รบ.โชว์แผน-โครงการยักษ์ บูมเศรษฐกิจไทยยุคใหม่

หมายเหตุ – ข้อมูลบางส่วนจากทีมงานของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ ที่รวบรวมโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ ที่รัฐบาลกำลังดำเนินการ ซึ่งหลายโครงการเตรียมเปิดประมูลในเร็วๆ นี้เพื่อเพิ่มศักยภาพและการปรับตัวในการก้าวสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ของไทย


 

ประเทศไทยยังไม่หยุดพัฒนา

– โครงการรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 10 สาย ระยะทางรวม 464 กิโลเมตร ซึ่งยังเหลือโครงการที่กำลังจะเปิดประมูลอีก 9 ช่วง วงเงินรวมเกือบ 380,000 ล้านบาท ได้แก่

(1)สายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) วงเงิน 128,402.62 ล้านบาท

Advertisement

(2)สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-บางขุนนนท์ วงเงิน 120,486.50 ล้านบาท

(3)สายสีน้ำเงิน ช่วงบางแค-พุทธมณฑลสาย 4 วงเงิน 14,790 ล้านบาท

(4)สายสีเขียวเข้ม ช่วงสมุทรปราการ-บางปู วงเงิน 7,994 ล้านบาท

Advertisement

(5)สายสีเขียวเข้ม ช่วงคูคต-ลำลูกกา วงเงิน 6,337 ล้านบาท

(6)สายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง และสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-หัวหมาก วงเงิน 44,157.76 ล้านบาท

(7)สายสีแดงเข้ม ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต วงเงิน 7,596.94 ล้านบาท

(8)สายสีแดงอ่อน ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา วงเงิน 18,948.64 ล้านบาท

(9)รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไท วงเงิน 31,149.35 ล้านบาท


– โครงการรถไฟฟ้าในต่างจังหวัด
วงเงินรวม 163,474 ล้านบาท ได้แก่

(1)จังหวัดภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานภูเก็ต-ห้าแยกฉลอง วงเงิน 30,199 ล้านบาท

(2)จังหวัดเชียงใหม่ วงเงิน 105,735 ล้านบาท

(3)จังหวัดขอนแก่น วงเงิน 13,947 ล้านบาท

(4)จังหวัดนครราชสีมา วงเงิน 13,593 ล้านบาท

– รถไฟทางคู่มีโครงการที่กำลังจะประมูลอีก 10 สายทาง วงเงินรวมประมาณ 280,000 ล้านบาท ได้แก่

(1)ระบบอาณัติสัญญาณ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ วงเงิน 2,988.57 ล้านบาท

(2)ระบบอาณัติสัญญาณ ช่วงนครปฐม-ชุมพร วงเงิน 2,549.89 ล้านบาท

(3)ระบบอาณัติสัญญาณ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ วงเงิน 7,384.84 ล้านบาท

(4)ช่วงปากน้ำโพ-เด่นชัย วงเงิน 59,399.80 ล้านบาท

(5)ช่วงชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี วงเงิน 36,683 ล้านบาท

(6)ช่วงขอนแก่น-หนองคาย วงเงิน 25,842 ล้านบาท

(7)ช่วงชุมพร-สุราษฎร์ธานี วงเงิน 23,080 ล้านบาท

(8)ช่วงสุราษฎร์ธานี-หาดใหญ่-สงขลา วงเงิน 56,114.26 ล้านบาท

(9)ช่วงหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ วงเงิน 7,864.49 ล้านบาท

(10)ช่วงเด่นชัย-เชียงใหม่ วงเงิน 57,992.44 ล้านบาท

– โครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา) (ความร่วมมือ ไทย-จีน) ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท ที่ใช้ความร่วมมือในรูปแบบรัฐบาลต่อรัฐบาลและแบ่งสัญญาแบ่งออกเป็น 2 สัญญา ได้แก่

สัญญา 1 งานก่อสร้างด้านโยธา และค่าอื่นๆ ที่จะดำเนินการโดยฝ่ายไทยทั้งหมด และใช้การประกวดราคาตามระเบียบไทย (ผู้รับจ้างไทย) วงเงิน 135,647.05 ล้านบาท

