คลังเชื่อ ปชช. จะแห่ทบทวนสิทธิ์ใหม่กว่า 4 ล้าน! แนะ 3 ขั้นตอนได้รับเงินเยียวยาทันที

คลังเชื่อ ปชช. จะแห่ทบทวนสิทธิใหม่กว่า 4 ล้าน! แนะ 3 ขั้นตอนได้รับเงินเยียวยาทันที เคลียร์ข่าวใช้หัวหน้าชุมชนคัดกรอง หวั่นเอื้อประโยชน์

รายการโหนกระแสวันที่ 15 เม.ย. “หนุ่ม กรรชัย กำเนิดพลอย” ในฐานะผู้ดำเนินรายการ ผลิตในนามบริษัท ดีคืนดีวัน จำกัด ออกอากาศทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 12.20 น. ทางช่อง 3 กดเลข 33 กรณีเงินเยียวยา 5 พัน บางคนได้ บางคนไม่ได้ บางอาชีพควรจะได้แต่ไม่ได้ วันนี้ถามทุกข้อคาใจ “นายลวรณ แสงสนิท” ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

 

ทุกอย่างดูเหมือนราบรื่น แต่ตอนนี้ปัญหาเกิดขึ้น เมื่อวานอยู่ในเหตุการณ์หรือเปล่า?

“อยู่ครับ ผมก็ลงมาชี้แจงพี่น้องประชาชนด้วยครับ”

Advertisement

 

ความต้องการที่เขามา คืออะไร?

“อย่างแรกคือได้รับ SMS แล้วไม่ผ่านเกณฑ์ ด้วยเหตุผลต่างๆ แต่ละคนก็มีเหตุผลที่ต่างกัน นั่นคือการคัดกรองด้วยระบบคอมพิวเตอร์ของเรา คัดกรองมาเป็นแบบนี้ ก็แจ้งท่านแบบนี้ ซึ่งหลายท่านบอกว่าท่านไม่ได้เป็นอาชีพนั้น ไม่ได้เป็นอาชีพนี้ ไม่ควรจะถูกตัดสิทธิ์ ซึ่งจริงๆ เรียนว่าเราคัดกรองทุกกรณี และสัปดาห์หน้าจะเปิดให้มีการทบทวนสิทธิ์ ท่านไปกรอกข้อมูล สมมติท่านบอกว่าท่านไม่ใช่อาชีพเกษตรกร ท่านก็ใส่รายละเอียดมา”

 

เรื่อง AI ที่คัดกรอง สรุปความชัดเจนอยู่ตรงไหน มีประสิทธิภาพจริงหรือ?

“ผมเรียนว่าทั้งหมดเวลาท่านลงทะเบียนเสร็จแล้ว ระบบจะส่งข้อมูลของท่านไปยังฐานข้อมูลชุดต่างๆ เพื่อยืนยันตัวตนของท่าน หนึ่งในฐานข้อมูลที่เราตรวจสอบคือกระทรวงเกษตร ที่จำเป็นต้องเช็กอย่างนี้เพราะว่าเดี๋ยวเราจะมีมาตการเยียวยาเกษตรกร”

 

คนขับแท็กซี่เขาบอกว่าเขาลงทะเบียนไป แต่กลับย้อนกลับมาว่าคุณไม่ได้เพราะเป็นเกษตรกร?

“เราวิ่งไปที่กระทรวงกษตรก่อน ก็จะเจอตัวตนท่านที่เป็นเกษตรกรก่อน ก่อนมาเจอตัวท่านที่เป็นคนขับรถแท็กซี่”

แต่เขาบอกว่าเขาไม่ได้เป็นเกษตรกร?

