกิจปรับตัวดีขึ้น ผู้ถือหุ้น และประชาชนได้รับประโยชน์มากขึ้น ก็อาจจะมีการควบรวมในลักษณะนี้เกิดขึ้นอีกโดยควรเริ่มจากธนาคารที่รัฐเป็นหุ้นส่วนŽ

นายสมชัยทิ้งท้ายไว้ว่า การควบรวม 2 แบงก์แล้ว จะสามารถแข่งขันกับธนาคารต่างประเทศได้หรือไม่ เพราะในหลายประเทศมีฐานข้อมูลใหญ่มาก แต่การควบรวมธุรกิจในไทยจะช่วยเสริมให้สามารถแข่งขันได้มากขึ้น

แต่จะสามารถแข่งขันได้ทันทีเลยหรือไม่นั้นต้องติดตามผลระยะยาว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image