สัญญา 2 ประกอบด้วย 3 สัญญาย่อย คือ สัญญา 2.1 งานด้านการออกแบบ สัญญา 2.2 การควบคุมงานโยธา และสัญญา 2.3 งานระบบรถไฟและการฝึกอบรม โดยให้ฝ่ายจีนเป็นผู้ดำเนินการ วงเงิน 43,765.16 ล้านบาท ที่ รฟท.ได้ลงนามในสัญญา 2.1 และ 2.2 กับรัฐวิสาหกิจจีน (CRDC และ CRIC) ไปแล้ว ยังคงเหลือสัญญา 2.3 ที่อยู่ระหว่างการเจรจา และคาดว่าจะลงนามได้ภายในกลางปี 2561

ทั้งนี้ ในส่วนของโครงการระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 355 กม. วงเงิน 208,561 ล้านบาท ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ)


ท่าอากาศยาน

– โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 วงเงิน 65,203.214 ล้านบาท ที่ปัจจุบันมีขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสาร 45 ล้านคนต่อปี ให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้ไม่น้อยกว่า 60 ล้านคนต่อปี

– โครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 3 วงเงิน 38,000 ล้านบาท ให้สามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารได้ไม่น้อยกว่า 40 ล้านคนต่อปี

– โครงการพัฒนาท่าอากาศยานภูเก็ต ระยะที่ 2 วงเงิน 2,800 ล้านบาท เป็นการขยายอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ และอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ และก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารได้ไม่น้อยกว่า 18 ล้านคนต่อปี

– โครงการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ ระยะที่ 1 วงเงิน 15,000 ล้านบาท ให้สามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารได้ไม่น้อยกว่า 15 ล้านคนต่อปี (ปัจจุบันรองรับได้ 8 ล้านคนต่อปี) และระยะที่ 2 จะดำเนินการในปี 2564-2568 จะเป็นการก่อสร้างและปรับปรุงอาคารเพิ่มเติม เพื่อรองรับปริมาณผู้โดยสารให้ได้ไม่น้อยกว่า 20 ล้านคนต่อปี


 

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำที่จะเข้า ครม.ในปีงบประมาณ 2561 วงเงินรวม 445,000 ล้านบาท

– โครงการเพิ่มความจุและเพิ่มพื้นที่ชลประทาน ได้แก่ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยหลวงตอนล่าง จังหวัดหนองคาย วงเงิน 21,000 ล้านบาท โครงการประตูระบายน้ำศรีสองรัก จังหวัดเลย วงเงิน 5,000 ล้านบาท โครงการอ่างเก็บน้ำลำน้ำชีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดชัยภูมิ วงเงิน 3,100 ล้านบาท และโครงการวังหีบอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครศรีธรรมราช วงเงิน 2,377.644 ล้านบาท

– โครงการบรรเทาอุทกภัย เมืองนครศรีธรรมราช วงเงิน 9,580 ล้านบาท และเมืองชัยภูมิ (ระยะที่ 1) วงเงิน 3,440 ล้านบาท


 

พลังงาน

– โครงการลงทุนด้านพลังงาน ในช่วงปี 2560-2564 แบ่งเป็น

(1) การสำรวจและผลิตปิโตรเลียม วงเงินรวม 9 แสนล้านบาท

(2) การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานก๊าซธรรมชาติ (ท่อก๊าซ+LNG Receiving Terminal) วงเงินรวม 66,700 ล้านบาท โดยการลงทุนในโครงข่ายระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติตามแผนระบบรับ-ส่งและโครงสร้างก๊าซธรรมชาติเพื่อความมั่นคง ระยะที่ 1 โครงการ LNG Receiving Terminal#1 มาบตาพุด ส่วนขยาย 1.50 ล้านตัน/ปี โครงการ LNG Receiving Terminal แห่งใหม่