“แต่ทีนี้มีปัญหาอยู่ตรงนี้ ขออธิบายเพื่อให้เข้าใจชัดๆ การขึ้นทะเบียนกษตรกร มีการขึ้นทะเบียนทุกปี ว่าท่านปลูกพืชอะไรยังไง การขึ้นทะเบียนทำได้โดยหัวหน้าครอบครัวต้องไปขี้นทะเบียนด้วยตัวเองทุกปีนะครับ การกรอกข้อมูลขึ้นทะเบียนจะต้องบอกว่ามีสมาชิกในครอบครัวกี่คน สมมติ 7 รวมท่านเป็น 8 ก็จะมีการถามต่อว่าในครอบครัวช่วยทำการเกษตรกี่คน ไม่ได้ช่วยกี่คน”

 

คุณพ่อทำนา ลูกก็จะติดอยู่ในนั้นด้วย?

“ไม่ใช่ทั้งหมด เขามีการแยกว่าสามาชิกในครอบครัวที่ช่วยทำการเกษตรมีใครบ้าง ใครไม่ได้ช่วยมีใครบ้าง เราไม่ได้เหมาทั้งหมด”

 

ถ้าแท็กซี่ไม่เคยทำเกษตร แต่ครอบครัวเคยทำเกษตร?

“อาจเอาชื่อไปขึ้นทะเบียนโดยท่านไม่ทราบ”

 

ใครเอาไปขึ้น?

“หัวหน้าครอบครัวครับ”

 

มีแบบนี้เยอะมั้ย?

“มีมากพอสมควร แต่วันนี้มีวิธีการแก้ไข วันนี้เราเจอตัวตนท่านแล้ว แต่ท่านยืนยันว่าท่านประกอบอาชีพอิสระอื่นๆ ฉะนั้น จะมีขั้นตอนการทบทวนสิทธิ์ ท่านมากรอกข้อมูล เสร็จแล้วจะมีการตรวจสอบความเป็นจริง และใช้คนลงไปดูในทุกๆ คนที่ประกอบอาชีพ”

 

เปลี่ยนระบบ?

“ไม่ใช่ครับ เป็นระบบที่เราตั้งมาตั้งแต่ต้น เพราะข้อมูลเข้ามา 27 ล้านคน ใช้คนตั้งแต่ต้นเป็นไปไม่ได้เลยครับ อาจต้องทำ 3-6 เดือนถึงจะคัดกรองเสร็จ เราใช้ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยในรอบแรก ได้ฐานข้อมูลมาชุดนึง มีทั้งคนที่ผ่าน คนที่ไม่ผ่าน คนที่ต้องขอข้อมูลเพิ่มเติม เพราะเรารู้อยู่แล้วว่ามันคงไม่ 100 เปอร์เซ็นต์ ฐานข้อมูลเราก็ไม่แน่ใจว่าสมบูรณ์หรือเปล่า”

 

หน้าตาเอไอเป็นยังไง?

“คนทำให้เราคือกรุงไทย เราก็ไม่คยเห็นหน้าตา คนออกแบบระบบให้คือธนาคารกรุงไทย รับโจทย์จากกระทรวงการคลังไปออกแบบวิธีการคัดกรอง”

 

มีบางคนบอกว่าเขาไม่เคยมีที่นา แล้วเขามีอาชีพเกษตรได้ยังไง เป็นไปได้มั้ยระบบผิดเพี้ยน?

“ผมก็ยืนยันว่าระบบไม่ ระบบต้องเจอตัวตนฐานข้อมูลในเกษตรว่าเป็นเกษตรกร เรามองว่าเรามีมาตรการสำหรับเกษตรเป็นการเฉพาะ วิธีการแก้ไขคือการทบทวนสิทธินี่แหละเป็นทางออกสำหรับทุกคน ถ้าท่านยืนยันว่าท่านขับแท็กซี่ เราไปตรวจสอบก็คืนสิทธิ 5 พันบาทให้ท่าน เสร็จแล้วเราจะรวบรวมข้อมูลว่าเราเจอว่าเป็นกษตรกร แต่จริงๆ เขาไม่ใช่มีกี่คน ก็ให้กระทรวงเกษตรไปอัปเดต ว่าคนกลุ่มนี้เขามีอาชีพอื่นที่ไม่ได้ทำการเกษตร นั่นคือขั้นตอน”

ปุ่มอุทธรณ์ที่กำลังจะเพิ่มเข้ามา?

