ประมูลแหลมฉบังเฟส3 คึกคัก เอกชนไทย-เทศ 32 รายแห่ซื้อซอง ยักษ์ใหญ่ “ซีพี-ปตท.”โดดแจม

แฟ้มภาพ

ร้อยตำรวจตรี มนตรี ฤกษ์จำเนียร ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง รักษาการแทน ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยว่า ตามที่ท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) ได้ประกาศเชิญชวนและขายเอกสารคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนในโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 ระหว่างวันที่ 5-19 พ.ย. 2561 ได้รับความสนใจจากนักลงทุนไทยและต่างชาติที่มาซื้อเอกสารในครั้งนี้จำนวน 32 ราย หลังจากนี้ กทท.มีกำหนดให้เอกชนยื่นเอกสารในวันที่ 14 ม.ค. 2562 คาดว่าจะตัดสินผู้ชนะได้ภายในเดือน ก.พ. 2562 และมีกำหนดลงนามในสัญญาในต้นเดือน มี.ค. 2562 ก่อนเริ่มก่อสร้างเดือน พ.ค. 2562

สำหรับเอกชนที่เข้าซื้อซอง ประกอบไปด้วย 1. บ. ที ไอ พี เอส จำกัด (ไทย) 2. Itochu  Corporation (ญี่ปุ่น) 3. ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง  แอนคอนสตรัคชั่นจำกัด( ไทย) 4. บริษัทแหลมฉบัง อินเตอร์เนชั่นแนล เทอร์มินอล จำกัด (ไทย) 5. บริษัท เจดับเบิลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ จำกัด(มหาชน) (ไทย) 6. บริษัท ซีเอชอีซี(ไทย) จำกัด (ไทย) 7. อิตาเลียนไทย (ไทย) 8. C.P. Holding Company (ไทย) 9. China Harbor Engineering Co.,ltd (จีน) (บริษัทแม่ของข้อ 6) 10. Fujita corporation (ญี่ปุ่น) 11. Mitsui (ญี่ปุ่น) 12. China Merchants Port (ฮ่องกง) 13.International Container Terminal (ฟิลิปินส์) 14.Sumitomo Coporation Thailand (ไทย)

15. บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด (ไทย) 16. บริษัทฮัทชิสัน แหลมฉบัง เทอร์มินัล จำกัด (ไทย)17. PSA Internatina PTE Ltd. (สิงค์โปร์) 18. บริษัท บางกอก โมเดริน เทอร์มินอล จำกัด (ไทย) 19. บริษัท พีเอชเอส ออแกนิค ฮีลลิ่งจำกัด (ไทย) 20. บริษัท แอสโซซิเอท อินฟินิตี้ จำกัด (ไทย) 21. China Railway Construction (Southeast Asia) Co.,Ltd (จีน) 22. Shekou Container Terminals Ltd. (จีน) 23. APM Terminal B.V. (เนเธอร์แลนด์) 24. Adani Port & Special Economic Zone Ltd. (อินเดีย)

25. บริษัท บีเอ็มที แปซิฟิค จำกัด (ไทย) 26. บริษัท เมดิเตอร์เรเนียน ชิปปิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด 27. Terminal Investment Limited Sarl (สวิสเซอร์แลนด์) 28. Dredging International nv. (เบลเยี่ยม) 29. Boskails International B.V. (เนเธอร์แลนด์) 30. บริษัท ซี.อาร์.ซี. การท่าเรือ จำกัด (ไทย) 31. China Communication Construction Company LTD. (จีน) 32. บริษัท เพาเวอร์ไลน์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด มหาชน (ไทย)

Advertisement

“เชื่อว่าวันประมูลโครงการจะคึกคักมาก เพราะเอกชนจากทั่วโลกให้ความสนใจโครงการนี้ ซึ่งจากการประเมินเบื้องต้น คาดว่าเอกชนที่ไม่ใช่ผู้รับเหมา จะรวมกลุ่มกันแล้วยื่นประมูลทั้งหมด ส่วนกรณีที่จะเพิ่มพันธมิตรภายหลัง กทท.ยืนยันว่าสามารถร่วมทุนได้ แต่จะต้องเป็นเอกชนที่ซื้อซองโครงการใน 32 รายนี้เท่านั้น” 

ทั้งนี้ แผนพัฒนาโครงการ กทท.นำร่องพื้นที่โซน ออกมาเปิดประมูลก่อน เนื่องจากมีความพร้อมมากที่สุด โดยพื้นที่ดังกล่าวมีความยาวหน้าท่า 2,000 เมตร แบ่งเป็น F1 ความยาว 1,000 เมตร และ F2 ความยาว 1,000 เมตร พัฒนาเพื่อรองรับการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ที่รองรับตู้สินค้าได้ 4 ล้านตู้ต่อปี และอาจจะขยายได้ถึง 5-6 ล้านตู้ ซึ่ง กทท.จะลงทุนพัฒนาที่ดินและสาธารณูปโภค เช่น ถมทะเล ทำถนน ระบบไฟฟ้า ทางรถไฟ วงเงิน 20,000 ล้านบาท ภายใน 2 ปี ก่อนส่งมอบให้เอกชนพัฒนาต่อ รวมวงเงินพัฒนาทั้งหมด 30,000 ล้านบาท

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image