(3) การส่งเสริมพลังงานทดแทน วงเงินรวม 185,370 ล้านบาท

(4) การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน วงเงิน 10,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังมีโครงการขยายระบบท่อส่งก๊าซรองรับการจัดหาก๊าซธรรมชาติเพื่อเป็นเชื้อเพลิงในภาคผลิตไฟฟ้าในปี 2544-2564

– โครงการลงทุนด้านไฟฟ้า รัฐบาลได้จัดทำแผนลงทุนในช่วงปี 2561-2565 เป็นวงเงินรวม 730,314 ล้านบาท

-การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) วงเงินรวม 346,835 ล้านบาท เพื่อลงทุนในระบบผลิต 187,686 ล้านบาท ที่ส่วนใหญ่จะเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม อาทิ โรงไฟฟ้าพระนครใต้ทดแทน ระยะที่ 2 วงเงิน 33,601 ล้านบาท เป็นต้น และระบบส่งไฟฟ้า 159,149 ล้านบาท อาทิ โครงการขยายระบบส่งไฟฟ้า ระยะที่ 12 วงเงิน 28,717 ล้านบาท และโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าเพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าบริเวณภาคต่างๆ เป็นต้น รวมถึงจะมีการรับซื้อไฟฟ้าภาคเอกชน วงเงินรวม 158,567 ล้านบาท

-การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) วงเงินรวม 141,668 ล้านบาท โดยโครงการหลัก ได้แก่ โครงการปรับปรุงและขยายระบบจำหน่าย ระยะที่ 12 (ปี 2560-2564) และโครงการแผนงานเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน

-การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) วงเงินรวม 83,244 ล้านบาท โดยโครงการหลัก ได้แก่ โครงการพัฒนาระบบส่งและจำหน่าย ระยะที่ 1 วงเงิน 63,100 ล้านบาท


 

โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)

– โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-ระยอง) วงเงินประมาณ 236,700 ล้านบาท และคาดว่าจะประกาศทีโออาร์ ในเร็วๆ นี้ และเซ็นสัญญาภายในกันยายน 2561 พร้อมเปิดดำเนินการในปี 2566

– โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก วงเงินประมาณ 2 แสนล้านบาท คาดว่าจะประกาศทีโออาร์ ในเดือนกรกฎาคม 2561 และเซ็นสัญญาภายในกันยายน 2561 พร้อมเปิดดำเนินการในปี 2566

– โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานอู่ตะเภา ระยะที่ 1 วงเงินประมาณ 10,300 ล้านบาท คาดว่าจะประกาศทีโออาร์ ในเร็วๆ นี้ และเซ็นสัญญาภายในกรกฎาคม 2561 พร้อมเปิดดำเนินการในปี 2564

– โครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 วงเงินประมาณ 110,000 ล้านบาท คาดว่าจะประกาศทีโออาร์ ในเดือนมิถุนายน 2561 และเซ็นสัญญาภายในตุลาคม 2561 พร้อมเปิดดำเนินการในปี 2567

– โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 วงเงินประมาณ 150,000 ล้านบาท คาดว่าจะประกาศทีโออาร์ ในเดือนสิงหาคม 2561 เซ็นสัญญาภายในธันวาคม 2561 พร้อมเปิดดำเนินการในปี 2568

– เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) เริ่มดำเนินการวางผังและก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคในเดือนมีนาคม 2561 เปิดให้บริการศูนย์ข้อมูลในเดือนกรกฎาคม 2563 และจะมีสถาบันพิเศษเฉพาะทางด้านดิจิทัลและโซนทดสอบทดลองเมืองอัจฉริยะในสภาพแวดล้อมจริงภายในเดือนธันวาคม 2564

– เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะสนับสนุน EEC ในการขับเคลื่อน Thailand 4.0 EECi จะเป็น Global Sandbox ที่นักวิจัยและนวัตกรระดับโลกมาทำงานร่วมกันในรูปแบบ Open Innovation เพื่อทดลอง ทดสอบนวัตกรรมใหม่สำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมยุคต่อไป และจะให้สิทธิประโยชน์สูงสุดกับบริษัทที่มาลงทุนใน EEC โดยปัจจุบัน EECi BIOPOLIS และ ARIPOLIS อยู่ในระหว่างการออกแบบ และจะเริ่มการก่อสร้างในเดือนตุลาคม 2561 นี้ และคาดว่าจะเปิดดำเนินการได้ในเดือนตุลาคม 2563 เป็นต้นไป สำหรับนักลงทุนที่มีความพร้อมลงทุนทันที สามารถเริ่มการก่อสร้างไปพร้อมกันได้ หรือจะเข้ามาใช้พื้นที่ใน SPACE KRENOVAPOLIS หรือในThailand Science Park ได้ทันที

– EEC จะสร้างโอกาสสำคัญให้ประเทศไทยเป็นฐานโลจิสติกส์ โดยเชื่อมโยงและประสานเพื่อปลดล็อกกระบวนการศุลกากรให้ขนส่งสู่ประเทศที่ 3 ได้ดีขึ้น อาทิ การสร้างเขตปลอดภาษีอากร เชื่อมกับขนส่งเอกชนด้านอีคอมเมิร์ซ โดยมีไปรษณีย์ไทยเป็นกลไกสำคัญทั้งในส่วนของระบบการค้าขายออนไลน์ และโลจิสติกส์


 

Digital Transformation

– การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งประกอบด้วยการติดตั้งเน็ตประชารัฐ ใน 75,000 หมู่บ้านทั่วประเทศภายในปีนี้ ซึ่งจะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงทั้งในพื้นที่ชายขอบและพื้นห่างไกล อันจะช่วยเชื่อมต่อให้เกิด e-commerce, e-learning, e-medicine และ e-government ต่อไป อาทิ เกษตรกรจะสามารถขายของผ่าน e-commerce ได้ นักเรียนในชนบทจะสามารถรับการสอนจากคุณครูในกรุงเทพฯ หรือผู้ป่วยในหมู่บ้านห่างไกลจะสามารถรับการวินิจฉัยโรคจากแพทย์ในเมืองได้ เป็นต้น และการวางเคเบิลใต้น้ำเชื่อมโยงไทย-ฮ่องกง-จีน (แล้วเสร็จในปี 2563) ตลอดจนการเตรียมความพร้อมด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการคุ้มครองข้อมูลต่างๆ ที่สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ นอกจากนี้ จะมีการติดตั้งระบบ Point of Sale (POS) ใน 28,000 หมู่บ้าน ซึ่งจะส่งผลให้ชาวบ้านสามารถขายสินค้าโอท็อป ผ่าน e-commerce ได้

– การพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลร่วมกับสถาบันการศึกษาพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล สร้าง Incubators และ Accelerators ขยายฐาน Startup และจัดระบบ Angel Fund ตลอดจนมีการเชิญชวนบริษัทขนาดใหญ่ (Microsoft, Google, IBM) สร้าง content การเรียนรู้ในไทย

– การพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล ประกอบด้วยการพัฒนา Digital Park 709 ไร่ ที่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี โดยแบ่งพื้นที่ให้เอกชนและมหาวิทยาลัยมาสร้างนวัตกรรมด้านต่างๆ อาทิ AI IoT การพัฒนา IoT Institute & Consortium บนเนื้อที่ 30 ไร่ และการพัฒนา Smart EEC ที่ต้องใช้งบประมาณมากกว่า 700 ล้านบาท เพื่อให้เกิด Smart แหลมฉบัง Smart manufactory, Smart environment safety monitoring, Smart waste management

– สมาร์ท ซิตี้ จะมีโจทย์และความต้องการแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ โดยจะเริ่มนำร่องใน 3 จังหวัดเศรษฐกิจในรูปแบบของความร่วมมือกับภาคเอกชนในปีงบประมาณ 2561