“เรียกปุ่มทบทวนสิทธิ์ครับ มีผู้รู้บอกว่าให้ใช้คำนี้ดีกว่า ไม่เห็นด้วยกับผลการคัดกรองดีกว่า”

 

มันทำขึ้นมาเพื่ออะไร?

“เพื่อที่พี่น้องบอกว่าผมไม่ใช่เกษตรกร ไม่ใช่นักศึกษา แล้วท่านเป็นอะไรก็ให้ท่านยืนยัน ถ้าท่านยืนยันว่าท่านอาชีพค้าขาย ร้านอยู่ตรงนี้ จากนี้คนจะลงไปดูว่ามีจริงหรือเปล่า”

 

คนนึงขี่มอเตอร์ไซค์วินและเรียนกศน. สิ่งที่ย้อนมาคือยังเป็นนักศึกษาอยู่ มีลูกพิการ มีคนแก่ที่บ้าน ปรากฎว่าถูกตัดสิทธิ์?

“เคสอย่างนี้เกิดขึ้นได้นะครับ ให้เขาไปทบทวนสิทธิ์ อย่างที่เรียน ระบบการคัดกรองเรานอกจากวิ่งไปที่กระทรวงเกษตร เรายังวิ่งไปกระทรวงศึกษา วันนี้ขอดูสถานะคนเป็นนักเรียนนักศึกษาว่ามีใครอยู่บ้าง ระบบไม่ทราบว่าอายุเท่าไหร่พอเจอเป็นนักศึกษาก็กันออกมา”

 

มองได้มั้ยว่าคนทำระบบขึ้นมาอาจผิดพลาดตั้งแต่แรก ระบบวิ่งไปหากระทรวงต่างๆ ไปค้นดูว่าคุณเป็นนักศึกษามั้ย เป็นกษตรมั้ย ปัญหามันเลยเกิด?

“ผมว่าวิธีการตรวจสอบว่าท่านเป็นอะไรจริงก็เป็นวิธีที่ทำได้เร็ว ลองคิดดูว่าคนมาลงทะเบียน เราเชื่อได้ตามที่เขาลงทะเบียนเลยมั้ย เราจะตรวจสอบด้วยวิธีอะไร ถ้าไม่ทำแบบนี้ ไม่งั้นลงทะเบียนมาทั้งหมดก็ต้องจ่ายทั้งหมดเพราะเชื่อข้อมูลที่เขาลงมา แต่ภาครัฐต้องตรวจสอบ”

 

จ่าย 3 เดือนก่อน ไม่ใช่ 6 เดือน?

“3 เดือนครับ และดูสถานการณ์โควิด ถ้ายังไม่ดีขึ้น รัฐบาลคงต้องทบทวนว่าต้องเยียวยากันกี่เดือน”

 

ตอนนี้มีข่าวลือว่าอาจใช้ระบบคนคัดกรองตามพื้นที่ต่างๆ โดยใช้หัวหน้าชุมชน เช่นกำนัน?

“เมื่อกี้เราคุยกันเรื่องช่องทางตรวจสอบ หลังจากท่านยืนยันว่าทำอาชีพนี้ การยืนยันคือการลงพื้นที่เพื่อยืนยันว่าท่านทำอาชีพนี้จริงๆ หรือไม่ แต่ต้องมีการลงไปดูรอบนี้”

 

ทำยังไงจะไม่ให้มีเรื่องเอื้อประโยชน์ต่อกัน?

