ตรวจแถว ’ดูอิ้ง บิสซิเนส’ž ดึงลงทุนไทย

เป้าหมายของรัฐบาลพยายามมุ่งให้เกิดความเชื่อมั่นต่อการลงทุนในประเทศไทยให้มากขึ้น โดยเฉพาะการจูงใจให้ทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทย พยายามลดความเสี่ยงให้เหนือกว่าคู่แข่งในอาเซียน จึงเป็นที่มาของการปรับปรุงระบบโครงสร้างทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องการทำธุรกิจ ว่าจะทำอย่างไรเพื่อบรรลุความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ หรือดูอิ้ง บิสซิเนส (Doing Business) ของประเทศไทยให้ดีขึ้น

ล่าสุดในการประชุมคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินเชิงยุทธศาสตร์ (บยศ.) หรือมินิคาบิเนต ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธาน ก็ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัด วันสต๊อปเซอร์วิสŽ รวบรวมการบริการทั้งหมด ณ จุดเดียว

จึงเป็นที่มาของการจัดตั้งศูนย์ประสานธุรกิจ หรือ ดูอิ้ง บิสซิเนส พอร์ทัลŽ

เพื่อให้สอดรับกับเป้าหมายไทยแลนด์ 4.0 ศูนย์ประสานธุรกิจถูกวางเป้าหมายให้สามารถพลิกโฉมงานบริการภาคธุรกิจในยุค 4.0 ไว้คู่กันคือ ให้สามารถติดต่อราชการได้แบบเบ็ดเสร็จครบวงจร ณ จุดเดียว โดยส่งข้อมูลและเอกสารประกอบเพียงชุดเดียวในรูปแบบดิจิทัล ไม่ต้องวิ่งติดต่อราชการทั่วเมืองเหมือนปัจจุบัน ประหยัดทั้งเวลา ค่าใช้จ่าย สะดวกสบาย และผิดพลาดได้น้อยที่สุด

Advertisement

นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงความคืบหน้าการลดขั้นตอนและปรับโครงสร้างระบบที่ธุรกิจหนึ่งรายต้องยื่นขอในการประกอบธุรกิจว่า ที่ผ่านมากว่าจะได้ทำธุรกิจหนึ่งต้องมีการติดตามหน่วยราชการหรือยื่นขอใบอนุญาตกว่า 20 แห่ง

ตอนนี้การทำงานของกระทรวงพาณิชย์แยกเป็น 2 ส่วน คือ หน่วยงานภายในกระทรวงพาณิชย์ เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ดูแลในเรื่องการยื่นจดทะเบียนธุรกิจ การขึ้นทะเบียนพาณิชย์ ก็มีการลดขั้นตอนและเวลา เปิดให้ยื่นทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการจดทะเบียนนิติบุคคล อยู่ที่ใดของประเทศก็ทำได้ ทำให้จากเคยรอเวลาพิจารณาตามขั้นตอนเป็นเดือนก็เหลือไม่กี่วัน

อีกส่วนคือหน่วยงานภายนอกกระทรวงพาณิชย์ ก็เตรียมเชื่อมโยงข้อมูลด้านต่างๆ เช่น กระทรวงการคลัง ดูแลในเรื่องระบบบัญชี กรมสรรพากร ดูแลในเรื่องการยื่นเสียภาษีว่าจะเชื่อมระบบข้อมูลให้สามารถใช้บริการที่เดียวกัน มีความคืบหน้าไปมาก และจะรายงานต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

ทั้งนี้ ตามโครงสร้างการติดต่อราชการเพื่อทำธุรกิจในประเทศไทย ต้องผ่านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ แยกเป็น 4 ส่วนหลักคือ เริ่มต้นธุรกิจ รับสิทธิประโยชน์การลงทุน ขออนุญาตก่อสร้าง และขอใบอนุญาตเฉพาะกิจการ ส่วนใหญ่ได้ทยอยปรับปรุงและเริ่มใช้บริการแล้วตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

ส่วนที่คืบหน้าแล้ว เช่น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า รับจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือพิสูจน์ตัวตนแบบออนไลน์ ยกเลิกข้อกำหนดให้บริษัทต้องส่งข้อบังคับในการทำงานให้แก่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นต้น

ส่วนกระทรวงการคลังระบุว่า มีเรื่องต้องดำเนินการคือการจัดทำระบบภาษีให้เป็นอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในเรื่องของการดำเนินธุรกิจและการค้า เช่น กรมสรรพากร ต้องจัดทำในเรื่องการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล การใช้เงินสกุลอื่นในการคำนวณภาษีเงินได้ ในส่วนของกรมศุลกากร ต้องจัดทำการเชื่อมโยงใบกำกับขนย้ายสินค้าและแบบขอนำเข้าตู้สินค้าขาออกผ่านเข้าเขตศุลกากร ผ่านระบบกลาง (National Single Window-NWS) การลดขั้นตอนนำเข้าสินค้าให้เร็วขึ้น ปรับกระบวนการตรวจปล่อยสินค้าขาเข้าให้เร็วขึ้น การถ่ายลำขนส่งต่อเนื่องในระบบอิเล็กทรอนิกส์

นอกจากนี้ กระทรวงการคลังเริ่มให้มีการชำระภาษีอากร และรายได้อื่นๆ ผ่านระบบอีเพย์เมนต์ รวมถึงเชื่อมระบบภาษีของกรมสรรพากรและกรมศุลกากรให้เป็นอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด

ในเรื่องนี้เริ่มดำเนินการมาแล้วหลายปีและมีแผนทำต่อเนื่อง เพื่อให้ระบบทั้งหมดสามารถเปลี่ยนถ่ายเป็นอิเล็กทรอนิกส์

ในปีนี้สิ่งที่จะแล้วเสร็จและเป็นเรื่องใหญ่อีกเรื่องคืออากรแสตมป์ ใช้สำหรับภาคธุรกิจทั้งใช้สำหรับการมอบอำนาจ สำหรับการซื้อขายสินค้าและบริการ และในแบบฟอร์มต่างๆ เกี่ยวข้องกับการภาคธุรกิจ จะสามารถดำเนินการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยทำให้ต้นทุนผู้ประกอบการลดลง เพราะไม่ต้องให้พนักงานวิ่งมาซื้ออากรแสตมป์ที่กรมสรรพากรอีกต่อไป

โดยอากรแสตมป์ดังกล่าวมีมูลค่าปีละประมาณ 1-2 หมื่นล้านบาท

นอกจากนี้ ในส่วนของกระบวนการพิจารณาของหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของธุรกิจต่างชาติในประเทศไทย จะถูกรวบรวมเข้ามาอยู่ใน ดูอิ้ง บิสซิเนส พอร์ทัลŽ เช่นกัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุนที่หิ้วกระเป๋าเข้ามาลงทุนในไทย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image