-ภูเก็ต สมาร์ท ซิตี้ จะเป็นเมืองต้นแบบด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่มีความชัดเจนมากที่สุด เป้าหมายที่จะสร้างความยั่งยืนให้เมือง โดยสร้างจุดแข็งใหม่ในการเป็นเมืองที่รองรับการลงทุนในธุรกิจดิจิทัล นอกเหนือจากการเป็นเมืองท่องเที่ยวที่นับวันทรัพยากรทางทะเลจะสึกหรอไปเรื่อยๆ โดยจะเน้นเรื่อง 1.วางผังเมือง 2.จัดทำโครงสร้างพื้นฐานระบบไฟฟ้าและประปา 3.พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวชั้นนำของโลก และ 4.พัฒนาภูเก็ตให้เป็นเมืองอัจฉริยะ ระบบการจราจร การบริหารจัดการขยะ มีการวางจุด Free Wifi Hotspot 1,000 จุด เป็นต้น

-เชียงใหม่ จะเน้นด้านการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อกับการสร้างนวัตกรรมและการออกแบบสำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น

-ขอนแก่น ที่เริ่มต้นจากเจตนาในการเปลี่ยนแปลงเมืองของนักธุรกิจรุ่นใหม่ที่ร่วมกันลงขันกันมุ่งพัฒนาเมืองขอนแก่นให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ มีความยั่งยืน และน่าลงทุนที่สุด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการวางระบบ

– ความมั่นคงด้านไซเบอร์ มีแผนการจัดตั้ง Net Cyber Security Agency และจัดระบบป้องกันภัยให้กลุ่มเศรษฐกิจที่สำคัญ อาทิ การเงิน พลังงาน โทรคมนาคม สาธารณสุข และความมั่นคง และเตรียมความพร้อมเรื่องกฎหมาย Cyber Security ให้แล้วเสร็จในปี 2561 นอกจากนั้น ไทยได้รับคัดเลือกให้เป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมด้านความมั่นคงด้านไซเบอร์ของอาเซียน โดยจะเริ่มดำเนินการอบรมในเดือนกรกฎาคมนี้ ซึ่งจะครอบคลุมในเรื่อง Cyber Sea Game และ Cyber Warfare Exercise ด้วย


 

นโยบายรัฐบาลดิจิทัล

– รัฐบาลได้เดินหน้าขับเคลื่อนการบูรณาการ Government Big Data ระหว่าง 20 กระทรวง โดยเน้นการสร้างฐานข้อมูลสำหรับการบริหารจัดการน้ำ ข้อมูลด้านการเกษตร และผลผลิตด้านอุตสาหกรรม ตลอดจนการลดขั้นตอนกระบวนการทำงานของภาครัฐเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกิจในประเทศไทย

-รัฐบาลได้นำระบบวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (e-market) และวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) มาบังคับใช้กับหน่วยงานภาครัฐทุกประเภท ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าประเทศไทยจัดเป็นประเทศลำดับต้นๆ ในอาเซียน และภูมิภาคเอเชียที่นำระบบการจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์อย่างครบวงจรมาบังคับใช้ นับเป็นการยกระดับมาตรฐานความโปร่งใสในภาพรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดช่องทางและจุดอ่อนที่สำคัญที่ก่อเกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น และการฮั้วราคา ส่งผลให้เพิ่มระดับการแข่งขันและประหยัดงบประมาณไปแล้วกว่าแสนล้านบาท

-รัฐบาลได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (National e-Payment) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงิน ส่งเสริมการเข้าถึงบริการทางการเงิน บูรณาการระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ลดต้นทุนในการประกอบธุรกิจให้กับภาคเอกชน รวมทั้งให้ผู้มีรายได้น้อยลงทะเบียนเพื่อรับสวัสดิการจากภาครัฐผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อส่งเสริม e-Payment ในทุกภาคส่วน (Cashless Society) โดยตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2561 เป็นต้นไป หน่วยงานภาครัฐทุกแห่งต้องรับ-จ่ายเงินด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่าน 3 ช่องทาง ได้แก่ 1) พร้อมเพย์ 2) บัตรอิเล็กทรอนิกส์ และ 3) QR Code


 