“ตอนแรกให้ระบบใช้ ก็บอกว่าทำไมไม่ให้คนมาช่วยดู พอให้คนมาช่วยก็กลัวคนกันอีก ผมเรียนว่าคนที่จะลงไปทำหน้าที่ตรวจสอบให้ จะลงไปพร้อมแอปพลิเคชั่น 1 ตัว สมมติลงไปเจอ อยากรู้นาย ก. เขาบอกว่าไม่ใช่เกษตรกร ทำค้าขายร้านนี้ ซึ่งเจ้าหน้าที่อาจไม่ใช่ของมหาดไทย มหาดไทยมาช่วยเสริมเรา เจ้าหน้าที่หลักคือกระทรวงการคลังที่อยู่ในพื้นที่ สรรพากรพื้นที่ ธนาคารออมสิน ธกส.”

 

ไม่ใช้ผู้นำชุมชน?

“ต้องดูก่อนว่าปริมาณในการขอทบทวนสิทธิ์มากน้อยแค่ไหน ถ้ามากแล้วนานท่านก็จะร้องอีกว่านานไป แต่แอปฯ ที่ใช้ตรวจสอบ ผมว่าก็มีความแม่นยำของมัน ถ้ามีร้านค้าจริงๆ ต้องมี 3 ภาพ รูปที่หนึ่งถ่ายรูปตัวนาย ก. ถ่ายบัตรประชาชนตัวนาย ก. เพราะจะเห็นร้านนาย ก. จริง เป็นนาย ก. จริง ยืนยันว่าไปเจอคนนี้จริงๆ และเห็นว่าประกอบอาชีพการค้าจริง และส่งมาในระบบเราไม่ทิ้งกันเลย อย่างกรณีอยากไปเอื้อว่าไม่ได้ทำธุรกิจนั้นจริง ถ้าทำต้องมีหลักฐานยืนยัน ไม่ใช่ไม่มีหลักฐานอะไรประกอบ อันนั้นเกิดขึ้นได้ แต่คิดว่าด้วยระบบที่เราเตรียมไว้ต้องมีภาพถ่ายยืนยัน”

กรณีให้อุทธรณ์วันที่ 20 จะพิจารณาเลยมั้ย?

“พิจารณาเลยครับ เราทำงานแข่งกับเวลา เงิน 5 พันอยากให้ถึงมือผู้เดือดร้อนเร็วที่สุด เป็นความตั้งใจของรัฐบาล”

 

ตกลงหลักเกณฑ์การอุทธรณ์ บางคนเป็นนักศึกษา กศน. แต่เป็นหนี้กยศ. ได้มั้ย?

“ผมว่าไม่เกี่ยวนะ วันที่ไม่ผ่านเกณฑ์ แค่มีคำแนะนำว่ากรณีท่านเป็นลูกหนี้กยศ. กยศ. มีมาตรการดูแลท่านอยู่นะ ผ่อนชำระหนี้ ลดดอกเบี้ยให้ ขอให้ท่านไปติดต่อกยศ. ดู นักศึกษามี 2 ส่วน นศ.ที่เรียนโดยใช้ทุนตัวเองและใช้ทุนกยศ. รอบนี้จะเปิดกว้าง กรณีนักศึกษาที่ทำงานไปด้วย เรียนไปด้วย ช่องทางทบทวนสิทธิ์ท่านเข้าไปบอกได้เลยว่าท่านเป็นนักศึกษาจริง ทำงานที่นี่ กระบวนการตรวจสอบก็ลงไปตรวจสอบท่านครับ มีลูกจ้าง นายจ้าง ระบบจะถ่ายมา เจอตัวแล้วก็คลิกผ่านให้ ก็จบ”

ถ้าทบทวนสิทธิ์แล้วไม่ได้อีก ทำไงต่อ?

“ผมว่าถ้าไม่ได้หนนี้ คือเราไปดูสถานที่ประกอบการของท่านจริงๆ แล้วนะ ฉะนั้นผมว่าต้องยุติแล้วนะ เพราะเราไปดูของจริงแล้ว รอบแรกคือใช้ข้อมูลมานั่งดู ซึ่งมีตรงบ้างผิดบ้าง”

 

คุณป้าคนนึงมาร้องไห้ที่คลัง ท่านผอ.เห็นมั้ย?

“เห็นครับ”

 

ช่วยเยียวยายังไง?

“ก็แนะนำคุณป้าไป วันจันทร์นี้คุณป้ามาให้ข้อมูลทบทวนสิทธิ์ ให้รีบมานะครับ ถ้าคุณป้าขายของจริงตามที่คุณป้าบอกมา คุณป้าก็มีสิทธิ์ได้รับเงินเยียวยา 5 พัน”

 

การทบทวนสิทธิ์ เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ไปดูเลย ทีนี้เรื่องการตัดสินจะช้าหรือเร็ว?

“เราอยากทำเร็วที่สุด การลงพื้นที่ถ้าลงทะเบียนวันจันทร์ วันอังคารก็ลงพื้นที่เลย และไม่ต้องประมวล ถ้าเจอเคสเหมือนที่บอกก็ใช้แอปพลิเคชั่น ถ่ายรูปหน้าร้าน คุณ ก. เจอตัวตนจริง ส่งผ่านมาระบบ และคืนสิทธิ์ให้เลยทันที แต่เจ้าหน้าที่กับตัวท่านเวลาไปตรวจต้องเจอตัวนะครับ”

 

อาชีพกลางคืน หมอนวดแผนโบราณได้มั้ย?

“นวดแผนโบราณมีสองกลุ่ม กลุ่มที่ลงทะเบียนถูกต้องกับกระทรวงสาธารณสุขก็ได้เลย ไม่มีปัญหา แต่ถ้าท่านไม่ได้ลงทะเบียนไว้ก็ต้องลงไปดู ถ้ามีจริงก็มีสิทธิได้รับครับ”

 

คาดว่าต้องทบทวนสิทธิ์ใหม่เยอะมั้ย?

“ประมาณ 4 ล้านกว่าคน เราจ่ายเงินไปแล้วจนถึงวันนี้เกือบ 3 ล้านคน วันนี้เราเห็นภาพแต่คนไม่ได้ใช่มั้ย แต่คนได้ก็มี พรุ่งนี้จะมี 3.2 ล้านคน มีทุกวันนะ”

 

ตั้งเป้าช่วยเหลือกี่คน?

“เป้าคงไมได้ตั้ง แต่คิดว่าถ้าวันนี้คุณกรรชัยลองดูว่าถ้าเรามีกำลังแรงงาน 38 ล้านคน 11 ล้านคนดูแลโดยประกันสังคม ถ้าแรงงานนอกระบบมี 8-9 ล้านคน มีเกษตรกรอีก 10 กว่าล้านคน แน่นอนว่าจะมีมาตรการสำหรับคนที่ตกหล่นเพื่อให้ตอบสนองนโยบายรัฐบาล ใครเป็นกลุ่มไหนก็ตาม จังหวัดไหนก็ตาม ถ้าได้รับผลกระทบจากโควิด จะเยียวยาดูแล”

 

สายป่านยาวถึง?

“งบประมาณมีเพียงพอครับ”

 

เตรียมไว้เท่าไหร่?

“ไม่นับที่จ่ายไปแล้ว ส่วน 5 พัน รัฐบาลเตรียมไว้ 6 แสนล้าน”

 

กลุ่มเสียภาษี 10 ล้านคนมีมาตรการเยียวยามั้ย?

“ตอนนี้เราขอกลุ่มที่เดือดร้อนจริงๆ ก่อน กลุ่มเสียภาษีคือคนที่ยังมีเงินเดือนรับเงินเดือนเต็ม ท่านอาจลำบากบ้าง แต่คนเดือดร้อนกว่าท่านมีเยอะ ท่านยังไม่ถูกเลิกจ้างไม่ลดเงินเดือน ถ้าถูกเลิกจ้าง ไม่อยู่ในประกันสังคม ท่านมาที่มาตรการนี้”

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image