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

– โครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบายการปฏิรูปอุดมศึกษาไทย มีเป้าหมายที่จะสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะและศักยภาพสูง ผ่านการเรียนรู้และฝึกประสบการณ์ในภาคอุตสาหกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 โดยเน้นสาขาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อตอบรับ 8 อุตสาหกรรมหลักที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ New Growth Engines ของประเทศ ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร และอุตสาหกรรมดิจิทัล

สามารถจัดการศึกษาได้เป็น 2 ลักษณะ คือ (1) เป็นการปรับเปลี่ยนและหรือเพิ่มสมรรถนะและความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ใช้ระยะเวลา 1-12 เดือน โดยไม่มุ่งหวังปริญญา และ (2) เป็นการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนในระบบการศึกษาปกติที่มีความร่วมมือกับสถานประกอบการ ซึ่งเป็นได้ทั้งแบบระยะยาวตลอดหลักสูตร หรือต่อยอดจากการศึกษาชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 จะเริ่มดำเนินการในเดือนสิงหาคม 2561 โดยคาดว่าจะมีจำนวนการรับในทุกสาขาวิชาไม่น้อยกว่า 1,000 คน

– กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายเสริมสร้างพัฒนาการทางด้านการศึกษาในทุกระดับ โดยผ่านการพัฒนาหลักสูตรต่อเนื่องเชื่อมโยง ทั้งการศึกษาขั้นพื้นฐานกับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนให้สอดคล้องกับความต้องการและบริบททางการศึกษาในแต่ละสาขาวิชาชีพให้มีทักษะต่อยอดในสถาบันอุดมศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ พร้อมทั้งการจัดระบบการช่วยเหลือ สนับสนุนระหว่างการขั้นพื้นฐาน กับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา

– การพัฒนาบุคลากรเพื่อพร้อมป้อนอุตสาหกรรม อาทิ ยุทธศาสตร์พัฒนากำลังแรงงานในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ ปี 2560-2564 ที่มีผลการดำเนินงานในปี 2560 ดังนี้


แผนงานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภาคการศึกษารองรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0

-โครงการจัดการศึกษาของโรงเรียนอาชีวศึกษาภาครัฐ/เอกชน โดยจัดให้นักศึกษาเข้าฝึกปฏิบัติงานในโรงงาน มีสถานศึกษาที่เปิดสอนในระบบทวิภาคี นักเรียนทุกคนต้องเข้าฝึกอาชีพในสถานประกอบการ จำนวน 2,000 คน

-โครงการพัฒนาการจัดการศึกษาระบบทวิภาคีรองรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 สาขาเครื่องกล แมคคาทรอนิกส์ และสาขาที่เกี่ยวข้อง มีสถานประกอบการเข้าร่วมจัดการศึกษาระบบทวิภาคีเพิ่มมากขึ้น

-การพัฒนาครูอาชีวศึกษาภาครัฐ/เอกชนประเภทวิชาอุตสาหกรรม (วิศวกรรมการผลิตยานยนต์/ชิ้นส่วน/แม่พิมพ์/เชื่อม) เพื่อสร้างทักษะการปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนจากการเรียนรู้ในสถานประกอบการ และพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน

-การพัฒนาบุคลากรครู/อาจารย์อาชีวศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพอาชีวศึกษาให้มีมาตรฐานสากล มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 121 คน

– แผนงานการจัดทำแผนขับเคลื่อนกรอบคุณวุฒิแห่งชาติสู่การปฏิบัติ การจัดทำแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (สาขาช่างซ่อมอากาศยาน) การจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ

– โครงการการพัฒนาคุณภาพกำลังคนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาค โดยจะมีการพัฒนาหลักสูตรอาชีวศึกษาตามแนวทางการผลิตและพัฒนากำลังคนสู่ภาคอุตสาหกรรมระดับอาชีวศึกษาให้สอดคล้องกับ 10 อุตสาหกรรม S-Curve

– ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ จัดทำแผนการผลิตกำลังคนเป็นรายสาขา อาทิ ด้านสาธารณสุข (แพทย์ ทันตแพทย์ และพยาบาล) ด้านวิทยาศาสตร์ และด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image